กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ผู้สูงอายุฟันดี สุขภาพดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 60-L4116-4-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุมาราญ มะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซัลมา หะยีสะมะแอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.449,101place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ทำให้ประชากรในวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีผลให้ลักษณะครอบครัวไทยเปลี่ยนจากครอบครัวขยาย ไปสู่ครอบครัวเดี่ยว ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวลดลง จำนวนผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลง มีเวลาให้ผู้สูงอายุลดลง ขาดการให้ความรักและความอบอุ่น ผู้สูงอายุจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว ดำเนินชีวิตเพียงลำพัง และผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ ทำให้เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรได้รับความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ อยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และปัญหาสุขภาพที่พบได้มากในผู้สูงอายุอีกหนึ่งอย่างคือปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ มีอยู่ 7 ประเด็น นอกจากการสูญเสียฟันแล้ว ยังมีเรื่องฟันผุ/รากฟันผุ โรคปริทันต์ มะเร็งช่องปาก ภาวะน้ำลายแห้ง ฟันสึก และโรคในช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติในกลุ่มผู้สูงอายุ60-74 ปี โดยสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ครั้งล่าสุด ปี 2557 พบว่า ผู้สูงอายุเสียฟัน ทั้งปากแล้วร้อยละ 7.2 และสูญเสียฟันบางส่วนเกือบทุกคน ส่งผลให้เกิดความต้องการใส่ฟันเทียม บางส่วนสูงถึงร้อยละ 72.7 ที่น่าห่วงมากขึ้น คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีฟันพบว่ามีโอกาสสูญเสียฟันเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกือบทุกคนมีฟันผุ โรคปริทันต์ และอีกร้อยละ 17 มีรากฟันผุ ประเด็นสำคัญในการดำเนินงานเพื่อเป็นการลดปัญหาเหล่านี้ คือการควบคุมและป้องกันโรคทางช่องปากเพื่อลดอัตราการสูญเสียฟัน การประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยมีการเข้ารับการรักษาที่ทันท่วงที การเพิ่มประสิทธิภาพการแปรงฟันให้มีความสะอาดเพียงพอต่อการป้องกันโรค อาจกล่าวได้ว่า ปัญหาเกี่ยวกับทันตสุขภาพเป็นปัญหาที่พบได้ในช่องปากผู้สูงอายุเกือบทุกคน และสืบเนื่องจากการมีช่องปากที่บกพร่องทำให้ผู้สูงอายุบริโภคอาหารได้น้อยลง และเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆตามมาในภายหลัง เนื่องจากปากและฟันเป็นปราการด่านแรกของสุขภาพ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา จึงเล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุและจำเป็นทีผู้สูง อายุ ควรได้รับการดูแลด้านการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากที่เหมาะสม มีประสิทธิผล เชื่อมโยงเป็นระบบที่ชัดเจน จึงได้จัดทำโครงการ ผู้สูงอายุฟันดี สุขภาพดีชีวีมีสุข ประจำปีงบประมาณ 2560เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีทักษะและความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพและการดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองเพื่อควบคุมโรค ลดการสูญเสียฟันให้ผู้สูงอายุมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขและสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามให้แก่คนรุ่นหลังได้ยกย่องสืบไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยและสุขภาพช่องปาก ของตนเอง ร้อยละ 70

 

2 2. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 100

 

3 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเอง

 

4 4. เพื่อให้เกิดชมรมผู้สูงอายุและมีความต่อเนื่องยั่งยืน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมวางแผนการจัดกิจกรรม เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการที่จะจัดกิจกรรมขึ้น
    1. ค้นหากลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นในกลุ่มผู้สูงอายุ
    2. ประชาสัมพันธ์โครงการ
    3. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร สื่อการสอน ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม
    4. จัดอบรมให้ความรู้
  2. จัดกิจกรรมในพื้นที่
    • แนะนำความรู้ที่จำเป็นด้านสุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปาก
    • กิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้สูงอายุ
    • ตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรมและแนะนำเพื่อรับการรักษาให้ดีขึ้น
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดชมรมผู้สูงอายุทางด้านสุขภาพและนำไปสู่เครือข่ายสุขภาพที่ยั่งยืน
    1. ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองได้ดียิ่งขึ้น
    2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข
    3. สร้างจิตสำนึกและปลูกฝังให้คนรุ่นหลังได้มีทัศนคติที่ดีและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุและช่วยกันดูแล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2560 15:03 น.