กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยโรคติดต่อ ปี ๒๕๖๓
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวง
วันที่อนุมัติ 22 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 42,583.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเนรศ ดวงยอด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.61,100.833place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก และ โรคไข้มาลาเรีย นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น ตลอดจนภาคประชาชน พบว่าปัญหาของโรคไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา โดยเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวง ประกอบด้วยหมู่ที่ ๑,๗ และ ๘ พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก และ โรคไข้มาลาเรียในปี เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก และ โรคไข้มาลาเรียมาอย่างต่อเนื่อง โดยพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในปี ๒๕๖๒ จำนวน ๖ ราย อัตราป่วย ๐,๑๓ ต่อแสนประชากร จากปี ๒๕๖๑ พบจำนวน ๒ ราย  และพบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย ในปี ๒๕๖๒ พบ  ๙ ราย อัตราป่วย ๐.๑๙ ต่อแสนประชากร จากในปี ๒๕๖๑ ที่พบ ๕ ราย  (ที่มา : จากรายงานการระบาดอำเภอสะบ้าย้อย) ไม่มีผู้ป่วยตายในพื้นที่ตำบลคูหา จักเห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยพบมากกว่าปีที่แล้วซึ่งเข้ากับนิยามหลักการระบาดที่ว่าระบาดหนัก ๑ปี เว้น ๒ ปี โดยปี ๒๕๖๒ คาดการณ์ว่าจะเป็นปีที่จะมีการระบาดสูง แต่ผลที่ออกมาถือว่าอัตราป่วยยังไม่เกินเกณฑ์ค่ามาตรฐานที่กำหนดคือ ไม่เกิน ๕๐ ต่อ แสนประชากร ซึ่งหมายถึงเราสามารถควบคุมการระบาดของโรคในปีที่น่าจะระบาดสูงได้สำเร็จอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ทั้งนี้เป็นผลจากการดำเนินโครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยโรคติดต่อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวง โดยได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคูหา ต่อเนื่องทุกปี
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อดังกล่าวที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคติดต่อ เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคฯ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ปัจจุบันในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวง พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก และ โรคไข้มาลาเรีย มีแนวโน้มและทิศทางที่ดีขึ้น แต่ก็ยังพบผู้ป่วยเกิดขึ้นทุกปี ซึ่งจำเป็นต้องทำการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุม เพื่อให้สถานการณ์ของโรคกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวง ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลคูหา ในนามกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคูหา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย ตลอดจนโรคอุบัติการณ์ซ้ำ และ โรคอุบัติการณ์ใหม่ ที่ทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรียของประชากรในชุมชน

 

0.00
2 เพื่อป้องกันอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรียของประชากรในชุมชน

 

0.00
3 เพื่อบริหารจัดการควบคุมแหล่งรังโรคในชุมชน แบบบูรณาการ มีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายตามเกณฑ์กำหนด

 

0.00
4 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรียที่ต่อเนื่องเข้มแข็งและยั่งยืน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประชุมชี้แจงคืนข้อมูล จัดเวทีประชาคมโดยทีมงานเครือข่ายจัดการสุขภาพในชุมชน ๒. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อจัดทำโครงการฯ ๓. เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคูหา เพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ ๖. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โรคฯให้แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน ๗. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคฯ และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น ป้ายไวนิล แผ่นพับ เสียงตามสายในหมู่บ้าน อย่างต่อเนื่อง ๘. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงพาหะในหมู่บ้านร่วมกับโรงเรียน แกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) โดยวิธี ทางกายภาพ รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชนร่วมโรงเรียน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพาหะ ในชุมชนและโรงเรียน ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายกำจัดลูกน้ำยุงลายในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียน โดยอสม. และพ่นสารเคมี เช่น สเปรย์ หมอกวัน และ ULV กำจัดยุงพาหะทั้งช่วงสถานการณ์ปกติเพื่อเฝ้าระวังป้องกัน และเพื่อเป็นการควบคุมการแพร่ระบาดช่วงมีการเกิดโรคทั้งพื้นที่เสี่ยงและพื้นมีการระบาด ทางชีวภาพ ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชนเกี่ยวการปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ๙. แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ       ๑๐. แจกมุ้งชุบน้ำยาป้องกันยุงพาหะให้ทุกครอบครัวที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้มาลาเรีย       ๑๑. เจาะเลือดเพื่อตรวจคัดกรองผู้ที่สงสัย/สัมผัสกับผู้ป่วย หรือ อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือมีการระบาดของโรคไข้มาลาเรีย เพื่อสกัดกั้นการระบาดและแพร่เชื้ออย่างทันท่วงที       ๑๒. ติดตาม ประเมินการดำเนินกิจกรรม สรุปผลรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๑๓. ดำเนินการพ่นเคมีฤทธิ์ตกค้าง(เดลต้า วิธทริน)ที่บ้าน เพื่อทำลายยุงตัวแก่ ป้องกันโรคมาลาเรีย จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน
๑๔. กิจกรรมที่ 7 ดำเนินการพ่นหมอกควัน(ULV) เพื่อทำลายยุงตัวแก่ จำนวน 4 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ ในกรณีมีการระบาดของโรคมาลาเรีย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราป่วยไข้เลือดออกปี ๒๕๖๒ ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ เมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานปี๕๘-๖๒ ๒. หมู่บ้าน / ชุมชนสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๓. อัตราป่วยไข้มาลาเรียปี ๒๕๖๓ ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานปี ๕๘-๖๒ ๔. หมู่บ้าน / ชุมชนสามารถควบคุมโรคไข้มาลาเรียได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ๕. สภาพแวดล้อมของหมู่บ้านมีความสะอาดขึ้น
๖. สถานบริการ โรงเรียน วัด มัสยิด ครัวเรือน ปลอดลูกน้ำยุงลาย (สุ่มประเมินผล HI CI )   - รพ.สต./รร. ค่า CI = ๐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐   - ศาสนสถาน ค่า CI น้อยกว่า ๕         - ชุมชน ค่า HI < ๑๐ ๗. ทีมภาคีเครือข่าย มีศักยภาพ และความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่เชื้อ  มาตรการ ๓ : ๑ : ๑ ที่มีคุณภาพ เกิดประสิทธิผลในการดำเนินการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2563 10:40 น.