กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 63-L5187-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลสะพานไม้แก่น
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 สิงหาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 26,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางไหมมูเน๊าะ หมากปาน ประธานชมรมอสม.ตำบลสะพานไม้แก่น
พี่เลี้ยงโครงการ นายอะหมัด หรีขาหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,100.783place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และเป็นโรคติดต่อประจำถิ่นที่แพร่ระบาดได้รวดเร็ว เนื่องจากเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีการระบาดตลาดปีและพบมากในฤดูฝน จากการสำรวจข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมา พบว่าประชากรส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย รวมไปถึงการดุแลสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ส่งผลให้อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่ลดลง ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จากการรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของตำบลสะพานไม้แก่น 5 ปีย้อนหลัง พ.ศ.2558-2562 พบว่า มีอัตรา174.57,339.36,68.48,63.34 และ 52.78 ต่อประชากรแสนคน (งานระบาดวิทยา สสอ.จะนะ) ซึ่งตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจะต้องไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร และต้องลดลง 20 เปอร์เซ็น ของค่ามัธยฐาน ย้อนหลัง 5 ปี จากสถิติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าบางปีอัตราป่วยยังสูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดอยู่มากแม้ในปีล่าสุดอัตราป่วยจะลดลงมากก็ตาม ดังนั้น การดำเนินงานที่สำคัญที่สุดในการควบคุมโรคไข้เลือดออก คือ การป้องกันโรคล่วงหน้าซึ่งต้องดำเนินการก่อนการเกิดโรค หากเกิดการระบาดแล้วการควบคุมโรคจะทำได้ลำบากและสูญเสียงบประมาณในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลสะพานไม้แก่น ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดให้มีโครงการประชาร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในเขตตำบลสะพานไม้แก่นมีความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยให้ประชาชนมี่ส่วนร่วมในการวางแผนและจัดการกับปัญหาโรคไข้เลือดออกของชุมชนเอง ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของตำบลสะพานไม้แก่นไม่ให้เกิน 50 ต่อแสนประชากร

ร้อยละของหมู่บ้านและชุมชนมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายไม่เกิน 10 / โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดและมัสยิด มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายเป็น 0

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,450.00 1 26,450.00
3 ส.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมรณรงค์พ่นหมอกควัน/พ่นละอองฝอย ในพื้นที่ตำบลสะพานไม้แก่น 0 26,450.00 26,450.00
  1. อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก แก่ อสม.เพื่อเป็นแกนนำด้านการป้องกันและควบคุมโรคให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน 2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน โดย อสม.และผู้นำชุมชน 3. อสม.ดำเนินการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย แจกทรายอะเบท โลชั่นกันยุงและส่งรายงานทุกเดือน 4. รณรงค์ด้านกายภาพโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลายและพ่นหมอกควันในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ พ่นหมอกควันในโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก และพ่นในศาสนสถาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรค และวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดที่พบบ่อยในพื้นที่  2. ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดที่พบบ่อยในพื้นที่  3. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด 4. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกของตำบลสะพานไม้แก่นลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2563 13:36 น.