กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โคงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง วัดความดันด้วยตนเองที่บ้าน
รหัสโครงการ 63-L4117-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ
วันที่อนุมัติ 11 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 สิงหาคม 2563 - 15 ตุลาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 27,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสูกายนาห์ ดูละสะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางไอลดา เจ๊ะหะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ส.ค. 2563 17 ส.ค. 2563 27,400.00
รวมงบประมาณ 27,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่า 12 ล้านคน แต่มีผู้เข้าถึงการรักษาและขึ้นทะเบียนเพียง 4 ล้านคน ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ได้เพียงร้อยละ 29.7 แสดงให้เห็นว่า มาตรการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงที่ผ่านมา ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ความดันโลหิตในคนไทยลดลง ยังเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ที่ป่วยแล้วยังเข้าไม่ถึงบริการมากกว่าครึ่งตลอดจนการวินิจฉัย/การรักษาก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร
การศึกษาในผู้สูงอายุไทยที่เป็นความดันโลหิตสูงควบคุมไม่ได้ พบว่า การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านช่วยให้อัตราการควบคุมความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ 50 และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่วัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ช่วยลดระดับความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4 – 8 มม.ปรอทในเวลา 1 ปี เมื่อเทียบกับการวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล ดังนั้นการวัดความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blood Pressure Monitoring: HBPM) หรือ การวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง (Self Monitoring Blood Pressure: SMBP) จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ตามเกณฑ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ จึงจัดทำโครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน เพื่อดำเนินการดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย รักษาและติดตามความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

 

90.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯและการใช้ยา และติดตามผลของการใช้ยาและปรับพฤติกรรมฯ ๓ อ. ๒ ส. เพื่อการควบคุมความดันโลหิตสูง

 

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย รักษาและติดตามความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯและการใช้ยา และติดตามผลของการใช้ยาและปรับพฤติกรรมฯ ๓ อ. ๒ ส. เพื่อการควบคุมความดันโลหิตสูง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

11 ส.ค. 63 - 15 ต.ค. 63 ติดตามการใช้เครื่องมือวัดความดัน 27,400.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

วิธีดำเนินการ (ขั้นเตรียมการ, ขั้นดำเนินการ, ขั้นสรุป)
1. ขอสนับสนุน อปท./กองทุนฯท้องถิ่น ในการจัดหาเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ เพื่อสนับสนุนการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีความจำเป็นตามลำดับก่อนหลัง
2. แนะนำและสอนให้ผู้ป่วยวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ๕ ขั้นตอน: คุยความรู้ ทำให้ดู ดูให้ทำ ทำเองได้ ไม่ต้องดู และอยู่ยั่งยืน
3. ประสานความร่วมมือกับ อสม.ติดตามและช่วยเหลือผู้ป่วยวัดความดันโลหิตกรณีที่ผู้ป่วยไม่มั่นใจหรือต้องการความช่วยเหลือ
4. ให้ผู้ป่วยบันทึกค่าความดันโลหิตที่วัดในช่วงเช้าและก่อนนอนทุกวันเป็นเวลา ๔-๗ วัน หรืออย่างน้อย ๗ วันก่อนวันนัดตรวจทุกครั้ง และนำมาปรึกษา รพ.สตหรือเจ้าหน้าที่รพ.เพื่อปรึกษาหรือส่งต่อพบแพทย์ หรือส่งผ่านช่องทางอื่นแล้วแต่กรณีโดยผู้ที่ไม่ สามารถจัดหาเครื่องวัดความดันโลหิตด้วยตนเองทางโครงการจะขอสนับสนุนจากกองทุนฯท้องถิ่นเพื่อจัดหาและให้ยืม
5. แพทย์ตรวจสอบค่าความดันโลหิต ซักถามประวัติ วินิจฉัยหาสาเหตุพฤติกรรมสุขภาพที่เพิ่มหรือลดความดันโลหิตที่บ้านเพื่อปรับเปลี่ยนฯและให้การรักษา เพื่อควบคุมความดันโลหิต ปรับยาหรือหยุดยาแล้วแต่กรณี
6. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมแบบรายงานหรือบัญชีรายชื่อผู้ที่เข้าร่วมโครงการ (ตามภาคผนวก) ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบาละ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

จำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านฯดังกล่าว วัดความดันโลหิตตนเองที่บ้าน อย่างน้อย ๗ วันก่อนวันนัดตรวจ ในระยะเวลาดำเนินการ ๖ เดือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2563 15:13 น.