กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนักเรียนส่งเสริมสุขภาพต้นแบบ
รหัสโครงการ 60-L3052-01-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะดุนง
วันที่อนุมัติ 31 กรกฎาคม 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2017 - 29 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซารีพะ เจ๊ะอาลี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอัสลีนา อินทรีย์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะดุนง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.646,101.554place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนสู่ความเป็นสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อแบบแผนการบริโภคอาหารของครอบครัวและเด็กวัยเรียนเป็นอย่างมากเน้นความรวดเร็วเพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีพ ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ในเรื่องการบริโภคอาหารประเภทจานด่วน อาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับเด็กวัยเรียน ซึ่งอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการติดเกมส์ทำให้เด็กวัยเรียนมีการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายน้อยลง องค์ประกอบเหล่านี้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนอันตรายของโรคอ้วนในเด็กซึ่งโรคอ้วนในเด็กกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนา ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบความชุกของโรคอ้วนในเด็กวัย 6-11 ปี เพิ่มจาก ร้อยละ 7ในปี 1980 เป็น ร้อยละ 15.3 ในปี 2000 องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าทั่วโลกมีประชากรอย่างน้อย 300 ล้านคนที่กำลังเผชิญปัญหานอกจากนี้มีการศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบาดวิทยาของโรคในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า หลังจากวัยทารก เด็กหญิงจะอ้วนมากกว่าเด็กชาย เด็กที่อ้วนเมื่ออายุ๖ ขวบขึ้นไป จะมีโอกาสเป็นผู้ใหญ่อ้วนร้อยละ ๒๕ ในขณะที่เด็กอ้วนเมื่ออายุ ๑๒ ปี จะมีโอกาสเป็นผู้ใหญ่อ้วนมากถึง ร้อยละ ๗๕ สำหรับประเทศไทยแนวโน้มภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียนมีแนวโน้มสูงขึ้นมากจนน่าเป็นห่วง จากข้อมูลระบบ Health Data Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ปี ๒๕๕๗ เด็กวัยเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ ๑๑.๔ และปี ๒๕๕๘ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ๑๒.๕ โดยเขตสุขภาพที่ ๓ มีอัตราของภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนเป็นอันดับที่ ๒ ของระดับประเทศ ร้อยละ ๑๙.๙ เด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วนมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆได้มากกว่าปกติ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ข้ออักเสบ ขาโก่ง รวมทั้งสมาธิสั้น นอกจากนี้ในกรณีที่เด็กที่ป่วยด้วยโรคอ้วนขั้นรุนแรง มีผลกระทบต่อทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คือทำให้เกิดกลุ่มอาการ Pickwickian Syndrome ส่งผลขัดขวางต่อการเรียนหนังสือ ทำให้ง่วงนอนทุกครั้งที่นั่ง ผลการดำเนินงานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในโรงเรียนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะดุนง พบว่าสถานการณ์แนวโน้มของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วน ในปี ๒๕๕๗ ร้อยละ 5.89 ปี ๒๕๕๘ ร้อยละ 6.33 ปี๒๕๕๙ร้อยละ 8.67ถึงแม้นว่าอัตราของภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็กวัยเรียนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะดุนงจะต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดตัวชี้วัดเด็กวัยเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ ๑๐ แต่แนวโน้มตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ถึง ปี ๒๕๕๙ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และลดลงเล็กน้อยในปี ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นผลจากการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะดุนงได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ทั้งนี้การดำเนินงานแก้ไขปัญหาภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็กวัยเรียนเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ และถ้าไม่มีแผนงานแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องก็จะส่งผลทำให้ปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะดุนง จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ปี ๒๕๖๐

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ ที่เหมาะสม

เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ ที่เหมาะสม

2 เพื่อให้เด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วน และอ้วนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

เด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วน และอ้วนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

3 เพื่อให้โรงเรียนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน

โรงเรียนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน

4 เพื่อให้เด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

เด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1รวบรวมและวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อคืนข้อมูลการดำเนินงานโภชนาการเด็กอายุ ๕ – ๑๔ ปี ของโรงเรียนทั้ง ๔ แห่งในตำบลปัญหา/อุปสรรค ถอดบทเรียนในปีที่ผ่านมา เพื่อวางแผนและ กำหนดทิศทางแก้ไขปัญหา 2ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และเครือข่ายในชุมชน 3จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 4 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานแก้ไขปัญหาภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็กวัยเรียน ระดับตำบล
5ประสานครูอนามัยโรงเรียน เครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมโครงการผ่านเวทีการประชุมประจำเดือนครู และ อสม.
6 จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆในการจัดกิจกรรมให้พร้อมดำเนินงาน 7 ดำเนินการอบรมนักเรียนส่งเสริมสุขภาพนักเรียนต้นแบบ จำนวน ๑ วัน 8 ประเมินผลการอบรม 9 พัฒนาระบบข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ให้มีความครอบคลุม ความถูกต้อง 10 พัฒนาให้มีโรงเรียนต้นแบบ Smart Kids Coacher และพัฒนาให้เกิด Model ต้นแบบการจัดการ ปัญหาเด็กอ้วนที่มีการบูรณาการระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน 11 จัดทำระบบการคัดกรอง ส่งต่อ และแก้ไขปัญหาเด็กอ้วนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา สถานบริการ สาธารณสุขและคลินิกไร้พุง DPAC 2.๑๓จัดทำทีมนักจัดการน้ำหนักเด็กอ้วน Smart Kids Coacher
๒.๑๔สนับสนุนวิชาการ สื่อ ๒.๑๕นิเทศ ติดตามปีละ 2 ครั้ง ๒.๑๖สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ ๒.๑๗รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ เด็กนักเรียน อายุ 5-14 ปี มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ. ๒ นักเรียนที่มีภาวะเริ่มและอ้วนมีน้ำหนักลดลง ๓ นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ ๔ เครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานักเรียนอายุ 5-14 ปี ที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2017 22:41 น.