กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนบ้านชายคลองร่วมใจ ปลอดภัยอุบัติเหตุทางถนน
รหัสโครงการ 63-L3323-2-29
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านชายคลอง หมู่ที่ 4
วันที่อนุมัติ 3 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กันยายน 2563
งบประมาณ 8,883.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ด.ต.เลิศ ขวัญเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 46 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การบาดเจ็บเป็นปัญหาที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย เสียชีวิต พิการและก่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมทั่วทุกแห่งในโลก โดยเฉพาะการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าในแต่ละวันจะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่า 3,000 คน คาดการณ์ว่าระหว่าง พ.ศ. 2543-2563 ประเทศที่มีรายได้สูงจะมีการเสียชีวิตจากการจราจรลดลงประมาณร้อยละ 30 แต่จะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางถ้าปราศจากการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม     สำหรับประเทศไทย องค์การอนามัยโลกรายงานความปลอดภัยทางถนนของโลก (Global Status Report on Road Safety, 2015) รายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนของโลก พ.ศ.2556 จากการสำรวจ 180 ประเทศทั่วโลก พบว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้น คิดเป็นอัตรา 17.3 ต่อประชากรแสนคน โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราตายเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคนี้
และจากรายงานดังกล่าว ได้ประมาณการว่าประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ของโลก อัตราตาย 36.2 รายต่อแสนประชากร (ประมาณ 24,237 คน) และประเทศไทยยังเป็นอันดับ 1 ของเอเชียและอาเซียน ที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุด และในปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมา จากข้อมูลมรณะบัตร พบว่าอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนอยู่ที่ 19.21 ต่อประชากรแสนคน ประเทศไทยมีการกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานอุบัติเหตุทางถนน คือ การลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้ได้ไม่เกิน 10 คนต่อประชากรแสนคน ภายใน พ.ศ.2563 โดยในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานอุบัติเหตุทางถนน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ และสอดคล้องเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals หรือ SDGs โดยหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) จำนวน 17 เป้าหมาย ซึ่งในเป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย ข้อ 3.6 ลดอัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการจราจรทางถนนให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2563 การกำหนดให้ลดจำนวนการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการจราจรทางถนนถือเป็นก้าวครั้งสำคัญต่อประเด็นความปลอดภัยทางถนน สะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับมากขึ้นว่าการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการจราจรทางถนน เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก

      จากการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลควนขนุน ในเดือน ตุลาคม ๒๕๖๐ พบว่า จำนวนประชาชนในอำเภอควนขนุน ประสบอุบัติเหตุทางถนนทั้งหมด ๑๑๕ ราย อุบัติการณ์ ๑๓๖.๖๑ ต่อประชากรแสนคน เป็นเพศชาย ๗๖ ราย (ร้อย๖๖.๐๘) หญิง ๓๙ ราย (ร้อย๓๓.๙๒) กลุ่มอายุที่ประสบอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด กลุ่มอายุ ๐-๑๓ ปี จำนวน ๒๕ ราย รองลงมา มากกว่า ๖๐ ปี จำนวน ๒๓ ราย ๑๔-๒๐ ปี จำนวน ๑๖ ราย ,กลุ่มอายุ ๓๑-๔๐ ปี ,๔๑-๕๐ ปี ,๕๑-๖๐ ปี กลุ่มอายุละ ๑๓ ราย และ ๒๑-๓๐ ปี จำนวน ๑๒ ราย ตำบลที่มีจำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด ตำบลควนขนุน จำนวน ๑๖ ราย รองลงมาคือตำบลชะมวง ๑๔ ราย ดอนทราย ๑๓ ราย ปันแต และพนางตุง ตำบลละ ๑๒ ราย พนมวังก์ ๑๑ ราย นาขยาด ๑๐ ราย โตนดด้วน ๗ ราย มะกอกเหนือ และแหลมโตนด ตำบลละ ๗ ราย ทะเลน้อย ๔ ราย และแพรกหา ๓ ราย ยานพาหนะที่ประสบอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด รถจักรยานยนต์ จำนวน ๘๗ ราย รองลงมารถจักรยาน จำนวน ๑๓ ราย เดินเท้า จำนวน ๑๐ ราย รถเก่ง ๕ ราย สถานภาพก่อนจำหน่ายผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน มากที่สุด หายกลับบ้าน จำนวน ๙๘ ราย ส่งต่อ ๑๕ ราย และตายก่อนถึง รพ. ๑ ราย ตายในโรงพยาบาล ๑ ราย  ซึ่งโรงเรียนบ้านชายคลอง หมู่ที่ ๔ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีจำนวนเด็กโรงเรียนทั้งหมด 46 คน

    จากสถานการณ์ดังกล่าว คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านชายคลอง หมู่ที่ 4 ตำบลพนางตุง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จึงได้จัดทำ “โครงการโรงเรียนบ้านชายคลองร่วมใจ ปลอดภัยอุบัติเหตุทางถนน” ขึ้น โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลพนางตุง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ในโรงเรียน ให้มีการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม

มีมาตรการในโรงเรียน พร้อมทั้งมีการติดตามประเมินผล

0.00
2 ข้อที่ 2.เพื่อสร้างกลไกการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในระดับตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านความปลอดภัยทางถนนในระดับตำบล

เกิดการทำงานอุบัติเหตุแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนการทำงาน

0.00
3 ข้อที่ 3.เพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน

อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนไม่เกิน 16 ต่อประชากรแสนคน

0.00
4 ข้อที่ 4 การประเมินการใช้หมวกนิรภัย

จำนวนผู้ใช้หมวกนิรภัยในการขับขี่ ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,883.00 0 0.00
1 - 31 ส.ค. 63 1.จัดประชุมครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน2.จัดหาอุปกรณ์(หมวกนิรภัย)3.จัดเขตโรงเรียนปลอดภัย4.จัดทำข้อตกลง 0 8,883.00 -

1จัดประชุมคณะทำงาน ครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน
2.จัดหาอุปกรณ์หมวกนิรภัย 3.จัดเขตการใช้หมวกนิรภัย
4.จัดทำข้อตกลง 5.ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ตำบลพนางตุงลดลง
2.เกิดพื้นที่ต้นแบบ (นำร่อง) นวัตกรรมการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน โดยประชาชนในชุมชน โรงเรียนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่
3ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียนและประชาชนผู้ใช้เส้นทางจราจรมีพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัย
4.เกิดภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 14:22 น.