กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนร่วมใจป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มีนาคม 2563 - 30 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 89,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.973,99.85place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 ก.ย. 2563 30 ธ.ค. 2563 10 ก.ย. 2563 30 ธ.ค. 2563 89,440.00
รวมงบประมาณ 89,440.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำหรือที่เรียกว่าขยะได้ทุกชนิด พื้นที่เขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านทุ่งไหม้ ตำบลน้ำผุด.เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล 5 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เป็นไข้เลือดดังนี้คือ ปี พ.ศ.2558 จำนวน 32 ราย  พ.ศ.2559 จำนวน 129 ราย พ.ศ. 2560 จำนวน 5 ราย พ.ศ. 2561 จำนวน 25 ราย พ.ศ. 2562 จำนวน 22 ราย ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญจึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่องกันไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และกำจัดตัวแก่ยุงลาย

2.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ( HI , CI )  ไม่เกินร้อยละ 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 89,440.00 2 89,440.00
1 ม.ค. 63 - 30 เม.ย. 63 จัดเตรียมสื่อความรู้ ไข้เลือดออกให้สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน เช่น ศาลาประจำหมู่บ้าน มัสยิด และรพ.สต. 0 8,640.00 8,640.00
1 เม.ย. 63 - 30 มิ.ย. 63 ให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่ครัวเรือนและการค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ลูกยุงลายและการกำจัดแหล่งที่ถูกวิธี 200 80,800.00 80,800.00
  1. ประชุมชี้แจงคณะทำงานโครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยโรคติดต่อ ปี 2563   2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. ศาสนสถาน โรงเรียน ชุมชน รพ.สต. และอื่นๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ   3. ดำเนินการประชาสัมพันธ์และอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้แกนนำประจำครอบครัว   4. จัดทำสื่อป้ายประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้  ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย   5. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับโรงเรียน แกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุข โดยวิธี ทางกายภาพ รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชนร่วมโรงเรียน  พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียน ใช้สารเคมี ใส่สารเคมี ทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียน โดยอสม. และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในพื้นที่เสี่ยง และพื้นที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาด ทางชีวภาพ ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชน  เกี่ยวการปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง   6. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สามารถควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างต่อเนื่องและทันเวลา

2 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลน้ำผุดลดลง

3.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2563 23:20 น.