กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านป่าฝางรักษ์สุขภาพ ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
รหัสโครงการ 60-L8010-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มรักษ์สุขภาพบ้านป่าฝาง
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,805.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกวี สานิง
พี่เลี้ยงโครงการ นายลิขิต อังศุภานิช
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้ผู้คนในสังคมต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด การใช้ชีวิตของผู้คนดำเนินไปอย่างเร่งรีบและให้ความสำคัญกับความสะดวกจนบางครั้งลืมมองถึงอันตรายที่อยู่รอบตัว การให้ความสำคัญกับความสะดวก ประหยัดเวลาจนกระทั่งละเลยความใส่ใจ เรื่องพิษภัยที่อยู่รอบตัว ที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ กล่องโฟมบรรจุอาหารซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองชีวิตที่เร่งรีบได้อย่างลงตัว จนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันก็มีอันตรายที่แฝงมากับกล่องโฟมที่บรรจุอาหาร ในชีวิตประจำวันของเราเองต้องพบเจอกับกล่องโฟมบรรจุอาหาร เช่น ข้าวผัด ข้าวกะเพราไข่ขาว หรือแม้แต่ขนมโตเกียว ขนมครกร้อนๆ ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นกล่องโฟมบางประเภท มีการระบุเตือนไว้ มีการระบุเตือนอย่างชัดเจนว่า “ไม่ควรนำมาใส่อาหาร” หรือ “ไม่ควรนำมาใส่ของร้อน” ซึ่งอันตรายกับการใช้กล่องโฟมอย่างผิดประเภทเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้คนไทยป่วยเป็นมะเร็งมากขึ้นทุกปีและปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน คือ กล่องโฟม ไม่สามารถ ย่อยสลายได้หรือหากย่อยสลายได้ก็ต้องใช้ระยะเวลานาน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อนหรือ ปัญหามลพิษจากขยะล้นเมือง และพิษรอบตัวอีกอย่างหนึ่งที่หลายคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้น้ำมันทอดซ้ำในการประกอบอาหารแม้กระทั่งบางครอบครัวนำน้ำมันที่ใช้แล้วมาทอดซ้ำ เพราะเห็นว่าประหยัดค่าใช้จ่ายหรือคิดว่าเสียดายน้ำมันที่ทอดครั้งเดียว จึงนำน้ำมันเหล่านั้นกลับมาทอดซ้ำอีกหลายๆครั้ง จนลักษณะทางกายภาพของน้ำมันหรือคุณลักษณะของอาหารเสียไป จึงเปลี่ยนน้ำมันใหม่ผสมลงไปทอดอาหารซ้ำๆต่อไป การเสื่อมสภาพของน้ำมันจากการทอดเกิดสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คือ “สารโพลาร์” ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูงหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคมะเร็ง ซึ่งในน้ำมันสำหรับทอดอาหาร กำหนดให้มีปริมาณสารโพลาร์ ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก จากปัญหาดังกล่าว กลุ่มบ้านป่าฝาง รักษ์สขภาพ หมู่ที่ 9 บ้านป่าฝาง จึงเล็งเห็นความสำคัญ และตระหนักถึงพิษภัยที่ตามมาจึงได้จัดทำโครงการ ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำต่อเนื่องเป็น ปีที่ 2 ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน และเพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคและผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 9ได้ตระหนักถึงอันตรายจากกล่องโฟมที่ใช้บรรจุอาหารและน้ำมันทอดซ้ำ ให้ประชาชนมีสุขภาพดีต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำในหมู่บ้านและผู้บริโภคเกิดมีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ

ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำในหมู่บ้าน และผู้บริโภคเกิดความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ โดยใช้แบบประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรมที่จัดทำขึ้นเอง

2 เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ

เกิดหมู่บ้านต้นแบบ ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ โดยใช้วิธีการสำรวจ/ติดตาม การละ ละ เลิก การใช้กล่องโฟมในหมู่บ้าน

3 เพื่อให้ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชน เป็นร้านค้าที่ปลอดน้ำมันทอดซ้ำและกล่องโฟม

ร้อยละ 80 ของร้านจำหน่ายอาหารในชุมชนเป็นร้านที่ปลอดน้ำมันทอดซ้ำและกล่องโฟม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจาก กองทุนฯ อบต.กำแพง 2. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/วิทยากรเพื่ออบรมให้ความรู้ 3. เตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ ขั้นดำเนินงาน 1. ประชุมคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 3 ครั้ง พร้อมทั้งจัดตั้งธรรมนูญหมู่บ้าน 2. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบร้านจำหน่ายอาหาร ผู้นำชุมชน แกนนำในหมู่บ้าน 3. จัดอบรมให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน จัดกิจกรรมเดิณรณรงค์ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ 4. ดำเนินการตรวจน้ำมันทอดซ้ำในร้านจำหน่ายอาหาร และดำเนินการทดสอบน้ำมันทอดซ้ำก่อน และหลังการใช้ 5. มอบป้าย “ร้านค้าปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ” แก่ร้านค้าที่ผ่านการตรวจประเมิน 6. น้ำมันที่เหลือจากการใช้แล้วให้เก็บรวบรวมรอจำหน่ายต่อไป ขั้นติดตามและประเมินผล
1. ประเมินผลสำเร็จของโครงการ 2. รายงานผลการดำเนินโครงการต่อกองทุน อบต.กำแพง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำในหมู่บ้าน และผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจถึงพิษภัยของกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
  2. ผู้นำชุมชนและแกนนำในหมู่บ้านสามารถเป็นบุคคลต้นแบบในการลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
  3. ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชน เป็นร้านค้าที่ปลอดน้ำมันทอดซ้ำและกล่องโฟม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2560 22:03 น.