กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจากโรคแทรกซ้อนจากความดันเบาหวาน
รหัสโครงการ 60-L4116-4-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุมาราญ มะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซัลมา หะยีสะมะแอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.449,101place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการพัฒนาในประเทศต่าง ๆทั่วโลก องค์การสหประชาชาติจึงกำหนดให้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นวาระสำคัญที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ ต้องเร่งรัดดำเนินการ โดยองค์การอนามัยโลกผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวระดับนานาชาติเพื่อส่งเสริมสนับสนุน การจัดทำยุทธศาสตร์ แนวทางการดำเนินงานเพื่อการป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อในระดับสากลและส่งเสริมสนับสนุนให้รัฐบาลของประเทศต่างๆเร่งรัดผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมโดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชาชน ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกกำหนด 9 เป้าหมายในการป้องกันและควบคุม โรคไม่ติดต่อ โดยกำหนดเป้าหมายความสำเร็จในการดำเนินงาน ภายในปี พ.ศ. 2568 ประเด็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อ ( Premature Mortality ) คือ อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของประชากรอายุระหว่าง 30–70 ปี ลดลงร้อยละ 25จากรายงานสถิติสาธารณสุขเกี่ยวกับ จำนวนตายด้วย 4 กลุ่มโรคหลัก ในช่วงอายุ 30-70 ปี มีจำนวนเพิ่มขึ้น สำหรับในประเทศไทย ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2553พบว่า ประมาณร้อยละ 71ของการเสียชีวิตทั้งหมดเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและประมาณร้อยละ 29 ข องการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเกิดในผู้ ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปีโดยสัดส่วนการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นร้อยละ 27 โรคมะเร็งร้อยละ 12 โรคระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 7 และโรคเบาหวานร้อยละ 6 นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการนอนโรงพยาบาลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการคาดการณ์สถานการณ์ในปี พ.ศ. 2553 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประมาณ 400,000 คนและประมาณร้อยละ 29 ของการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเกิดในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี จากรายงานสถิติสาธารณสุข พ.ศ.2550 – 2556 พบว่า จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคไม่ติดต่อ ที่ สำคัญได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจขาดเลือดโรคหลอดเลือดสมองใหญ่หรืออัมพฤกษ์อัมพาต และโรค เบาหวาน พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกโรคอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2550-2556 ซึ่งจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและระดับ ประเทศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา มีประชากรที่รับผิดชอบ 5,361 คน ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง262 รายป่วยเป็นโรคเบาหวาน82 รายจากการตรวจคัดกรองโรคไตจากการตรวจสุขภาพประจำปีของผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจ 93 ราย ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไตเรื้อรัง 24 ราย พบว่าผู้ป่วยเริ่มมีอาการของ ไตเสื่อมเพิ่มมากขึ้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามาจึงตระหนักถึงปัญหาการให้ความสำคัญ และ การดูแลตนเองของผู้ป่วย จึงจัดโครงการ “อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจากโรคแทรกซ้อนจากความดันเบาหวาน” เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลตระหนักถึงอันตรายของโรคที่เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และมีการดูแลสุขภาพของตนเองได้ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการตรวจสุขภาพ แทรกซ้อนของโรค

 

2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับความรู้ในการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากภาวะ

 

3 3.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานตระหนักถึงอันตรายของโรคแทรกซ้อน

 

4 4.เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการของภาวะแทรกซ้อนให้คำแนะนำและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1สำรวจกลุ่มเป้าหมายเตรียมข้อมูล 1.2จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน จากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกาบัง 1.3ประชาสัมพันธ์โครงการ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดอบรมให้ความรู้ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 2.2ให้บริการตรวจคัดกรอง/ประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน 2.3ให้สุขศึกษารายบุคคลในรายที่พบความเสี่ยง 2.4ส่งต่อในรายที่มีความผิดปกติติดตามผลและแจ้งผลความผิดปกติให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
    1. ขั้นสรุป 3.1จัดทำทะเบียนสรุปผลการตรวจในรายปกติ และในรายที่ได้รับการส่งต่อ ติดตามการรักษา 3.2สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจอันตรายของโรคแทรกซ้อนที่มาจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 2.ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2560 14:34 น.