กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรียุคใหม่ใส่ใจมะเร็ง
รหัสโครงการ 60-L3332-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเกรียงไกร ไชยวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.435,100.197place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยจากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พ.ศ.2546(สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2548) พบว่าอัตราตายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นและโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทยได้แก่มะเร็งตับมะเร็งปอดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามลำดับสำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทุกชนิด (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2548) นอกจากนี้ยังพบว่า การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอน ที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำPapsmearหรือVIA (VisualInspectionofcervixwithAceticacid)ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบและการจี้เย็น (Cryotherapy)ปีงบประมาณ2553สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาจึงให้การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กระทรวงสาธารณสุข โดยมอบให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีPapsmearและVIA ในสตรีไทยอายุ30-60ปีกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละของสตรี 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม ปีงบประมาณ255๘ -25๖๐ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖0 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอจึงได้จัดทำโครงการสตรียุคใหม่ใส่ใจมะเร็งขึ้นเพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการโดยเน้นการตรวจPapSmear เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรกเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วยซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลามและสร้างเสริมสุขภาพคนในชุมชนห่างไกลโรคด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมะเร็งปากมดลูก (สตรีอายุ 30-60 ปี) มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น

 

2 เพื่อค้นหาผู้ที่สงสัยเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้น

 

3 สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกครอบคลุม

 

4 สตรีที่ตรวจพบโรคมะเร็งปากมดลูกได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  2. สำรวจ ทำทะเบียนกลุ่มสตรีอายุ 30 –60 ปี
  3. จัดเตรียมเอกสารต่างๆ
  4. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม
  5. นัดกลุ่มเป้าหมายมาร่วมกิจกรรมอบรม โดยมีเนื้อหาดังนี้

- ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก
- การตรวจ ค้นหา โรคมะเร็งปากมดลูกความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก - แนวทางการป้องกัน ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
6. ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เคยรับการตรวจในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา และส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลหรือศูนย์พยาธิวิทยา 7. ประเมินผลการดำเนินงานโดย -แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรมฯ -ทะเบียนการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก 8. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปีมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก และได้รับการตรวจพบมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้น 2.สามารถค้นหาความผิดปกติของเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูกในระยะเริ่มแรกได้ 3.สตรีกลุ่มเป้าหมายทุกคนตระหนักในการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมทุก ๕ ปี
4.สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2560 14:17 น.