กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 63-L5192-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายสถานศึกษาตำบลลำไพล
วันที่อนุมัติ 4 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 49,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนายสมเกียรติ ฤทธิศักดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากของเด็กมีความสัมพันธ์กับสุขภาพโดยรวมของเด็ก การที่เด็กมีสภาวะช่องปากไม่ดี จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของเด็กได้ โดยเมื่อเด็กมีโรคฟันผุลึกหรือฟันผุลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ มีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร และสภาพจิตใจ เนื่องจากอาการปวดฟันจะทำให้เด็กเกิดความเครียดทางอารมณ์ หงุดหงิดง่าย มีความวิตกกังวล เสียบุคลิกภาพและขาดความมั่นใจในการพูดคุย และยังจะส่งผลกระทบต่อครอบครัวและประเทศชาติด้วย เนื่องจากผู้ปกครองต้องเสียเวลาในการประกอบภารกิจการงาน ทำให้ขาดรายได้ และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่มีมูลค่าสูง นอกจากนี้เมื่อมีฟันผุจนลุกลามเกิดเป็นการติดเชื้อที่รุนแรงขึ้นก็อาจจะส่งผลให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตของเด็กได้
    จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 โดยสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า กลุ่มเด็กอายุ 12 ปี มีประสบการณ์โรคฟันแท้ผุร้อยละ 52.0 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 1.4 ซี่ต่อคน มีภาวะเหงือกอักเสบ ร้อยละ 66.3 สำหรับอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก ในปี พ.ศ. 2562 พบว่า เด็กอายุ 12 ปี มีโรคฟันผุร้อยละ 53.5 ซึ่งยังสูงกว่าในระดับประเทศเล็กน้อย แต่มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 1.3 ซี่ต่อคน ซึ่งใกล้เคียงกับในระดับประเทศ และเมื่อพิจารณาในอำเภอเทพา พบว่าตำบลลำไพลเป็นพื้นที่ที่เด็กอายุ 12 ปี มีฟันผุที่ร้อยละ 55.6 ซึ่งยังสูงกว่าในระดับประเทศ หลังจากดำเนินโครงการเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีตำบลลำไพล ปี 2562 มีการเข้าถึงบริการทางทันตกรรมมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าสุขภาพช่องปากนักเรียนดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบร้อยละของนักเรียนชั้น ป.6 ปราศจากโรคฟันผุ (Caries free) ปี 2561 ร้อยละ 39.2 และเพิ่มขึ้นในปี 2562 50.3 ตามลำดับ
เปรียบเทียบร้อยละนักเรียนชั้น ป. 6 ไม่มีเหงือกอักเสบระดับตำบลลำไพล 80.2 ซึ่งต่ำกว่าระดับอำเภอเทพาร้อยละ 77.7 อย่างไรก็ตามยังสูงกว่าระดับจังหวัดสงขลาร้อยละ 83.8 จึงจำเป็นต้องส่งเสริมเรื่องสุขภาพช่องปาก ให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ มุ่งหวังให้เด็กแปรงฟันได้อย่างสะอาด สม่ำเสมอจนเป็นกิจวัตร ผู้ปกครองสามารถให้คำแนะนำและกวดขันที่บ้าน ควบคู่กับการดูแลของคณะครูที่โรงเรียรอย่างเป็นระบบ ตลอดจนเข้าถึงการรับบริการที่เหมาะสมต่อไป     โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคในช่องปาก คือ พฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่เหมาะสม และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม ลูกอม ขนมกรุบกรอบ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามกระแสนิยม การมีโรคฟันผุเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเด็กวัยประถมศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุสูง เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มมีฟันแท้ขึ้นมาในช่องปาก สภาวะช่องปากของเด็กในกลุ่มนี้สามารถสะท้อนการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น นักเรียนจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการสร้างเสริมพฤติกรรมและสร้างสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการร่วมกันทั้งภาคการศึกษา ภาคสาธารณสุข และภาคประชาชน สอดคล้องกับการที่สำนักทันตสาธารณสุขได้สนับสนุนให้เกิดการรวมตัวของโรงเรียนในรูปของเครือข่ายภายใต้ชื่อ “เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี” ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเครือข่ายและขยายผลแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน เน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระบบพี่เลี้ยงในการทำงาน โดยใช้ประเด็นทันตสุขภาพเป็นประเด็นนำ มุ่งหวังให้มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนอย่างยั่งยืน และส่งผลให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนของเครือข่ายสถานศึกษาตำบลลำไพล สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เครือข่ายสถานศึกษาลำไพลซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนบ้านแม่ที โรงเรียนบ้านลำไพล โรงเรียนลำไพลราษฎร์อุทิศ โรงเรียนบ้านลำเปา โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์ โรงเรียนบ้านท่าไทร โรงเรียนวัดปริก และโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายในภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งมีแนวคิดร่วมกันที่จะดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนในรูปแบบของเครือข่ายภายใต้ชื่อ “เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา” จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีระบบพี่เลี้ยงในการทำงาน และเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและของคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน นำไปสู่การมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายมีกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน และมีการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการมีทันตสุขภาพที่ดี

