กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมสตรีรุ่นใหม่ใส่ใจการตรวจมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 60-L3052-01-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.กะดุนง
วันที่อนุมัติ 31 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซารีพะเจ๊ะอาลี
พี่เลี้ยงโครงการ นางมาฮานี หะยียูโซะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะดุนง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.646,101.554place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 58 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยจากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พ.ศ.2546(สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2548) พบว่าอัตราตายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นและโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทยได้แก่มะเร็งตับมะเร็งปอดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามลำดับสำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทุกชนิด (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2548) นอกจากนี้ยังพบว่า การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอน ที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำPapsmearหรือVIA (VisualInspectionofcervixwithAceticacid)ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบและการจี้เย็น (Cryotherapy)ปีงบประมาณ2553 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาจึงให้การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กระทรวงสาธารณสุข โดยมอบให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีPapsmearและVIA ในสตรีไทยอายุ30-60ปีกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละของสตรี 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม ปีงบประมาณ2553-2557ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะดุนง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีได้ดำเนินการคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกมีผลงานสะสม5ปี (255๘ – ๒5๖๒)ไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด เป้าหมาย ๙๑๒ คน ได้รับการตรวจคัดกรอง 237คนคิดเป็นร้อยละ 25.99พบผลผิดปกติ ๑ รายได้รับการส่งต่อตาม แนวทางการรักษาที่โรงพยาบาลปัตตานี ๑ ราย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้แก่สตรีอายุ ๓๐ – ๓๕ ปี เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก

ให้ความรู้แก่สตรีอายุ ๓๐ – ๓๕ ปี เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก

2 เพื่อให้เครือข่ายในชุมชนมีส่วนร่วมในการนำส่งสตรีอายุ๓๐ – ๖๐ ปี มารับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

เครือข่ายในชุมชนมีส่วนร่วมในการนำส่งสตรีอายุ๓๐ – ๖๐ ปี มารับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1รวบรวมและวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อคืนข้อมูลการมารับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ปัญหา/อุปสรรค ถอดบทเรียนในปีที่ผ่านมา เพื่อวางแผนและกำหนดทิศทางการแก้ไข้ปัญหา การมารับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ตำบลกะดุนง 2ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และเครือข่ายในชุมชน 3จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 4แต่งตั้งคณะทำงาน / ประชุมคณะทำงาน เพื่อกำหนดวิธีดำเนินการและเนื้อหาการอบรม 5ประสานเครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ผ่านผู้นำศาสนา การประชุมประจำเดือน อสม. และกลุ่มสตรี 6จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆในการจัดกิจกรรมให้พร้อมดำเนินงาน 7ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่สตรีอายุ ๓๐ – ๓๕ ปีโดยวิทยากรชุมชนจำนวน ๑ วัน
8 เครือข่ายติดตามและนำส่งสตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี มารับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก 9 สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ 10 รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1สตรีอายุ ๓๐ – ๓๕ ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก 2เครือข่ายในชุมชนมีส่วนร่วมในการนำส่งสตรีอายุ๓๐ – ๖๐ ปี มารับบริการตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งปากมดลูก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2560 23:01 น.