กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคความดันโลหิตสูงเบาหวานและหลอดเลือดสมอง ปี 2560
รหัสโครงการ 60/L8404/01/07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.น้ำน้อย
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกฤติญาวิชัยดิษฐ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,100.53place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศอันดับต้นๆ โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจหลอดเลือด และจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ทำให้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุใน 15 ปีข้างหน้า ประชากรวัยเด็กมีสัดส่วนลดลง ประชากรวัยทำงานมีสัดส่วนสูงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การเกิดโรคเรื้อรังและโรคที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดการหลั่งไหลของกระแสวัฒนธรรมตะวันตกในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้คนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งการบริโภคและการใช้ชีวิต ทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้เพิ่มขึ้น ประเทศไทย พบว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึงร้อยละ 73 ของประชากรทั้งหมด โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ พบว่าอัตราตายเท่ากับ 28.92 ต่อประชากรแสนคน หรือเท่ากับ 18,922 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน ส่วนหลอดเลือดสมองมีอัตราตายสูงสุด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปี 57 จำนวนตาย 25,114 คน หรือเฉลี่ยทุกๆ1ชั่วโมง จะมีคนตายด้วยโรคหลอดเลือดประมาณ 3 คน (องค์การอนามัยโลก) จากข้อมูลผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของประชาชนในตำบลน้ำน้อยปี 2559 พบว่า อัตราป่วยผู้ป่วยความดันโลหิตสูงต่อประชากรอายุ 35ขึ้นไปเท่ากับ 31.89 อัตราป่วยผู้ป่วยเบาหวานต่อประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปเท่ากับ 11.96 และมีผู้ป่วยตายด้วยโรคมะเร็ง เป็นอันดับ 1 ของตำบลน้ำน้อยมา 2 ปีแล้ว เนื่องมาจาก การดำเนินชีวิตประจำวันพฤติกรรมสุขภาพบางอย่างเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่หันไปนิยมรับประทานอาหารตามสมัยนิยมมากกว่าคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ พฤติกรรมการออกกำลังกายที่ลดน้อยลง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุสำคัญในการบั่นทอนสุขภาพ และเปลีี่ยนแปลงแนวโน้มการเกิดโรคของคนไทย จากโรค ติดต่อในอดีตมาเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้มากขึ้น โรคที่สำคัญได้แก่โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นในหมู่คนไทยและเป็นสาเหตุนำมาซึ่งโรคร้ายต่างๆ อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจโรคเส้นเลือดในสมองตีบ เป็นต้นเหตุ ซึ่งภาวะการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ไม่เพียงสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ยังนำมาภาระของผุ้ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายรวมทั้งต้องใช้จ่ายในการรักาาที่สูงอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้าน 3 อ.2ส.เพื่อลดภาวะเสี่ยงอย่างยั่งยืน

1.ผู้ผ่านการอบรมสามารถลดระดับความดันโลหิตลงถึงระดับปกติร้อยละ 30 2.ผู้ผ่านการอบรมสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงถึงระดับปกติร้อยละ 20

2 เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงเบาหวาน

1.ผู้ผ่านการอบรม ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงได้ไม่เกินร้อยละ 5 2.ผู้ผ่านการอบรมป่วยด้วยเบาหวานได้ไม่เกินร้อยละ 2

3 กลุ่มป่วยไม่มีดรคแทรกซ้อนด้วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ผ่านการอบรมไม่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.แต่งตั้งคณะทำงาน 2.ประชุมคณะทำงานเพื่อทำความเข้าใจและมอบหมายภารกิจ 3.ดำเนินการคัดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงและคัดเลือกกลุ่มเสี่ยง จำนวน 200 คน 4.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มเสี่ยงจำนวน 200 คน 5.ติดตามกลุ่มเสี่ยงวัดระดับความดันโลหิตและเบาหวานซ้ำในกลุ่มเป้าหมายหลังการอบรม ทุก1 เดือนรวม 6 ครั้ง 6.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มป่วยจำนวน 80 คน 7.ติดตามกลุ่มป่วยทุก 2 สัปดาห์จำนวน 6 เดือน 8.จัดอบรมเชิงจัดประชุมสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมอบรางวัลแก่ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 1 ครั้ง 9.สร้างมาตรการทางสังคม 10.ประเมินและสรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักถึงอันตรายของดรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 2.ประชาชนมีสุขภาพดีไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 3.ผู้ที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานแล้วสามารถมีชีวิตอย่างมีความสุขได้ไม่เกิดโรคแทรกซ้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2560 14:45 น.