โรงเรียนในเครือข่ายจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครอบคลุมทุกชั้นเรียน และปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ
ลูกอม ไอศกรีม และเครื่องดื่มรสหวาน (น้ำตาลไม่เกิน 5%)

100.00
2 เพื่อให้ผู้บริหาร และผู้ปกครอง ได้ทราบข้อมูลสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียน และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการควบคุมดูแลพฤติกรรมทันตสุขภาพของเด็ก

โรงเรียนในเครือข่ายมีระบบการคืนข้อมูลสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนแก่ผู้บริหารและผู้ปกครอง และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการควบคุมดูแลและบันทึกการแปรงฟันก่อนนอนของเด็กตามแบบบันทึก

95.00
3 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานระหว่างโรงเรียนในเครือข่ายและนอกเครือข่าย

มีการสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการติดต่อประสานงาน การติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่การดำเนินงานแก่บุคคลทั้งภายในและภายนอกเครือข่าย มีการจัดรณรงค์และประกวดผลงานวิชาการด้านทันตสุขภาพในเครือข่าย อย่างน้อย 1 ครั้ง

0.00
4 เพื่อให้นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก

เด็กนักเรียนชั้น ป.1-ป.6 มีความรู้เพิ่มขึ้น

80.00
5 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับบริการส่งเสริม ป้องกัน และรักษาทางทันตกรรมที่เหมาะสม

เด็กนักเรียนชั้น ป.1-ป.6 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ได้รับทันตสุขศึกษา และฝึกทักษะการแปรงฟัน เด็กนักเรียนชั้น ป.1-ป.6 ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้รับการรักษาทางทันตกรรม

75.00
6 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพที่เหมาะสม

นักเรียนชั้น ป.1-ป.6 แปรงฟันก่อนนอนทุกคืน นักเรียนชั้น ป.1-ป.6 แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน นักเรียนชั้น ป.1 –6 รับประทานอาหารว่างไม่เกิน 2 ครั้งต่อวัน (ไม่นับรวมนมโรงเรียน)

