กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการบุหรี่สุรามหันตภัยร้ายใกล้ตัวตำบลศรีสาคร
รหัสโครงการ 63-L2529-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรพยาบาลศรีสาคร
วันที่อนุมัติ 14 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประมวล ทองอินทราช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.152,101.492place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรควิถีชีวิต ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นมหันตภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพและสถานการณ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จากพฤติกรรมดังกล่าว ส่งผลก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
    จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. ๒๕๕๔ พบว่าประชากรไทยอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปจำนวน ๕๓.๙ ล้านคน มีอัตราการสูบบุหรี่ร้อยละ ๒๑.๔ โดยเป็นผู้ที่สูบเป็นประจำร้อยละ ๑๘.๔ สูบนาน ๆ ครั้งร้อยละ ๒.๙ ผู้ชายสูบมากกว่าผู้หญิง ๒๐ เท่า สำหรับพฤติกรรมการดื่มสุราในรอบ ๑๒ เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ของประชากรอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปพบผู้ดื่มสุราร้อยละ ๓๑.๕ โดยผู้ชายมีอัตราการดื่มสูงกว่าผู้หญิงประมาณ ๕ เท่า การดำเนินงานเชิงรุก ได้แก่ การเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุม ลดปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมุ่งเน้นกระตุ้น เตือนให้ประชาชน ตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนำไปสู่สุขภาพดี และสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจมีการตัดสินใจที่ดีรวมถึงการจัดการตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
    ดังนั้น งานบุหรี่โรงพยาบาลศรีสาคร จึงได้จัดทำ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการบุหรี่ สุรามหันตภัยร้ายใกล้ตัวตำบลศรีสาครประจำปี ๒๕๖๒ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาของตำบลศรีสาครโดยส่งเสริมให้เยาวชน ประชาชนหน่วยงานองค์กร ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องบุหรี่ และสุรา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในอันตรายจากบุหรี่และสุรา ๒. เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำเยาวชนในชุมชน ๓. เพื่อสร้างแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนินงานปลอดบุหรี่ในชุมชน

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ     ๑. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการตามเป้าหมายร้อยละ ๑๐๐     ๒. มีแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนินงานปลอดบุหรี่และสุราในชุมชนชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ ๑๐๐ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
    ๑. ผู้เข้าอบรมมีความรู้พิษภัยของบุหรี่และสุรา แนะนำบุคคลในครอบครัว/เพื่อนได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
ตัวชี้วัดเชิงความพึงพอใจ
    ๑. ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจกิจกรรมการอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมความพร้อม
    ๑ เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
    ๒ ติดต่อประสานงานวิทยากรและผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมตา
    ๓ ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนผู้ที่สนใจทั่วไป เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
    ๔ จัดจ้างทำเอกสาร/สื่อสุขศึกษา/จัดจ้างป้ายไวนิลความรู้สื่อนิทรรศการเครื่องมือในการดำเนินงานเพื่อใช้ในกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ระยะดำเนินการ     ๑. จัดอบรมให้ความรู้พิษภัยของบุหรี่และสุราในเยาวชนและประชาชน ๑ วันผู้เข้าอบรมจำนวน ๗๐ คน
    ๒. มีการจัดตั้งแกนนำในโรงเรียนและในชุมชนเขตตำบลซากอ (ไม่ใช้งบประมาณ)
ระยะประเมินและติดตามผล     ๑ จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลตามตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ตามโครงการ และรวบรวมหลักฐานการใช้จ่ายงบประมาณ     ๒ เสนอรายงานผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และประชาชนทั่วไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะสามารถดูแลสุขภาพหลีกเลี่ยงป้องกันภัยจากบุหรี่และสุราได้
๒. ผู้เข้าอบรมมีความตระหนักสนใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบและสุราร่วมรณรงค์เพื่อการลด/ละ/ เลิกการสูบบุหรี่และสุรา
๓. มีแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนินงานปลอดบุหรี่และสุราในชุมชนเขตตำบลศรีสาคร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2563 12:03 น.