กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ รอมฎอนนี้ ห่างบุหรี่กัน
รหัสโครงการ 60-L8302-2-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.นักจัดการสุขภาพเพื่อ สปสช.มะรือโบตก
วันที่อนุมัติ 26 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 24 มิถุนายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 69,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูหมัด อีอาซา
พี่เลี้ยงโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลมะรือโบตก
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรงหลาย ๆ ประการที่มีผลรายงานวิจัยการรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ มุ่งให้มีการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากการงดบริโภคยาสูบหรือการหยุดสูบบุหรี่ จะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้ ของสมาชิกในครอบครัว และของผู้อื่นในสังคมดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและประเทศชาติในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่มีสาเหตุแห่งความเจ็บป่วยมาจากการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบ หรือการเลิกสูบบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มี “วันงดสูบบุหรี่โลก” (World No Tobacco Day) ขึ้นใน วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา โดยในปี พ.ศ.2560 นี้ องค์การอนามัยโลกได้ให้คำขวัญว่า "Tobacco - a threat to development" หรือ “บุหรี่ ภัยคุกคามต่อการพัฒนา” โดยให้ความสำคัญ 1. เพื่อแสดงถึงภัยคุกคามที่ธุรกิจยาสูบมีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของทุกประเทศ รวมถึงสุขภาพเศรษฐกิจและสุขภาวะของประชาชน 2. เพื่อเสนอมาตรการที่รัฐบาลและภาคประชาชนควรจะดำเนินการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการพัฒนาโดยการเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤตที่เกิดจากยาสูบ โดยมีเป้าหมายในการร่วมมือกันรณรงค์ต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ จัดกิจกรรมควบคุมการบริโภคยาสูบ และรณรงค์การลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เพื่อให้การต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ มีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง สัมฤทธิผล และนำไปสู่เป้าหมาย “สังคมไทยปลอดบุหรี่” ได้ในที่สุด ประกอบกับช่วงระหว่าง วันที่ 1 - 24 มิถุนายน 2560 ตรงกับเดือนรอมฎอนเป็นเทศกาลถือศีลอดของชาวมุสลิม จะงดการรับประทานอาหารและน้ำดื่มในช่วงเวลากลางวัน เนื่องในโอกาสนี้ ชมรม อสม.นักจัดการสุขภาพ ประเมินว่าสามารถที่จะสร้างกระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมการ ลดละ/เลิกบุหรี่ สร้างความรู้และความตระหนักตลอดจนสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายได้ในช่วงเวลานี้ รวมทั้งกระตุ้นชาวบ้านและเยาวชน ให้แสดงบทบาทของคนรุ่นใหม่อย่างชัดเจน ในการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการผลักดันให้ “ชุมชน ปลอดบุหรี่” อย่างแท้จริงได้ต่อไป ในอนาคตอันใกล้นี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อรณรงค์การลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ให้กับประชาชนทั่วไป

เกิดกิจกรรมการรณรงค์อย่างน้อย 1 กิจกรรม

2 2. เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักสนใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่

ร้อยละการเข้าร่วมในกิจกรรมลดละเลิกของประชาชน

3 3. เพื่อเชิญชวนประชาชนที่สูบบุหรี่ได้สมัครใจเข้าคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ เทศบาลตำบลมะรือโบตก

จำนวนผู้สนใจสมัครเข้าคลินิกช่วยเลิกบุหรี่

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อรณรงค์การลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ให้กับประชาชนทั่วไป

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักสนใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3. เพื่อเชิญชวนประชาชนที่สูบบุหรี่ได้สมัครใจเข้าคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ เทศบาลตำบลมะรือโบตก

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. วิธีดำเนินการ แบ่งเป็น 3 ขั้น ได้แก่
  2. ขั้นที่ 1 เตรียมการ 1.1 ติดต่ออิหม่ามประจำมัสยิดในพื้นที่ หรือที่ทำการชุมชน เพื่อขอพื้นใช้ที่จัดกิจกรรม ตรวจวัดปริมาณ CO2 ของประชาชนที่สูบบุหรี่ในพื้นที่ 1.2 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เรื่องบุหรี่และเอกสารแผ่นพับเพื่อแจกแก่ประชาชน
  3. ขั้นที่ 2 ดำเนินการ 2.1 จัดบูธกิจกรรมตามชุมชน ๆ มัสยิด ในพื้นที่ 2.2 เชิญชวนประชาชนและผู้ที่สนใจทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย 2.2.1 กิจกรรมเกมส์ตอบคำถามเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ เพื่อรับของรางวัล/ของที่ระลึก 2.2.2 กิจกรรมสันทนาการ 2.2.3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ เผยแพร่แนะนำโทษและอันตรายจากบุหรี่ การรณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ ให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป
  4. ขั้นที่ 3 ทำรายงานสรุปผลการดำเนินการโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนและประชาชนทั่วไป ผู้ที่สนใจโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ มีความตระหนักสนใจและมีส่วนร่วม ในการร่วมรณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่
  2. เยาวชนและประชาชนทั่วไป ผู้ที่สนใจโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ มีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น จากการเผยแพร่และแนะนำ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่
  3. เยาวชนและประชาชนทั่วไป ผู้ที่สนใจโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ เข้าเยี่ยมชมบูธ และร่วมลงชื่อเข้ารับบริการ คลินิคช่วยเลิกบุหรี่ ไม่น้อยกว่า 100 คน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2560 16:14 น.