กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ปรับความคิด เปลี่ยนพฤติกรรม ลดเลี่ยง ลดโรค
รหัสโครงการ 63 - L8412 -1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าสาป
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 29,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.ท่าสาป
พี่เลี้ยงโครงการ นางยูนัยดะห์ กะดะแซ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.538,101.235place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 29,200.00
รวมงบประมาณ 29,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากบริบททางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ระบบทุนนิยม และเทคโนโลยีการสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้คนไทยเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตเป็นแบบบริโภคนิยมมากขึ้น เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ หรือมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม และทำลายสุขภาพ ได้แก่ ขาดการออกกำลังกายน้ำหนักตัวเกินสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า    กินอาหารไม่เหมาะสม เช่น อาหารหวาน มัน เค็ม กินผักน้อยลง ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจากโรคไม่ติดต่อหรือโรควิถีชีวิตที่สามารถป้องกันได้ที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นซึ่งสถานการณ์ของโรคไม่ติดต่อในปัจจุบัน พบว่า สาเหตุการตายส่วนใหญ่ของคนไทย เกิดจากโรคไม่ติดต่อมากถึงร้อยละ 60 และสาเหตุหลักของโรคไม่ติดต่อ ส่วนใหญ่ร้อยละ90 เกิดจากพฤติกรรม การลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ 3อ.2ส. (อาหารออกกำลังกาย อารมณ์ สุรา สูบบุหรี่) โดยการดำเนินงานเพื่อควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อในปัจจุบันพบว่า มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเกือบครอบคลุม แต่คัดกรองแล้วไม่มีการจัดการต่อในการปรับพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง ยังเน้นการจ่ายยาในโรงพยาบาลมากกว่าการดูแลผู้ป่วย      ให้ความรู้เป็นชุดๆ ที่เหมือนกันทุกครั้งและทุกคน กระบวนการให้ความรู้ความเข้าใจไม่ได้ปรับตามลักษณะบุคคล รวมทั้งการสนับสนุนให้ประชาชนดูแลตนเองยังมีน้อย เห็นได้ว่ารูปแบบการดูแลผู้รับบริการที่ผ่านมา เรามักยึดบทของการเป็นผู้เชี่ยวชาญ    จะวางแผนและเป้าหมายคิดวิธีการให้ผู้รับบริการปฏิบัติ คิดว่าเป็นสิ่งดีที่สุดสำหรับผู้รับบริการตามมุมมองของเราฝ่ายเดียว เรามักชินกับการสอน  การสั่ง การชี้แนะ และให้คำแนะนำ เพื่อช่วยในการเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้ผู้รับบริการต่อต้าน ขาดความร่วมมือ    และไม่เกิดแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่สามารถช่วยในการเปลี่ยนพฤติกรรมได้สำเร็จ ซึ่งเราในฐานะที่เป็นบุคลากรสาธารณสุขมีหน้าที่ช่วยให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดเสี่ยงลดโรคให้ได้ทำอย่างไรจึงจะช่วยให้คนเกิดความร่วมมือร่วมใจ มีความสามารถในการจัดการตนเอง (self management) มีแรงจูงใจ ตั้งมั่นที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมได้ต่อเนื่อง จากข้อมูลการคัดกรองความดันโลหิตสูงและระดับน้ำตาลในเลือดของประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่ยังไม่เคยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน พบว่า ตำบลท่าสาป มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 55 คน แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำ จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 43.64 และกลุ่มเสี่ยงสูง 31 คน คิดเป็นร้อยละ 56.36 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน161 คน แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำ จำนวน 91 คน คิดเป็นร้อยละ 56.52 และกลุ่มเสี่ยงสูง 70 คน คิดเป็นร้อยละ 43.48 ผลการประเมินพฤติกรรมเสี่ยง พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมเสี่ยงตามลำดับ ดังนี้       อันดับ 1 กินอาหารแปรรูปหรือผ่านการถนอมอาหาร เช่น อาหารกระป๋อง อาหารกรุบกรอบ บะหมี่/โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง ปลาเค็ม ปลาร้า น้ำบูดู น้ำปู ไข่เค็ม
      อันดับ 2 กินผักและผลไม้ต่อวันน้อยกว่า 5 สี เช่น เขียว เหลือง แดง ส้ม ม่วง ขาว เป็นประจำ       อันดับ 3 เคลื่อนไหวร่างกายหรือเล่นกีฬาน้อยกว่าครั้งละ 30 นาทีต่อวัน       ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มวัยทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้รับความรู้ แนวทางการปฏิบัติ เพื่อปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรม ไปสู่แนวทางการมีสุขภาพที่ดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป จึงจัดทำโครงการปรับความคิด เปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ปีงบประมาณ 2563

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวตามหลัก 3 อ 2 ส 2. เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงให้มีความดันโลหิตที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นตามเกณฑ์ปิงปอง 7 สี 3. เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานให้มีระดับน้ำตาลในเลือดที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นตามเกณฑ์ปิงปอง 7 สี

1.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้อยู่ในระดับดี

  1. ร้อยละ 40 ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีความดันโลหิตที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นตามเกณฑ์ปิงปอง 7 สี
  2. ร้อยละ 40 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน มีระดับน้ำตาลในเลือดที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นตามเกณฑ์ปิงปอง 7 สี
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 500 29,200.00 0 0.00 29,200.00
1 พ.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 โครงการปรับความคิด เปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ปีงบประมาณ 2563 500 29,200.00 - -
รวมทั้งสิ้น 500 29,200.00 0 0.00 29,200.00
  1. ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม.
  2. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน โดยแบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 50 คน
  3. ประเมินความรู้ก่อนอบรม
  4. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ 3 อ 2 ส และสาธิตเมนูอาหาร
  5. ประเมินความรู้หลักอบรม
  6. ติดตามผลความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด
  7. ประมวลผลข้อมูลและสรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดี 2.  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาปได้แนวทางในการดูแลผู้ป่วย 3.  เกิดบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2563 14:46 น.