กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 173 คน แบ่งออกเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม จำนวน 166 คน กลุ่มติดเตียงจำนวน 3 คน และกลุ่มติดบ้านจำนวน 4 คน แบ่งเป็นเพศชาย ร้อยละ 37.57 เพศหญิง ร้อยละ 62.43 ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 53.75 และไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 46.25 และจากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโดยแบ่งเป็นกลุ่มปกติ มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.26-2.00 กลุ่มเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 0.51-1.25 และกลุ่มที่มีความจำเป็นเร่งด่วน มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่า 0.50  ซึ่งผลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ด้านการออกกำลังกาย มีค่าเท่ากับ 0.60 ส่วนด้านปกติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ มีค่า 1.27 ด้านการจัดการความเครียด มีค่า 1.28 ด้านการปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย มีค่า 1.38 ด้านอาหาร มีค่า 1.47 และด้านสุขาภิบาลที่อยู่อาศัย มีค่า 1.58 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของแต่ละด้านที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง พบว่า หัวข้อที่ 1 การออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วันๆละ ไม่เกิน 30 นาที ค่าเฉลี่ย 0.58 หัวข้อที่ 2 การเลือกประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพและวัย ค่าเฉลี่ย 0.62 หัวข้อที่ 3 การรับประทานยาสมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบัน ค่าเฉลี่ย 0.66 หัวข้อที่ 4 การตรวจสุขภาพ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ค่าเฉลี่ย หัวข้อที่ 5 การงดสิ่งเสพติดทุกประเภท ค่าเฉลี่ย 1.14 หัวข้อที่ 6 การรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ  ค่าเฉลี่ย 1.15 หัวข้อที่ 7 เมื่อมีเวลาว่างจะหากิจกรรมสร้างความเพลิดเพลินทำ เช่น การปลูกต้นไม้ ร้องเพลง ค่าเฉลี่ย 1.20 และหัวข้อที่ 8 เมื่อมีความเครียดยังคงหงุดหงิดหรือหมกมุ่นกับปัญหาที่เกิดขึ้น ค่าเฉลี่ย 1.23 จากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและวิเคราะห์ผลแล้วก็นำมาดำเนินกิจกรรมที่ 2 ต่อ จากการดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ โดยแบ่งเป็นกลุ่มปกติ มีผู้สูงอายุจำนวน 93 คน โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ จากการใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับการออกกำลังกาย พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุออกกำลังกายโดยการเดิน ร้อยละ 83.87 ออกกำลังกายคนเดียว ร้อยละ 100 ผู้สูงอายุออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 52.69 ซึ่งมีเหตุผลที่ออกกำลังกาย เพราะมีปัญหาสุขภาพ ร้อยละ  65.59 ต้องการร่างกายแข็งแรง ร้อยละ 34.41 ส่วนพฤติกรรมการกินอาหาร พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดีต่อสุขภาพร้อยละ 70.97 และรับประทานอาหารเช้ากันทุกวันร้อยละ 100 อาหารกลางวันทุกวัน ร้อยละ 95.70 และอาหารเย็นทุกวันร้อยละ 74.19 ส่วนการบริโภคผักเป็นประจำทุกวันร้อยละ 91.40 ดื่มน้ำเป็นประจำทุกวันไม่ต่ำกว่าวันละ 8 แก้ว ร้อยละ 63.44 และรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยกะทิเพียงร้อยละ 10.75 จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุกลุ่มปกติส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายและการกินอาหารที่เหมาะสม  ส่วนผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง จำนวน 80 คน จากการให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสาธิตการทำเมนูเพื่อสุขภาพ โดยใช้แบบประเมินความรู้ก่อน-หลังอบรม ก่อนเข้าร่วมโครงการ พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีระดับความรู้ระดับต่ำ ร้อยละ 39.5 และหลังเข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ระดับปานกลางร้อยละ 70.8 เนื่องมาจากผู้สูงอายุบางท่านมีปัญหาเรื่องสายตา อ่านหนังสือไม่ชัด เป็นต้น หลังจากการอบรมและได้มีการติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง จำนวน 80 คน พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุหันมาออกกำลังกายกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.5 โดยการเดินและวิ่งเหยาะๆ บริเวณบ้านของตนเอง ส่วนพฤติกรรมการบริโภคอาหารผู้สูงอายุหันมาสนใจบริโภคผัก ร้อยละ 95 และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพ ร้อยละ 93.75 และบริโภคการรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยกะทิน้อยลง ส่วนใหญ่แล้วผู้สูงอายุให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพ เพราะกังกลกับปัญหาที่ตามมา เช่น โรคต่างๆ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุในหมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ร้อยละ 100 ได้รับการศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุ - แบบสองถามพฤติกรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ - แบบประเมินภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพ

 

2 เพื่อส่งเสริม ป้องกัน และสร้างแรงจูงใจให้กับผู้สูงอายุ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ
ตัวชี้วัด : 1. ผู้สูงอายุกลุ่มปกติ อย่างน้อยร้อยละ 80 มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และรับประทานอาหารได้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเสี่ยง - แบบสอบถาม 2. กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง ร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ - แบบประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม

 

3 เพื่อติดตามผลการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน และติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของชุมชนได้รับทราบข้อมูลและเกิดประโยชน์กับชุมชน - แบบสำรวจ 2. ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง อย่างน้อยร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม - แบบประเมินสุขภาพ

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุ (2) เพื่อส่งเสริม ป้องกัน และสร้างแรงจูงใจให้กับผู้สูงอายุ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ (3) เพื่อติดตามผลการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน และติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh