กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ร้านอาหารร่วมใจปลอดโฟม ลดพลาสติก
รหัสโครงการ 63-L5192-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทพา
วันที่อนุมัติ 4 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 16,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมารีนา หลำสะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะบรรจุอาหาร ตั้งแต่ ปี 2557 กอปรกับจากข้อมูลรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 พบว่าในประเทศไทยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 3 ตามสถิติมีคนตายจากโรคมะเร็งประมาณวันละ 160 คน ปีหนึ่งๆตรวจพบผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 64,000 ราย ต่อปี และเสียชีวิตปีละประมาณ 30,000 ราย อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งในประเทศไทย ประมาณ 123.8 คน ต่อประชากร 100,000 คน ทั้งนี้ คนไทยอาจได้รับความเสี่ยงจากสารก่อมะเร็งหลายปัจจัย หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็งโดยเฉพาะจากภาชนะที่ใช้บรรจุอาหารประเภทโฟมชนิด  โพลิสไตลีน(Polystyrene) โดยจากรายงานผลสำรวจของศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ : Thai Civil Rights and Investigative Journalism) ในปี 2556 คนไทยนิยมนำกล่องโฟม(Polystyrene) มาใช้เพื่อการบรรจุอาหาร วันละไม่น้อยกว่า 138 ล้านกล่อง หรือเฉลี่ย 2.3 กล่อง/คน/วัน กล่องโฟมรวมถึงกล่องพลาสติกกลุ่ม PS: Polystyrene ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและใช้ในวัตถุประสงค์แตกต่างกัน แต่เป็นภาชนะที่ไม่เหมาะกับการบรรจุอาหารขณะร้อนจัด มีไขมัน และสัมผัสอาหารเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้สารเคมี ได้แก่ สไตรีน (Styrene) เบนซีน (Benzene) ที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิตโฟมและจัดอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็ง ปนเปื้อนสู่อาหารได้
กล่องโฟมรวมถึงกล่องพลาสติกกลุ่ม PS: Polystyrene จึงเป็นปัญหาสำคัญทั้งประเด็นความเสี่ยงต่อสุขภาพ และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการย่อยสลายที่ต้องใช้เวลายาวนาน ประเทศไทยได้กำหนดแผนการจัดการขยะแห่งชาติ ในช่วงปี พ.ศ.2562 – 2570 โดยกำหนดกรอบระยะเวลาในการเลิกใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ถุงหูหิ้วแบบบาง แก้วน้ำและหลอดพลาสติก แบบใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastic) ภายในปี พ.ศ 2565 ในขณะที่จังหวัดสงขลา ได้มีนโยบายขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัด 12 วาระ โดยวาระที่ 1 ประเด็น 3 กำหนด “สงขลาร่วมใจใช้ถุงผ้า ปลอดกล่องโฟม ลดพลาสติก” ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2562 และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทพา ได้ดำเนินการรณรงค์เสริมสร้าง “องค์กร/ชุมชนปลอดโฟม” มาตั้งแต่ปี 2558 – 2562 สามารถเสริมสร้างหน่วยงาน/องค์กร/ชุมชน ผ่านเกณฑ์ “ปลอดโฟม” ได้รวมถึง 86 แห่ง แต่อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมไปถึงร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยพบว่าจากจำนวนร้านและแผงลอยจำหน่ายอาหารทั้งหมด 217 ร้าน จำนวนร้านที่เลิกใช้โฟมบรรจุอาหาร มีเพียง 53 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 24.42 อีกทั้งผู้ประกอบการส่วนใหญ่หันมาเลือกใช้ภาชนะประเภทพลาสติกแทน ซึ่งมีการใช้พลาสติกที่ไม่ถูกประเภท ยังส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม มีเพียงส่วนน้อยที่หันมาใช้ภาชนะที่ย่อยสลายง่าย เช่นกล่องกระดาษ หรือวัสดุจากธรรมชาติ ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทพาจึงได้จัดทำโครงการร้านอาหารร่วมใจปลอดโฟม ลดพลาสติกปี 2563 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเชิญชวนให้ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารสมัครเข้าร่วมโครงการ

จำนวนร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมปลอดโฟม ลดพลาสติก ในการบรรจุอาหาร

50.00
2 เพื่อขยายพื้นที่ ปลอดโฟม ลดพลาสติก ในร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร

จำนวนร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ผ่านเกณฑ์ ปลอดโฟม ลดพลาสติก

25.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 131 16,710.00 0 0.00
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรม เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 111 12,210.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรม จัดพิธี MOU 20 500.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 มอบแผ่นป้ายรณรงค์ร้านอาหารปลอดโฟม ลดพลาสติก,แก่ร้านอาหารที่เข้าร่วมMOU 0 4,000.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติ
2. เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ โดยอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เครือข่ายสุขภาพอำเภอเทพา ร่วมกับ อสม.ในพื้นที่ แจกแผ่นพับความรู้ ,ประกาศอำเภอเทพา เรื่อง ขอความร่วมมือใช้บรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัย พร้อมทั้งเชิญชวนให้ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารสมัครเข้าร่วมโครงการ
3.จัดพิธี MOU โดยผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ เข้าร่วมทำพิธี MOU เพื่อทำข้อตกลง ร่วมมาตรการร้านอาหารปลอดโฟม ปลอดพลาสติก ,และร่วมอบรมให้ความรู้การเลือกใช้ภาชนะทดแทนโฟม ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
4.มอบแผ่นป้ายรณรงค์ร้านอาหารปลอดโฟม ลดพลาสติกแก่ร้านอาหารที่เข้าร่วมMOU 5.ลงพื้นที่ประเมินการดำเนินงานของร้านอาหารเข้าร่วมโครงการ 6.สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ผ่านเกณฑ์ปลอดโฟม ลดพลาสติก เป็นแบบอย่างในการเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ ร้านและแผงลอยจำหน่ายอาหารอื่นๆ
2.ผู้บริโภคตระหนักถึงการเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3.ขยะโฟมในเทศบาลตำบลลำไพลมีปริมาณลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2563 09:58 น.