กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลบ้านนา
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 22,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเปารี ด่าโอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.901,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันแรงงานนอกระบบมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากแรงงานนอกระบบคือผู้ที่ใช้แรงงานโดยไม่มีสัญญาการจ้างงานจากนายจ้าง ไม่ได้ทำงานอยู่ในสถานที่ประกอบการของนายจ้างไม่มีค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่แน่นอน เช่นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ทำสวน ทำไร่ ทำประมงพื้นบ้าน กรีดยาง เป็นต้น เกษตรกรชาวสวนยางพาราก็นับว่าเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบกลุ่มหนึ่งซึ่งนับว่าเป็นอาชีพที่มีความสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น เกษตรกรชาวสวนยางพาราถือว่าเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่มีหลักประกันทางด้านสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ และในขณะเดียวกันพบว่าเกษตรกรชาวสวนยางพาราต้องเผชิญอันตรายจากการประกอบอาชีพการทำสวนยางพาราทั้งจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการทำงานที่ไม่ปลอดภัยในขั้นตอนต่างๆ ของการผลิตยางพาราตั้งแต่การกรีดยาง การเก็บน้ำยาง การขนน้ำยาง การทำยางแผ่นเป็นต้น เกษตรกรชาวสวนยางพาราต้องทำงานในช่วงกลางคืนซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการการพักผ่อนทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพเนื่องจากต้องอดหลับอดนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ นอกจากนี้เกษตรกรชาวสวนยางพารายังมีความเสี่ยงหรืออันตรายจากการประกอบอาชีพอื่นๆอีก เช่นความเสี่ยงต่อการปวดหลัง กล้ามเนื้ออักเสบ ความเสี่ยงอันตรายจากสัตว์มีพิษต่างๆ รวมทั้งความเสี่ยงอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช     ชมรม อสม.ตำบลบ้านนา ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากในพื้นที่ตำบลบ้านนา มีประชาชนประกอบอาชีพทำสวนยางพาราเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีโอกาสที่จะประสบกับปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากการทำงานมีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องตามหลักการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งให้กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราได้รับการตรวจสุขภาพโดยการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในเลือด เพื่อทำการเฝ้าระวังและได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงและให้ความรู้ด้านการยศาสตร์ในการประกอบอาชีพเพื่อเป็นการลดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการทำงานต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้มีอาสาสมัครแรงงานนอกระบบในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านนา

1.มีจำนวนอาสาสมัครแรงงานนอกระบบ ในหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 15 คน

0.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารามีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานเพื่อลดการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากการทำงาน

2.ร้อยละของกลุ่มเกษตรชาวสวนยางมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานเพื่อลดการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากการทำงานไม่น้อยกว่าร้อยละ80

0.00
3 3.เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารามีความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ

3.ร้อยละของกลุ่มเกษตรกรสวนยางมีความปลอดภัยในการประกอบอาชีพไม่น้อยกว่าร้อยละ80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 23 22,160.00 0 0.00
31 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง 0 0.00 -
31 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครแรงงานนอกระบบ 23 5,825.00 -
31 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 3 สำรวจกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา 0 1,800.00 -
31 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 4 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา 0 11,160.00 -
31 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 5 ติดตาม/ประเมินผล 0 3,375.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. สำรวจกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา 3. จัดทำทะเบียนประวัติกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา 4. จัดเตรียมสถานที่/ประสานงานวิทยากร ขั้นดำเนินการ 1. จัดอบรมกลุ่มอาสาสมัครแรงงานนอกระบบ 2. จัดอบรมกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา 3. เจาะเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา 3. ติดตามประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มอาสาสมัครแรงงานนอกระบบมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรสวนยางพาราต่อไป
  2. กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารามีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานเพื่อลดการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากการทำงาน
  3. กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารามีความปลอดภัยในการประกอบอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2563 14:13 น.