กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยาวชนร่วมใจ ต้านภัยยาเสพติด โรคเอดส์ และ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
รหัสโครงการ 60-L4147-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม TO BE NUMBER ONE ตำบลบาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 12 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลรอซะยะยา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.527,101.153place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีทรงมีพระดำริให้มีโครงการTO BE NUMBER ONEในสถานศึกษาทั่วประเทศ และหน่วยงาน องค์กร ชุมชนต่าง ๆ ตามพระปณิธาน "ทุกคนเป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด" โดยมีการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ ปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา และพัฒนา EQ จนเป็นที่สนใจในกลุ่มเยาวชน ทำให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างมาร่วมกิจกรรมอันเปิดโอกาสให้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ซึ่งทำให้เยาวชนที่มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ได้พัฒนาความสามารถในด้านที่ตนถนัดด้วยกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางด้านกีฬา ดนตรี และการช่วยเหลือสังคม ประกอบกับปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ ในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะในเขตชุมชน รวมทั้งพื้นที่ที่มีสถานบริการ และแหล่งมั่วสุม อบายมุขต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ต ร้านเกมส์ เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มอายุ6 - 24 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ มีพัฒนาการทางร่างกาย ด้านจิตใจและมีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือมีสิทธิทางกฎหมายในเรื่องต่างๆวัยรุ่นเป็นวัยอยากรู้ อยากเห็น และอยากทดลอง ต้องการการยอมรับจากเพื่อน จึงเป็นกลุ่มเสี่ยง ที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด การรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การท้องไม่พร้อม เพื่อจะได้รู้จักการหลีกเลี่ยงจากปัญหาดังกล่าว จากรายงานสถานการณ์ปัญหายาเสพติด สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส) กล่าวว่า จากข้อมูลสถิติปี พ.ศ. 2559 สำนักงาน ป.ป.ส ได้ประมาณตัวเลขของผู้ที่มีพฤติการณ์เกี่ยวกับยาเสพติดไว้ที่ 1.2 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรของคนไทยที่มีประมาณ 65 ล้านคน ถือเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.93 พูดได้ว่าในจำนวนประชากรทุกๆ 100 คน จะมีผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดถึง 3 คน และ จากข้อมูลการเข้าบำบัดรักษาของประชาชนตำบลบาโงยซิแน พบว่า ปี 2555 มีผู้เข้ารับการบำบัด 29 ราย ปี 2556มีผู้เข้ารับการบำบัด 30 ราย ปี 2557มีผู้เข้ารับการบำบัด 1 ราย ปี 2558มีผู้เข้ารับการบำบัด 15 ราย และปี 2559มีผู้เข้ารับการบำบัด 2 รายจึงจำเป็นจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น เพื่อป้องกันมิให้เยาวชนกลุ่มเสี่ยง ไปมั่วสุมกลับไปมีพฤติกรรมซ้ำสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข และจากการทำเวทีประชาคม ประชาชนได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นลำดับต้นๆ โดยเฉพาะการป้องกันในกลุ่มเยาวชน ซึ่งจะเป็นกำลังของชาติในอนาคต จากการศึกษาภายใต้การสนับสนุนจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) เปรียบเทียบข้อมูลปี ๒๕๔๙ กับ ๒๕๕๑ พบสถิติแม่วัยรุ่นไทยอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี กลับมีการตั้งท้องสูงถึง ๑๕๐,๐๐๐ คน กลายเป็นตัวเลขสูงสุดอันดับ ๑ ในเอเชีย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี ๒๕๕๗พบสถิติอัตราการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่นเทียบกับจำนวนประชากรที่ตั้งครรภ์และคลอดสูงถึง ๗๐ คนต่อประชากร ๑,๐๐๐ คนซึ่งสถิตินี้ถือว่าสูงกว่าที่ทางองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ ที่จะต้องมีไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของการตั้งครรภ์ของหญิงทั่ว ศ.ดร.ศิริพร จิรวัฒน์กุล ได้ศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม โดยสำรวจหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลศูนย์ใน ๗ จังหวัด จำนวน ๓,๑๑๔ พบว่า แม่วัยใสส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุ ๑๕ ปีมากที่สุดและตั้งครรภ์ที่อายุน้อยที่สุด คือ ๑๒ ปีแม่วัยใสส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด ๑๒.๕%ซึ่งการตั้งครรภ์ส่งผลให้แม่วัยใสต้องพักการเรียน/ไม่ได้เรียน ๗๐.๓% ส่วนใหญ่ไม่คุมกำเนิดในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ๓๓.๙% ส่วนวิธีการคุมกำเนิดที่ใช้มากที่สุดคือถุงยางอนามัย ๒๗.๔%โดยภาคใต้ใช้ถุงยางอนามัยน้อยที่สุด รองลงมาคือ ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน ๑๘.๕%และพบว่าส่วนใหญ่ไม่ตั้งใจตั้งครรภ์ถึง ๗๐%
ปัญหาโรคเอดส์ในวัยรุ่นก็เป็นอีกปัญหาที่น่าสนใจและน่าเป็นห่วง ราว ๖๐,๐๐๐ คนที่กำลังติดเชื้อเอดส์มาจากพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ โดยขาดการป้องกันและเป็นสาเหตุการตายของวัยรุ่นในลำดับที่ 2 รองจากอุบัติเหตุ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ก็มีอุบัติการณ์มากในวัยรุ่นเช่นกัน ดังนั้น ชมรม TO BE NUMBER ONEตำบลบาโงยซิแน ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน, องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน แกนนำชุมชน และชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาโงยซิแน ได้ตระหนักถึงอันตรายของปัญหายาเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 6-24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นกำลังสำคัญของชุมชนในอนาคต จึงได้ดำเนินการควบคุมและป้องกัน ตามนโยบายและแนวทางของจังหวัดยะลา มาโดยตลอด แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหาอยู่มาก ทั้งด้านความจำกัดในทรัพยากร ลักษณะทางภูมิศาสตร์ วิธีการจัดการ การรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นผลให้การปัญหาดังกล่าว ไม่ได้ประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ การแก้ไขต้องกระทำร่วมกัน ในภาพรวมพหุภาคี ทั้งภาครัฐ ประชาชน รวมทั้งภาคเอกชนควบคู่กันไป ที่สำคัญที่สุดให้ประชาชนและเยาวชนในชุมชนมีบทบาทอย่างเต็มที่ ในการป้องกันปัญหาของชุมชนเอง โดยยึดแนวดำเนินการตามโครงการTO BE NUMBER ONE มาเติมเต็มจึงได้จัดทำโครงการเยาวชนร่วมใจ ต้านภัยยาเสพติด โรคเอดส์ และ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปี 2560 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในเรื่องยาเสพติด และการป้องกันยาเสพติด โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

