กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนมีส่วนร่วม ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L8423-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 สิงหาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวนิดา สนิ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอัหมัด อีอาซา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 99 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคติดต่อที่สำคัญหลายโรคที่ไม่เกิดอันตรายต่อมนุษย์ ได้กลับมาเป็นโรคติดต่อที่อันตรายและมีความรุนแรงมาก มีผลกระทบต่อมวลมนุษย์ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง เช่น โรคไข้หวัดนก โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคติดต่อทางระบบหายใจรุนแรงเฉียบพลัน เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ของศตวรรษที่ 21 ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงไปทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียได้รับผลกระทบมากที่สุดอันเนื่องมาจากเป็นโรคที่ติดต่อง่าย ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากรายงานขององค์การอนามัยโลก จึงเป็นมูลเหตุให้เกิดความวิตก กังวล และความกลัวในวงกว้าง ทั้งในกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงสาธารณสุข จึงได้เห็นชอบนโยบายอำเภอ ตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน โดยใช้อำเภอเป็นจุดเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากรในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เกิดระบบเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพระดับอำเภอที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ทันเหตุการณ์ โดยกำหนดคุณลักษณะตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ๕ ด้าน ประกอบด้วย มีคณะกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ มีระบบระบาดวิทยาระดับที่ดี มีการวางแผนป้องกัน ควบคมโรคและภัยสุขภาพ มีการระดมทรัพยากรหรือการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นรูปธรรม มีผลสำเร็จของการควบคุมป้องกันโรคที่สำคัญ โดยกรมควบคุมโรคได้จัดกระบวนการการระดมความคิดเห็น สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ หลักคิด ประโยชน์และแนวทางการพัฒนา “ตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน” กับเครือข่ายหลักที่สำคัญ ได้แก่ สาธารณสุขอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข และเครือข่ายในชุมชนอื่นๆ ตลอดจนในปี 2562 ได้มีการระบาดอย่างหนักของโรคไข้เลือดในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก มีจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดที่สูงมาก โดยเฉพาะในสามเดือนสุดท้ายของปีการรายงานผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง สรุปปี 2562 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 28 ราย คิดเป็น 314.57/แสน ประชากร ด้วยปัญหาดังกล่าวจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านควบคุมโรคที่เข้มแข็งในพื้นที่ผ่านกระบวนการหรือกลไกตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านเจ๊ะเก จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการสร้างชุมชนมีส่วนร่วม ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2563 เพื่อสร้างทีมปฏิบัติงานระดับตำบลที่เข้มแข็ง มีระบบการเฝ้าระวังที่ดี มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สามารถควบคุมและป้องกันโรคระบาดในชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 . เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรตำบลให้มีความพร้อมในการดูแล เฝ้าระวัง และควบคุมโรคในชุมชน

 

0.00
2 เพื่อพัฒนาทีมตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ให้บรรลุตามเป้าหมาย

