กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสมุนไพรในครัว นวดตัวแก้เข็ด ปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มีนาคม 2563 - 30 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 61,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.973,99.85place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 ก.ย. 2563 30 ธ.ค. 2563 61,200.00
รวมงบประมาณ 61,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่ประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีนิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพซึ่งเน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล้านี้ส่งผลภูมิปัญญาและองค์ความรู้ดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่นับวันจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งๆ ที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทย ทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการรักษาโรค ตลอดจนสังคม วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต ฯลฯ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้ ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ของสมุนไพร จึงได้จัดทำโครงการสมุนไพรในครัว นวดตัวแก้เข็ด ขึ้นเพื่อต้องการสืบทอดภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมา และนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายหาได้ใกล้บ้านและปลอดภัยจากสารเคมีต่างๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพ มีความรู้เรื่องประโยชน์ของสมุนไพรและสามารถถ่ายทอดให้บุคคลอื่นได้

1.ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพมีความรู้ประโยชน์ของสมุนและสามารถถ่ายทอดให้บุคลอื่นได้

0.00
2 2 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพปลูกและใช้สมุนไพรในครัวดูแลสุขภาพของตนเองได้

2.ร้อยละ 20  ของครัวเรือนแต่ละหมู่บ้าน มีการปลูกและใช้สมุนไพร อย่างน้อย 3 ชนิด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพ มีความรู้เรื่องประโยชน์ของสมุนไพรและสามารถถ่ายทอดให้บุคคลอื่นได้

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพปลูกและใช้สมุนไพรในครัวดูแลสุขภาพของตนเองได้

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 เม.ย. 63 - 31 พ.ค. 63 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมในการปลูกและใช้สมุนไพรในครัว มาใช้ประโยชน์แก่แกนนำสุขภาพครอบครัว จำนวน 200 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 100 คน 200.00 61,200.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นเตรียมการ
1.เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ
2. แจ้ง – ประสาน อสม. ประชาสัมพันธ์ กำหนดการดำเนินงาน ในชุมชน 3. จัดเตรียมอุปกรณ์ใช้ในการจัดอบรม 4. จัดเตรียมสถานที่ในการอบรม ขั้นดำเนินการ
1จัดประชุมเตรียมการ
2จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยงกับประโยชน์ของสมุนไพร
3 สาธิตและฝึกปฏิบัติการทำน้ำมันนวดสมุนไพร และลูกประคบ
4สรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 แกนนำสุขภาพมีความรู้เรื่องประโยชน์ของสมุนไพรและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2 แกนนำสุขภาพใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ได้เข้ากลุ่มเปิดโอกาสทางสังคม
3 ส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพด้านการใช้พืชสมุนไพรในชีวิตประจำวัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2563 23:28 น.