กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพปลอดภัย ใส่ใจการบริโภค
รหัสโครงการ 63/L5192/1/6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าไทร
วันที่อนุมัติ 4 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 33,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนุชจรี มณีภาค
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพเป็นสิ่งที่เราต้องให้ความใส่ใจ และดูแลเป็นอันดับแรกสุด เพราะสุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี เราก็จะอยู่ได้อย่างมีความสุข แต่การดูแลสุขภาพต้องดูแลในทุกด้าน ทั้งเรื่องการซื้อสินค้าและบริการ การใช้ยาและเครื่องสำอางที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ไม่มีสารปนเปื้อน รวมถึงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็นมลพิษ     อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารนั้นมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อน หรือแม้แต่มีสารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้ แต่มีปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดก็ย่อมให้เกิดพิษภัยกับผู้บริโภค ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพดีไม่เจ็บป่วย เป็นสิ่งที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง และป้องกัน ให้ประชาชน เน้นให้ประชาชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย มีคุณค่าอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปัจจุบันปัญหาสำคัญที่พบในอาหารสด มักจะมีสารปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อาจเกิดผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวหรืออาจถึงกับชีวิตได้ ส่วนใหญ่ร้านค้าจะเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผู้บริโภค ทำให้ได้รับสารปนเปื้อนเข้าไปสะสมในร่างกาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพปลอดภัย ใส่ใจการบริโภค ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร และเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานร้านชำที่ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน

ผู้ประกอบการร้านชำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานร้านชำที่ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน

100.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านแผงลอยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานร้านแผงลอยที่ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน

ผู้ประกอบการร้านแผงลอยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานร้านแผงลอยที่ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน

100.00
3 เพื่อให้เด็กมีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหาร ยา และเครื่องสำอาง และการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร

เพื่อให้เด็กมีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหาร ยา และเครื่องสำอาง และการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร

90.00
4 เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเกี่ยวกับการรับประทานยา

ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความปลอดภัยเกี่ยวกับการรับประทานยา

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 288 33,150.00 0 0.00
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ 20 7,300.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการแผงลอย 10 1,100.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 3,550.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 4. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการนักเรียน 208 14,400.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 5. กิจกรรมรณรงค์ No Foam No Plastic 0 6,800.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 6. ลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมร้านค้า ร้านชำ แผลลอย 0 0.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 7. กิจกรรมติดตามและประเมินผล 0 0.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)   ๑. สำรวจข้อมูลร้านค้า ร้านชำ แผลลอย     ๒. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
    ๓. ประสานทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลเทพา
  ๔. ชี้แจงโครงการและแผนการดำเนินงานแก่ผู้เกี่ยวข้องรับทราบซึ่งได้แก่ โรงเรียน อสม. เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร โรงพยาบาลเทพา และคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลลำไพล ขั้นดำเนินการ   ๑. จัดประชุมชี้แจง และจัดอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ   ๒.จัดประชุมชี้แจง และให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านค้าแผงลอย   3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เด็กนักเรียนในโรงเรียน   4. จัดประชุมชี้แจง และให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง   5. จัดกิจกรรมรณรงค์ No Foam No Plastic   6. ลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมร้านค้า ร้านชำ แผลลอย   7. ติดตามและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2563 15:21 น.