กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5192-1-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าไทร
วันที่อนุมัติ 4 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 124,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุณีย์ เหมหมัด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 5-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน สำหรับสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในตำบลลำไพล ในปี ๒๕62 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก และผู้ที่สงสัยไข้เลือดออก จำนวน 63 ราย อัตราป่วย 2๙๐.๙๑  ต่อประชากรแสนคน มาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
แต่ในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก  ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง
ทั้ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล  คลินิคเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลเทพา ศูนย์ ๓ และเทศบาล ในการดำเนินการเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมาตลอดทุกๆปี เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นการดำเนินการโดยภาคประชาชนและเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เกิดการมีส่วนร่วม เพื่อให้พื้นที่ตำบลลำไพล ปลอดจากปัญหาสุขภาพจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดจำนวน

ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ตำบลลำไพล น้อยกว่า ๕๐ ต่อแสนประชากร

50.00
2 ลดจำนวนแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

พื้นที่แหล่งน้ำที่มีน้ำขังเน่าเสียและมีลูกน้ำยุงลายลดจำนวนลง

95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 124,150.00 0 0.00
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 การจัดซื้อจัดจ้าง 0 102,150.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมพ่นหมอกควัน 0 22,000.00 -

1 จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการ เพื่อวางแผนงานการดำเนินโครงการตามแผนปฏิทินประจำปี ๒๕๖3 2 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เคมีน้ำมันดีเซลน้ำมันเบนซินสเปรย์ และโลชั่นเพื่อใช้ในกิจกรรม 3 พ่นหมอกควันในโรงเรียนทุกโรงเรียนในพื้นที่ ปีละ ๒ ครั้ง ก่อนเปิดภาคเรียน และพ่นหมอกควันในบ้านเรือนที่มีผู้ป่วยไข้เลือดออก และบ้านรอบรัศมี ๑๐๐ เมตร รายละ ๒ ครั้ง
4 แจกโลชั่นสำหรับผู้ป่วยไข้เลือดออกเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 5 ใช้ทรายอะเบตในการทำลายลูกน้ำยุงลาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ ลดลง 2.สภาพแวดล้อม บ้านเรือนสะอาดสวยงาม 3.ประชาชนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2563 09:00 น.