กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างความเข้าใจเด็กน้อยสุขภาพดีห่างไกลโรค
รหัสโครงการ 59-L4127-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2559 - 30 กันยายน 2559
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันต์เดะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรูซีนาตาเเละ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในแต่ละปีมนุษย์ต้องเจ็บปวดจากโรคติดเชื้อเป็นจำนวนมาก แม้บางโรคจะสามารถรักษาให้เหายได้ แต่ก็ต้องเสียด้านเศรษฐกิจเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และสูญเสียด้านครอบครัวซึ่งเป็นโอกาสในการหารายได้จากการทำงาน องค์การอนามัยโลกจึงได้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้ เพราะเป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ประเทศไทยจึงได้ดำเนินมาตรการป ้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ โดยเน้นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคในเด็กด้วยวัดซีน เพื่อให้ร่างกายสรางภูมิคุ้มต้านทานโรคขึ้นมาเอง อันจะช่วยลดโอกาสในการเจ็บป่วยจากโรคติดเชื้อต่างๆ ได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีบริการฉีดวัดซีนป้องกันโรคติดเชื้อในเด็ก จำนวน 10 โรค ได้แก่ โรคหัด หัดเยอรมัน โปลิโอ คางทูม ไข้สมองอักเสบ ตับอักเสบ คอตีบ ไอกรน บาดทะยักและวัณโรค และมีการส่งเสริมด้านโภชนาการ การใิห้ความรู้และตรวจสุขภาพในช่องปากในเด็ก 0 - 5 ปี แก่คอบครัว พ่อแม่ และผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้สอดคล้องกับงานด้านบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและเป็นการพัฒนาแบบบูรณาการ แตในปัจจุบันประชาชนในเขตพื้นที่ รพ.สต. บาเจาะ กให้ความสำคัญของการป้องกันโรคด้วยวัดซีนน้อยมากดังเห็นได้จาก ปีงบประมาณ 2558 มีความครอบคลุมของการรับวัดซีนในเด็กอายุ 0 - 5 ปี เพียงร้อยละ 82.15 ซึ่งเป้าหมายความครอบคลมของวัดซีนต้องมากกว่าร้อยละ 90 จึงสามารถป้องกันและควบคมโรคได้ทำให้ประชาชนป่วยด้วยโรคทีป้องกัันได้ด้วยวัดซีนเพิ่มขึ้น ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดวัดซีนให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการตั้งแต่ครอบครัว วึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย การให้บริการด้านโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และติดตามเด็กที่มีดปัญหาโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ การให้ความรู้และตรวจสุขภาพในช่องปาก งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไป งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะพยายามป้องกันประชาชนจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัดซีนให้ได้มากที่สุด โดยการเพิ่มชนิดของวัดซีนที่ใช้ ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบายวิทยาของโรค และกำลังทรัพยากรด้านสาธารณสุขของประเทศและต้องดำเนินการในทุกพื้นที่โดยประสานสอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการด้านสาธารรสุขอื่นๆ เช่น งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ งานทันตสาธารรสุข งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกงานที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพสูงที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ฉะนั้น เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯ จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตามเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการฉีดวัดซีนทุกคน เพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุ ดังกล่าวในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี มีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัดซีนที่ถูกต้องและเหมาะสม

ร้อยละของผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี มีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัดซีนที่ถูกต้องและเหมาะสม

2 2. เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัดซีน

ร้อยละของการป้องกันการเกิดโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัดซีน

3 3. เพื่อให้เด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพิมขึ้น

ร้อยละของเด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพิมขึ้น

4 4. เพื่อให้เด็กที่ไม่ได้มารับวัดซีนครบตามเกณฑ์ได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละของเด็กที่ได้รับวัดซีนครบตามเกณฑ์ได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ และ อสม.ใน รพ.สต.บาเจาะ 1.2 จัดทำแผนการประชาสัมพันธ์รณรงค์และตรวจสุขภาพเด็ก 0 - 5 ปี 1.3 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเพื่อติดตาม 1.4 ประสานงานและติดต่อหนวยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 แจ้งแผนการปฎิบัติการและรูปแบบการติดตาม 2.2 จัดทำสื่อป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์แก่กลุ่มเป้าหมาย 2.3 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กที่ไม่ได้รับวัดซีนเกี่ยวกับหลักการให้วัดซีนที่ถูกต้อง จำนวน 50 คน 2.4 จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์ ตรวจสุขภาพเด็ก 0 - 5 ปี และการประกวดเป็นช่วงอายุดังนี้
    • เด็กอายุ 0 - 1 ปี
    • เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป - 2 ปี
    • เด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป - 5 ปี 2.5 เจ้าหน้าที่และ อสม.มีการออกหน่วยให้บริการฉีดวัดซีนเชิงรุก
  3. ระยะหลังดำเนินการ 3.1 ติดตามความครอบคลุมของการให้บริการวัดวีน ทุก 3 เดือน 3.2 ติดตามเก็บตกกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มารับวัดซีน 3.3 ประเมินผลการจัดประกวดและจัดทำรายงาน 3.4 สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัดซีนลดลง
  2. เด็กอายุ 0 - 5 ปี ในเขตรับผิดชอบได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 10
  3. เด็กอายุ 0 - 5 ปี ในเขตรับผิดชอบมีสุขภาพดี ต้านโภชนาการเพิ่มขึ้น
  4. ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับวัดซีน การตรวจสุขภาพในช่องปากและเกิดความตระหนักในการพาลูกมารับบริการฉีดวัดซีนตามเกณฑ์ และเข้าถึงการบริการด้านโภชนาการของรัฐมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