กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ประชาชนในละแวกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L2503-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 5 ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 กันยายน 2560 - 5 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสอมะ ดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะหะมะ เจ๊ะโด ผอ.รพ.สต.เฉลิม
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 5 บ้านลูโบ๊ะกาเยาะ ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.291,101.641place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2560 30 ก.ย. 2560 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจาประธานแจ้งที่ประชุมประจำเดือนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเฉลิม มีวาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลเฉลิม และพื้นที่ในหมู่บ้านลูโบ๊ะกาเยาะเป็นประจำทุกเดือน พบว่า มีประชาชนป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีจำนวนผู้ป่วยทุกๆ เดือน และพบว่า ในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2555 - 2559) บ้านลูโบ๊ะกาเยาะ หมู่ที่ 5 ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ประชาชนป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 3 ราย, 2 ราย , 3 ราย และ 3 ราย เรียงตามลำดับ และ ในปี 2560 ตั้งแต่เดือน มกราคม - กรกฏาคม มีผู้ป่วย จำนวน 3 ราย ถือว่า เป็นพื้นที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกซ้ำซาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในพื้นที่ชุมชนมีปริมาณยุงลายจำนวนมาก มีการวางไข่ในแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายรอบๆ ที่อยู่อาศัยในชุมชนจำนวนมาก ถือเป็นที่มาของโรคเหล่านี้ จึงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องแล้วทำให้ประชานล้มป่วยอาจอันตรายถึงชีวิตได้ จากปัญหาดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านลูโบ๊ะกาเยาะ จึงเห็นความสำคัญของปัญหาการรระบาดของโรคไข้เลือดออกดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ประชาชนในละแวกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนในละแวกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และสามารถรู้วิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ทันท่วงที

 

0.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนในละแวกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก สามารถจัดการด้านสิ่งแวดล้อม รอบๆ ที่อยู่อาศัยและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกๆ วันในสุดสัปดาห์

 

0.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนในละแวกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก มีการปลูกพืชสมุนไพรที่มีสารไล่ยุงลายได้ เช่น ต้นตะไคร้หอม ฯลฯ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ปรึกษาผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเฉลิมและค้นหาข้อมูลโรคไข้เลือดออกจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการจัดทำโครงการฯ
  2. ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อวางแผน กำหนดกิจกรรมโครงการฯ
  3. จัดทำโครงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ประชาชนในละแวกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก เสนอผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเฉลิม เพื่อขอความเห็นชอบ และเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเฉลิม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเฉลิม (ประธานกองทุนตำบลเฉลิม) เพื่อขออนุมัติโครงการฯ
  4. ดำเนินการตามโครงการฯ
  5. สรุปและประเมินโครงการฯ และรายงานผลการดำเนินการให้ผู้บังคับบัญชาทราบต่อไป
  6. จัดส่งสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องการดำเนินงานตามโครงการฯให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลเฉลิม (กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเฉลิม) เพื่อจัดเก็บเป็นหลักฐาน ตรวจสอบต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หัวหน้าครอบครัวมีความรู้ เข้าใจ ลดปริมาณยุงลายในบริเวณบ้าน
  2. บริเวณที่อยู่อาศัย สะอาด และไม่มีภาชนะน้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  3. ทุกหลังคาเรือนมีการปลูกพืชสมุนไพร ต้นตำไคร้หอม บริเวณรอบที่อยู่อาศัยเพื่อไล่ยุง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2560 13:32 น.