กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสื่อสุขภาพ สื่อสารความรู้และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ
รหัสโครงการ 63-L48423-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 สิงหาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวนิดา สนิ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอัหมัด อีอาซา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาความเจ็บป่วยของชาวบ้าน และการระบาดของโรคเพิ่มมากขึ้นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งมาจากการดำเนินงานของหน่วยงานสาธารณสุขที่เน้นงานตั้งรับและทำงานในระบบซ่อมสุขภาพ กล่าวคือ เป็นสถานบริการที่ทำหน้าที่ในการรักษาผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วยเพียงอย่างเดียว บางสถานบริการก็มีการทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างสุขภาพแต่ขาดความเข้มแข็งทั้งตัวของเจ้าหน้าที่เองและทีมงานดำเนินงานสาธารณสุขในชุมชนทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  ปัญหาความเจ็บป่วยของประชาชนและการระบาดของโรคจึงยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ดูแล้วจะแก้ไม่ได้ แต่ถ้ากลับมามองในภาพรวมของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีวิธีการแก้ไขปัญหา ที่สำคัญที่สุดการแก้ปัญหาสาธารณสุขจำเป็นต้องแก้ที่ต้นเหตุของปัญหานั่นหมายถึงการที่ต้องพยายามมุ่งเน้นงานเชิงรุกมากขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการสร้างสุขภาพภาคประชาชนให้มีความเข้มแข็งยกระดับความสามารถการดูแลตนเองของประชานให้มีระดับที่สูงขึ้นเพียงพอที่จะดูแล บรรเทาและประคับประคองภาวะสุขภาพที่มีความเป็นปัจเจกบุคคลในตัวเองได้อย่างสมควร อีกทั้งสิ่งหนึ่งที่มี ความสำคัญอย่างยิ่งยวดคือการสร้างการรับรู้ด้านสุขภาพให้เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ การบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้อง มีความเข้าใจถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพและการเข้ารับการบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) เป็นทักษะต่างๆทางการรับรู้และทางสังคมซึ่งเป็นตัวกำหนดแรงจูงใจและความสามารถของปัจเจกบุคคลในการที่จะเข้าถึง เข้าใจและการใช้ข้อมูลในวิธีการต่างๆเพื่อส่งเสริมและบำรุงรักษาสุขภาพของตนเองให้ดีอยู่เสมอ เป็นทักษะที่มีความจำเป็นสำหรับบุคคลในการดูแลสุขภาพของตนเอง เป็นผลลัพธ์ขั้นสูงของกระบวนการทางสุขศึกษาร่วมกับการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพให้อยู่ในระดับสูง ช่วยเพิ่มทักษะชีวิต ส่งผลเกื้อหนุนสุขภาพของปัจเจกบุคคลและชุมชน อาจกล่าวได้ว่าการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นวิธีการหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพ ในปี 2562 ที่ผ่านมาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก ได้จัดทำโครงการการอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของสุขภาพ และได้มีการจัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความรู้ ประเมินระดับองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการดูแลสุขภาพของชาวบ้าน ในด้านการดำเนินงานต่างๆ อาทิเช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์พบว่ามีระดับความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 67.87 ประเมินระดับความรู้เกี่ยวกับงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 45.64 การประเมินระดับความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 67.86 ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลขั้นพื้นฐานที่สามารถบ่งบอกในระดับหนึ่งว่าการรับรู้ด้านสุขภาพของชาวบ้านในพื้นที่นั้นเป็นอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยของปัญหาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการเข้าถึงการรับบริการจากหน่วยงานสาธารณสุข จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการมุ่งเน้นในการสร้างการรับรู้ด้านสุขภาพ สร้างความรู้ด้านสุขภาพ มีการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและสร้างสื่อสุขภาพเพื่อการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้เกิดการรับรู้และความรู้ด้านสุขภาพสำหรับชาวบ้านในพื้นที่ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก ตำบลบาโงสะโต อ.ระแงะ จ.นราธิวาส จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะจัดให้มีโครงการสื่อสุขภาพ สื่อสารความรู้และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนเกิดการรับรู้และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีการดูแลสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,000.00 0 0.00
17 ส.ค. 63 ค่าจัดพิมพ์วารสารสื่อสารความรอบรู้ด้านสุขภาพ 0 26,000.00 -
18 ส.ค. 63 ค่าจัดพิมพ์โปสเตอร์สื่อสารความรอบรู้ด้านสุขภาพ 0 8,000.00 -
19 ส.ค. 63 ค่าจัดพิมพ์แผ่นพับสื่อสารความรอบรู้ด้านสุขภาพ 0 6,000.00 -

ขั้นเตรียมการ
1. ประชาคม/ประชุมแกนนำชุมชนร่วมกับ อสม.ทั้งหมดเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและร่วมหาแนวทางแก้ไข
2. ร่วมกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางในการแก้ไขและพัฒนางานเพื่อนำมาสู่การร่างโครงการ
3. ร่างแผนปฏิบัติงาน/ร่างโครงการ เสนออนุมัติ
4. แต่งตั้งทีมเครือข่ายการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อ
5. มอบหมายงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
ขั้นดำเนินการ
1. ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับประชากรในพื้นที่ทั้งก่อนและหลัง ตลอดจนแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ
2. ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเชิงรุกพื้นที่ก่อนดำเนินกิจกรรมเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการรับรู้ปัญหา ระดับของปัญหาและกำหนดรูปแบบในการจัดกิจกรรมและการจัดทำสื่อสุขภาพเพื่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ
3. จัดกิจกรรมสื่อสารความรู้ด้านสุขภาพผ่านสื่อช่องทางต่างๆและพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพให้กับประชาชนเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือและรู้เท่าทันสื่อ
4. สร้างสื่อวารสารเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และเป็นคู่มือในการสร้างกิจกรรมสื่อสารความรู้ด้านสุขภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขในการสื่อสารด้านสุขภาพให้กับประชาชนเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง
5. สร้างสื่อโปสเตอร์เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และเป็นคู่มือในการสร้างกิจกรรมสื่อสารความรู้ด้านสุขภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขในการสื่อสารด้านสุขภาพให้กับประชาชนเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง
6. สร้างสื่อแผ่นพับเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และเป็นคู่มือในการสร้างกิจกรรมสื่อสารความรู้ด้านสุขภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขในการสื่อสารด้านสุขภาพให้กับประชาชนเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง
7. ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเชิงรุกพื้นที่หลังดำเนินกิจกรรมเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการรับรู้ปัญหา ระดับของปัญหาและกำหนดรูปแบบในการจัดกิจกรรมและการจัดทำสื่อสุขภาพเพื่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ
ขั้นประเมินผล
1. ประเมินผลตามวัตถุประสงค์โครงการ
2. สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีการรับรู้ข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง มีความรู้เท่าทันข้อมูลด้านสุขภาพในปัจจุบัน มีการดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและสามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพขั้นพื้นที่ฐานได้
  2. ประชาชนมีความรอบรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีการรับรู้ข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง มีความรู้เท่าทันข้อมูลด้านสุขภาพในปัจจุบัน มีการดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและสามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพขั้นพื้นที่ฐานได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2563 16:58 น.