50.00
7 เพื่อนักเรียนมีสภาวะสุขภาพ ช่องปากที่ดีขึ้น
  1. ร้อยละ 60 ของเด็กนักเรียนชั้น ป.1-ป.6 ปราศจากโรคฟันแท้ผุ
  2. ร้อยละ 75 ของนักเรียนชั้น ป.1-ป.6 ฟันดีไม่มีผุ (cavity free)
  3. ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้น ป.1-ป.6 ไม่มีสภาวะเหงือกอักเสบ
  4. ร้อยละ 45 ของเด็กนักเรียนชั้น ป.6 ปราศจากโรคฟันแท้ผุ
  5. ร้อยละ 75 ของนักเรียนชั้น ป.6 ฟันดีไม่มีผุ (cavity free)
  6. ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้น ป.6 ไม่มีสภาวะเหงือกอักเสบ
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 49,000.00 0 0.00
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 ประกาศนโยบายส่งเสริมทันตสุขภาพเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีตำบลลำไพล 0 0.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน 0 1,200.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการดูลแลสุขภาพช่องปาก 0 40,000.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 ตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนโดยทันตบุคลากร 0 0.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้ครูและนักเรียนเรื่องสุขภาพช่องปาก 0 3,600.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมแปรงฟันตอนเช้าและก่อนนอนบันทึกโดยผู้ปกครอง 0 3,600.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดประชุมเพื่อวางแผนและติดตามการดำเนินงาน 0 0.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการติดต่อประสานงาน และการติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์ 0 0.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 สำรวจและเก็บข้อมูลทันตสุขภาพของเด็กนักเรียน 0 300.00 -
25 ส.ค. 63 สรุปผลการดำเนินงาน 0 300.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมคณะทำงานเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีตำบลลำไพล ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนจากเครือข่ายสถานศึกษาตำบลลำไพล ร่วมกับตัวแทนภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งจากภาคการศึกษา ภาคสาธารณสุข และภาคประชาชน เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ
2. สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการติดต่อประสานงาน และการติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์ 3. สำรวจและจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในโรงเรียนให้ครอบคลุมทุกชั้นเรียน (รวมถึงการจัดสถานที่แปรงฟันให้เหมาะสม) โดยมีครูประจำชั้น หรือแกนนำนักเรียนคอยกำกับดูแลความเรียบร้อย
4. สำรวจและเก็บข้อมูลการแปรงฟันก่อนนอนที่บ้าน ข้อมูลการบริโภคอาหารว่างและการควบคุมการบริโภคอาหารว่างที่เสี่ยงต่อฟันผุในโรงเรียน 5. สำรวจและเก็บข้อมูลทันตสุขภาพของเด็กนักเรียนโดยครูและทันตบุคลากร และคืนข้อมูลแก่ผู้บริหารและผู้ปกครอง
6. ให้บริการส่งเสริม ป้องกัน และรักษาทางทันตกรรมที่เหมาะสมแก่เด็กนักเรียน โดยทันตบุคลากร 7. ประชุมผู้ปกครองเพื่อชี้แจงการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน และให้ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ 8. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพให้แก่ครูและนักเรียน 9. จัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพให้ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน 10. จัดรณรงค์และประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเครือข่ายและนอกเครือข่าย 11. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรงเรียนในเครือข่ายมีกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน และมีการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการมีทันตสุขภาพที่ดี ได้แก่ การจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครอบคลุมทุกชั้นเรียน การจัดสถานที่แปรงฟันให้เหมาะสม การจัดให้โรงเรียนปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ไอศกรีม และเครื่องดื่มรสหวาน (น้ำตาลไม่เกิน 5%) การจัดอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการและจัดอาหารว่างที่เหมาะสมให้นักเรียน การบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน การจัดทำโครงงาน/นวัตกรรม/งานวิจัยด้านทันตสุขภาพ และมีระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนครอบคลุมทุกชั้นเรียน
  2. ผู้บริหาร และผู้ปกครอง ได้ทราบข้อมูลสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียน
  3. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานระหว่างโรงเรียนในเครือข่ายและนอกเครือข่าย
  4. เกิดเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อง่ายต่อการติดต่อประสานงาน การติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์
  5. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและเด็ก
  6. เด็กนักเรียนได้รับบริการส่งเสริม ป้องกัน และรักษาทางทันตกรรมที่เหมาะสม
  7. เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพที่เหมาะสม
  8. เด็กนักเรียนมีสภาวะสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2563 12:39 น.