กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
รหัสโครงการ 63-L3332-1-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ
วันที่อนุมัติ 22 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กันยายน 2563 - 28 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 28 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 16,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภคโดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้านเป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ แต่จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคพบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน และในปัจจุบัน จากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อน อาหารที่ไม่มีมาตรฐาน อาหารแปลกปลอม อาหารสุกๆดิบๆทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมดังกล่าวได้
ดังนั้น เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้พัฒนาศักยภาพของเครือข่าย ได้แก่ แกนนำ อสม.มาใช้ เพื่อช่วยเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียนและให้กลุ่มนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยัง ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนร่วมกันสอดส่องดูแลและประชาสัมพันธ์ในชุมชน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ ปี ๒๕๖๓ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเครือข่ายสุขภาพคุ้มครองผู้บริโภค

มีเครือข่ายสุขภาพคุ้มครองผู้บริโภค

0.00
2 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบร้านชำในเขตรับผิดชอบ

ร้านชำมีการจำหน่ายเครื่องสำอาง และยาถูกต้องผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๘๕

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,700.00 0 0.00
28 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้เครือข่ายสุขภาพ แกนนำ อสม. 0 16,700.00 -

๑.จัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในชุมชน ๒.เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน
๓.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔.สำรวจกลุ่มเป้าหมาย (ร้านชำ) ๔. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆสำหรับใช้ในการดำเนินกิจกรรม ๕. ตรวจร้านขายของชำทั้งหมดในเขตรับผิดชอบ ครั้งที่ ๑ ๖. จัดอบรมเครือข่ายสุขภาพ แกนนำ อสม.เพื่อให้ความรู้
๗. ตรวจร้านขายของชำทั้งหมดในเขตรับผิดชอบ ครั้งที่ ๒ ร่วมกับเครือข่ายสุขภาพแกนนำอสม.ที่ผ่านการอบรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.มีเครือข่ายสุขภาพ แกนนำ อสม. ๒.ร้านชำในเขตรับผิดชอบจำหน่ายเครื่องสำอาง และยาถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2563 14:54 น.