กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับปรุงแก้ไขภาวะทุพโภชนาการเด็กแรกเกิด-72 เดือน
รหัสโครงการ 60-L2496-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2559 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมัน กาเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือนเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกาย และสมองอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นวัยที่ต้องวางรากฐานชีวิตให้มีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ภาวะโภชนาการของเด็กทั้งการขาดสารอาหารและได้รับสารอาหารเกินเป็นดัชนีบ่งชี้ที่ดีของการสาธารณสุขที่จะส่งผลเสียทั้งด้านสุขภาพ สติปัญญา การเรียนรู้และการเกิดโรคเรื้อรังเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงหากมีแนวโน้มการเจริญเติบโตไม่ดี
จะต้องหาทางแก้ไขและป้องกันเพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน ในตำบลจอเบาะ พบว่า ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ มีเด็กที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน ๒๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๙๐ ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ จำนวน ๑๑คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๖๖ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ จำนวน ๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๕๗ ตามลำดับ ซึ่งเพิ่มขึ้นทุกปีและจากการวิเคราะห์สาเหตุการขาดสารอาหาร พบว่า สาเหตุส่วนใหญ่ ๕ อันดับแรก คือ
๑. เด็กกินอาหารปริมาณน้อยกว่าเด็กวัยเดียวกัน ๒. เด็กชอบกินขนมกรุบกรอบ และกินเกือบทุกวัน ๓. เด็กกินอะไรก็ได้ ขอให้กินอิ่มหรือไม่หิว ๔. เด็กเจ็บป่วยหรือไม่สบายบ่อยๆ เช่นเป็นหวัด ไอ ๕. พ่อ แม่ รายได้น้อย ทำให้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในตำบลจอเบาะยังไม่ดีขึ้นและเป็นปัญหาเรื้อรังมาเป็นระยาเวลานาน ทั้งนี้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็ก จึงมีนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพเด็กแรกเกิด- ๗๒ เดือน โดยการกำหนดตัวชี้วัด คือ ร้อยละของเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือนมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายและคงไว้ซึ่งการทำงานเพื่อบรรลุตัวชี้วัดดังกล่าว รพ.สต.จอเบาะ จึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงแก้ไขภาวะทุพโภชนาการเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ขึ้น เพื่อให้เด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) ได้รับการแก้ไขปัญหาและมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นและมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้เด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือนที่มีภาวะทุพโภชนาการ(น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์)มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน

 

2 ๒.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) มีความรู้เรื่องการดูแลบุตรและสามารถประเมินพัฒนาการตามวัยได้อย่างถูกต้อง

 

3 ๓.เพื่อให้เด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) ได้รับการแก้ไขปัญหาและ มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

 

4 ๔.เพื่อให้เด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์)มีพัฒนาการสมวัย

 

5

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. กำหนดนโยบายและกิจกรรม ๒.จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓.ชี้แจงรายละเอียดโครงการให้ อสม.แต่ละหมู่บ้าน ๔. ชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่ผู้ปกครองเด็ก แรกเกิด – ๗๒ เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) ๕. อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) เรื่อง กิน กอด เล่น เล่า และการประเมินพัฒนาการตามวัยเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน
๖. จ่ายนม / ยาถ่ายพยาธิ / วิตามิน / ยาเสริมธาตุเหล็ก ให้กับเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
๗. ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ๘. สรุปความก้าวหน้าเด็กที่มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น ๙. รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน
ร้อยละ 70 ๒.ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) มีความรู้เรื่องการดูแลบุตร และสามารถประเมินพัฒนาการตามวัยได้อย่างถูกต้อง ๓.เด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) ได้รับการแก้ไขปัญหาและมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น ๔.เด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์)มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 95

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2560 18:02 น.