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 204 20,400.00 0 0.00
17 ส.ค. 63 อบรมพัฒนาศักยภาพ “อสม.ควบคุมโรคระดับตำบล” 49 4,900.00 -
18 ส.ค. 63 อมรมพัฒนาศักยภาพและซ้อมแผนฯสำหรับทีม SRRT ตำบล 50 5,000.00 -
19 ส.ค. 63 ประชุมรายงานผล WARROOM SRRT 4 ครั้ง 25 2,500.00 -
20 ส.ค. 63 จัดอบรมแกนนำนักเรียนตัวแทนทุกโรงเรียน 80 8,000.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมร่วมทุกภาคส่วนซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. แกนนำสุขภาพในพื้นที่ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนในการชี้แจงพัฒนาการของการดำเนินงานตามโครงการในปีที่ผ่านมาและร่วมวิเคราะห์ถึงปัญหาอุปสรรคที่พบที่ต้องดำเนินการแก้ไข ปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาให้ดีขึ้น ตลอดจนร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทางหรือแนวทางที่จะดำเนินการต่อไป
2. ร่วมกำหนดแผนงานและกิจกรรมที่จะแก้ไขปัญหา
3. กำหนดแนวทางปฏิบัติ ร่างโครงการ  และเสนออนุมัติ
ขั้นดำเนินการ 1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.ให้เป็นแกนนำด้านสุขภาพองประชาชนในพื้นที่ให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาองค์ความรู้ของโรค มีความรู้ความเข้าใจในหลักปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในพื้นที่ ตลอดจนมีทักษะและความสามารถเพียงพอที่จะเป็นแกนหลักในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคในพื้นที่ของตนเองที่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีและดึงส่วนร่วมจากภาคประชาชนได้ โดยจัดอบรมหลักสูตร “อสม.ควบคุมโรคระดับตำบล”
2. พัฒนาทีมหรืออบรมฟื้นฟู SRRT TEAM ระดับตำบลประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเป็นทีมที่ทำหน้าที่ในการรับรู้ปัญหา วิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขและดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรค การควบคุมการระบาดตลอดจนจัดประชุมรายงานผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
3. จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังโรคระดับตำบล “ศูนย์แจ้งเหตุการณ์ผิดปกติหรือโรคทางระบาดวิทยา” ในหน่วยบริการสาธารณสุขเพื่อเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติและรับแจ้งข่าว
4. สร้างระบบการเฝ้าระวังโรคที่ดี ชุมชนมีการนำไปปฏิบัติได้จริง และสามารถควบคุมป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีทีมสอบสวนโรคระบาดที่เข้มแข็ง
5. อบรมเชิงปฏิบัติการทีม SRRT TEAM ระดับตำบล ในการเฝ้าระวังสถานการณ์ ตลอดจนมีการซ้อมแผนการดำเนินงานควบคุมโรคตามแนวทางระบาดวิทยา
6. ประชุมรายงานและประเมินผลการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคของทีม SRRT TEAM 3 เดือน/ครั้ง
7. ดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ไม่วาจะเป็นการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกๆวันศุกร์อย่างต่อเนื่อง ทีม SRRT TEAM จะมีหน้าที่ในการสำรวจค่าดัชนีความชุกลูกน้ำเพื่อประเมินผลการดำเนินงาน ตลอดจนดำเนินการควบคุมการระบาดตามแนวทางที่กำหนดไว้
8. จัดกิจกรรม BIG CLEANING DAY คือวันรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายพร้อมกันทุกหมู่บ้านเพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวในการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการร่วมกัน เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในการจัดการสิ่งแวดล้อมควบคุมโรคในเขตบ้านเรือนของตนเอง โดยจะจัดกิจกรรม BIG CLEANING DAY  2  ครั้ง (ครั้งใหญ่)
9. จัดกิจกรรมอบรมแกนนำนักเรียน โดยเน้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ และการปฏิบัติที่มุ่งหวังให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียนและครัวเรือนของตนเอง ในนามของ “สารวัตรปราบลูกน้ำยุงลาย”
10. ประชาสัมพันธ์แกนนำประจำครอบครัวแต่ละมัสยิดหลังละหมาดวันศุกร์เพื่อประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่กลุ่มดังกล่าวให้มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นแกนหลักในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคในแต่ละครัวเรือน
11. จัดนิทรรศการในสถานบริการเพื่อให้ประชาชนที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ชมได้อ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาองค์ความรู้และแนวปฏิบัติในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรค
12. ออกหน่วยรถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ ประชาสัมพันธ์กระจายเสียงเพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรค และเกิดการตื่นตัวในการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีระบบ และมาตรการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่มีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการดำเนินการเฝ้าระวังโรค และมุ่งเน้นการป้องกันโรคมากกว่าการรักษา
  2. ตำบลบาโงสะโตผ่านเกณฑ์มาตรฐาน SRRT ระดับตำบลสู่อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2563 14:31 น.