กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดดารนอีบาดะห์บ้านโตะบาลา
รหัสโครงการ 63-L3052-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดดารนอีบาดะห์บ้านโตะบาลา
วันที่อนุมัติ 18 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 สิงหาคม 2563 - 20 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 25,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาดีละห์ ดาแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะดุนง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.646,101.554place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน "โภชนาการ" จึงเป็นเรื่องของการกิน "อาหาร" ที่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริบเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน จะพบว่าเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลกะดุนงมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ตามพระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้กล่าวไว้ว่า  “สำหรับข้าพเจ้า โภชนาการเป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าสนใจเป็นพิเศษ การตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้ข้าพเจ้าได้พบเด็กขาดอาหารอยู่บ่อยๆ และข้าพเจ้าก็เห็นด้วยกับผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการว่า การปรับปรุงภาวะโภชนาการของเด็กเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งต้องการความใส่ใจจากทุกคนอย่างเร่งด่วน ข้าพเจ้าเชื่อว่า เราทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า อาหาร เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง การจะทำให้ผู้คนเข้าถึงอาหารได้มากขึ้น ให้มีความมั่งคงด้านอาหารในครัวเรือนและมีอาหารบริโภคที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพัฒนาเป็นอันดับแรก” ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 1 บททั่วไปความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดดารนอีบาดะห์บ้านโตะบาลา สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล  กะดุนง ได้เล็งเห็นความสำคัญของเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน "โภชนาการ" จึงเป็นเรื่องของการกิน "อาหาร" ที่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงจัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดดารนอีบาดะห์บ้านโตะบาลา ประจำปี 2563 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองครูผู้ดูแลเด็กผู้ที่รับผิดชอบ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจและให้ความสำคัญในการปฏิบัติตนด้านภาวะโภชนาการที่ถูกต้อง

90% ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจและมีความรู้มากขึ้น

1.00
2 2. เพื่อค้นหาเด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการให้ได้รับการแก้ไขปัญหาทันท่วงที

 

1.00
3 2. เพื่อค้นหาเด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการให้ได้รับการแก้ไขปัญหาทันท่วงที

 

1.00
4 3. เพื่อลดปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพัฒนาการเด็ก

 

1.00
5 4. เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน

 

0.00
6 4. เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะครูเพื่อจัดทำโครงการ
  2. ประชุมคณะกรรมการ และคณะครูเพื่อวางแผนดำเนินงาน
  3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
  4. จัดกิจกรรมตามแผนการดำเนินงาน
    4.1 เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านโภชนาการมาให้ความรู้กับนักเรียน คณะครู และ ผู้ปกครอง ในเรื่องแนวทางการป้องกันและแก้ไขภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)และต่ำกว่าเกณฑ์    (โรคผอม) 4.2 คัดกรองกลุ่มเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน) และต่ำกว่าเกณฑ์
    (โรคผอม) 4.3 จัดกิจกรรมเพิ่มทักษะการดูแล และลดภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์และต่ำกว่าเกณฑ์ ให้กับกลุ่มเด็กที่มีภาวะอ้วนและผอม โดยให้ผู้ปกครองและครูมีส่วนร่วมในการออกแบบเมนูอาหารที่เหมาะสมและให้มีการติดตามประเมินทุกระยะทั้งที่บ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4.4 จัดตารางเวลาและกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายให้กับกลุ่มเด็กอ้วน
  5. ประเมินผล/สรุป/รายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุน สปสช.
  6. กลุ่มเป้าหมาย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กผู้ที่รับผิดชอบที่เข้าร่วมโครงการ สามารถปฏิบัติตนและดูแลภาวะโภชนาการเด็กได้อย่างถูกวิธี
  2. เด็กได้รับการส่งเสริมภาวะโภชนาการให้มีรูปร่างดีและสมส่วน
  3. เด็กมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
  4. เด็กทุกคนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตได้ตามเกณฑ์อายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2563 11:47 น.