เยาวชนมีความรู้ในเรื่องยาเสพติด และการป้องกันยาเสพติด โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในระดับดี ร้อยละ 80

2 เพื่อสนับสนุนเยาวชน ให้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ต้านภัยยาเสพติดโดยการสนับสนุนของสังคม
  1. เยาวชน จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ต้านภัยยาเสพติด จำนวน 2 กิจกรรม
  2. จัดนิทรรศการในศูนย์เพื่อนใจTO BE NUMBER ONE
3 เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษาปลอดภัยจากยาเสพติด โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

นักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษาปลอดภัยจากยาเสพติด โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ร้อยละ 100

4 เพื่อสร้างกระแส ค่านิยมและสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจในเยาวชน ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
  1. เกิดการดำเนินงาน ชมรม TO BE NUMBER ONE ในโรงเรียนประถมศึกษา ร้อยละ 100
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เยาวชน และสมาชิก TO BE NUMBER ONE ชุมชนบาโงยซิแนเพื่อให้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติ และถ่ายทอดให้แก่สมาชิกในโรงเรียน และชุมชน
     จัดทำเนื้อหาหลักสูตร เน้น ความรู้เรื่องยาเสพติด โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และบทบาทหน้าที่ของสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE
     ประสานวิทยากร และหากลุ่มเป้าหมายในการอบรม จำนวน 300 คน  จัดเตรียมวัสดุการอบรม และเตรียมสถานที่ ดำเนินการอบรมตามตารางอบรมจำนวน 2 รุ่นๆละ 2 วัน  สรุปผลการอบรม
  2. จัดทำสื่อความรู้ ไวนิล แผ่นพับ โฟมบอร์ด ในเรื่อง การดำเนินกิจกรรมของ ชมรม TO BE NUMBER ONEยาเสพติด. โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
  3. จัดทำนิทรรศการในศูนย์เพื่อนใจTO BE NUMBER ONE
  4. การฝึกทักษะและ เล่นกีฬาฟุตบอลในเยาวชน
  5. สนับสนุนกิจกรรม ชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาในพื้นที่ และร่วมเป็นเครือข่ายในสถานประกอบการ
  6. รณรงค์ และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันยาเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ให้รู้จักการป้องกันตนเองให้ถูกวิธี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  7. ตัวแทนเยาวชน TO BE NUMBER ONEร่วมกิจกรรมประกวดชมรม TO BE NUMBER ONE ในระดับประเทศ ที่ จ.นนทบุรี
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการป้องกันปัญหายาเสพติด โรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยควร และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในโรงเรียน และชุมชน
  2. ผู้นำชุมชนมีศักยภาพในการเป็นแกนนำต้านภัยยาเสพติดโรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในชุมชนได้
  3. ชุมชนมีความเข้มแข็งและปลอดจากยาเสพติด โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์อย่างยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2560 09:29 น.