กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย
รหัสโครงการ 60-L8010-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,417.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมจิตต์ เมืองจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายลิขิต อังศุภานิช
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพการณ์ประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ซึ่งทำให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ในวัยสูงอายุบุคคลจะมีสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป การทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆเสื่อมถอยลงตามธรรมชาติ ประกอบกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนไม่เหมาะสมตั้งแต่วัยผู้ใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้วัยสูงอายุมีปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะ 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหัวใจ ซึ่งโรคเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อัมพาต/อัมพฤกษ์ ไตวายเรื้อรัง ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพามากขึ้น ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 เน้นการพัฒนาคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เน้นให้ประชาชนมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพที่ดี และป้องกันโรคเรื้อรังเหล่านั้นได้ ดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุจากการสำรวจผู้สูงอายุในหมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ในปี 2560 มีจำนวน 173 คน ที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 166 คนกลุ่มติดบ้าน จำนวน 4 คนและกลุ่มติดเตียงจำนวน 3 คน ผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่มมีวิธีการดูแลที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องดูแลและให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาต่างๆเหล่านี้ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุขึ้น ก็เพื่อหวังที่จะให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุในหมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ร้อยละ 100 ได้รับการศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุ - แบบสองถามพฤติกรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ - แบบประเมินภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพ

2 เพื่อส่งเสริม ป้องกัน และสร้างแรงจูงใจให้กับผู้สูงอายุ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ
  1. ผู้สูงอายุกลุ่มปกติ อย่างน้อยร้อยละ 80 มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และรับประทานอาหารได้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเสี่ยง

- แบบสอบถาม
2. กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง ร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ - แบบประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม

3 เพื่อติดตามผลการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน และติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง
  1. ร้อยละ 80 ของชุมชนได้รับทราบข้อมูลและเกิดประโยชน์กับชุมชน

- แบบสำรวจ 2. ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง อย่างน้อยร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม - แบบประเมินสุขภาพ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจาก กองทุนฯ อบต.กำแพง 2. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ขั้นดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 สำรวจพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุ 1.1 แต่งตั้งคณะทำงาน 1.2 ออกแบบแบบสอบถาม/แบบสำรวจ สำหรับสำรวจพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ 1.3 ลงพื้นที่ในชุมชน เพื่อสำรวจพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผล 1.4 คืนข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือชุมชน 1.5 นำข้อมูลที่ได้จัดลำดับความสำคัญ เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 2.1 กลุ่มปกติ ดำเนินการดังนี้ - ส่งเสริม แนะนำการออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร - ส่งเสริม/รณรงค์ ให้ปลูกผักสวนครัว 2.2 กลุ่มเสี่ยง ดำเนินการดังนี้ - อบรมให้ความรู้ เรื่อง ธงโภชนาการการเลือกรับประทานอาหาร และการปรุงอาหารให้มีแคลอรี่ต่ำ ฯลฯ - สาธิตการทำอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมทั้งคำนวณแคลอรี่อาหารแต่ละประเภท - กิจกรรมฐานการเรียนรู้สุขภาพดี 4 ฐาน ได้แก่ ฐานที่ 1 วัดรอบเอว คำนวณแคลอรี่อาหารที่ต้องการรายบุคคล ฐานที่ 2 อ่านฉลากอาหาร สอนการคำนวณปริมาณน้ำตาลจากฉลากอาหาร ฐานที่ 3 การออกกำลังกาย ฐานที่ 4 การจัดการอารมณ์ การคิดบวก การเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อการจัดการปัญหาในชีวิต ฯลฯ - ส่งเสริม/รณรงค์ ให้ปลูกผักสวนครัว 2.3 กลุ่มที่มีความจำเป็นเร่งด่วน - ลงเยี่ยม โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข - ส่งต่อโรงพยาบาล เพื่อเข้ารับการรักษาต่อ กิจกรรมที่ 3 ติดตามผล 3.1 ติดตามการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ 3.2 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดสุขภาพที่ดีในผู้สูงอายุ
  2. สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน
  3. ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถลดความเสี่ยงทางสุขภาพได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2560 22:05 น.