กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเด็กในโรงเรียน เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ
รหัสโครงการ 60-L2506-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ
วันที่อนุมัติ 4 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 37,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปาดีละฮ์ สาและ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.172,101.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 442 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคใช่องปากเป็นปัญหาที่พบในประชากรทุกกลุ่มอายุ แม้เป็นดรคที่ไม่ผลอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต แต่มักเป็นเหตุแรกๆที่ทำให้เกิดความรำคาญ ทั้งยังมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพด้นร่างกายและจิตใจโดยรวมอีกด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มต้นเรียนรู้ เด็กที่มีรสุขภาพดี จะสามารถเรียนรู้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ดี และเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป ในทางตรงกันข้าม เด็กที่มีอาการปวดฟันบ่อย มักไม่มีสมาธิในการเรียน ขาดเรียนบ่อย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของด็กในอนาคตต่อดป การดำเนินงานบูรณาการงานส่งเสริมป้องกัน และเฝ้าระวังงานทันตสาธารณสุขจึงมีความสำคัญอย่างมากในการลดอัตราการเกิดโรคฟันผุ แม้จะมีการสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมและทันตกรรมป้องกันอย่างเป็นรูปธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา ได้แก่ การตรวจสภวะช่วงปาก การเคลือบฟลูออไรด์วานิชการเคลือบหลุมร่งฟัน และการบิการทันตกรรมแบบผสมผสาน (Comprehensive Care) แต่จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของนักเรียนนราธิวาส เมื่อปี 2552 - 2555 พบว่า ภาพรวมทั้งจังหวัด ผลงานยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ปัญหาทันตกรรมในเด็กอายุ 0 - 12 ปี ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอปีการศึกษา 2559 พบว่ามีฟันแท้ผุถึงร้อละ 85.01 ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขาพตำบลบองอ ได้เล็งเห็นถึงปัญหา และความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเพื่อลดอัตราการเกิดโรค เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้นักเรียน ครู และผู้ปครองเด็ก ได้ตระหนักและมีส่วนร่มในการแก้ไขปัญหาทงทันตสุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากให้เด็กนักเรียนและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

มีการจัดกิจกรรมแรงฟนและควบคุมการบริโภคหวานใน ศพด. โรงเรียนทุกแห่ง

2 เพื่อสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่าย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เกิดการขับเคลื่อนสังคมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนปฐมวัยและปฐมวัย
  1. มีคณะกรรมการ มีเครือข่ายหรือทีมสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก มีนโยบายสาธรณะด้านสุขภาพช่องปากในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
3 เพื่อเสริมสร้างทัศนคติที่ดีของผู้ปกครองในการดูแลความสะอาดของช่องปากบุตร

มีการจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างกระแส หนูน้อยฟันดี ในชุมชนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

4 เพื่อลดโรคฟันผุในกลุ่มเด็กก่อนปฐมวัยและวัยเรียน
  1. มีข้อมูลสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 3 ปี 5 ปี และ 12 ปี แต่ละกลุ่มอายุไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  2. ร้อยละ 90 ของเด็กอายุ 12 ปีแปรงฟันสะอาด 3.ร้อยละ 80 ของเด็ก 3 ปี 5 ปี ไม่บริโภคนมเปรี้ยว นมรปรุงแต่ง ลูกอม
  3. ร้อยละ 70 ของเด็ก 12 ปี ไม่บริโภคน้ำอัดลม ลูกอม
  4. ร้อยละ 50 ของเด็ก 12 ปี ที่มีฟันผุได้รับการรักษาทางทันตกรรม
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดโครงกาเสนอขอความเห็นชอบ ส่งให้กองทุนสุขภาพตำบลบองอ
  2. ทำารสำรวจข้อมูลสภาวะสุขภาพช่องปาก ดังนี้
    • กลุ้มเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
    • กลุ่มเด็กวัยเรียน
  3. กิจกรรม ตรวจสภาวสุขภาพช่วงปาก
    • ตรวงจฟัน ทาฟลูออไรด์วานิช อุดฟันอย่างง่าย และให้ทันตสุขศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนใน ศพด. ร.ร.ปีละ 2 ครั้ง
    • ให้บริการทันตกรรมแก่เด็กนักเรียนประถมศึกษาในรายที่มีปัญหา เช่น อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินน้ำลาย ฯลฯโดยทันตบุลากร
    • ส่งรักษาต่อในรายที่พบปัญหาเร่งด่วน
  4. อบรมเชิงปกิบัติการ ภารกิจแปรงฟัน พิชิตฟันผุ

    • จัดกิจกรรมแปรงฟันแก่นักเรียน6-12 ปี โดยการแจกแปรงสีฟัน ย้อมสีคราบจุลินทรีย์ฟัน พร้อมทั้งสาธิตวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธ๊และปฏิบัติตาม
    • ให้ทันตสุขศึกษาแก่นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ เรื่อง โรคฟันผุ อาหาร และวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อลดโรคฟันผุ
    • แข่งขันแปรงฟันสะอาดนักเรียน 6 - 12 ปี โดยการย้อมสีคราบจุลินทรีย์ นร.ที่คราบสีติดน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ
    • แข่งขันนักเรียนฟันสวย ปราศจากฟันผุ
  5. อบรมเชิงปกิบัติการ ฑูตน้อยทันตรักษ์ พิทักษ์ฟันผุ

    • เลือกแกนนำนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 -6 ทั้ง ห้องละ 10 คน เข้าร่วมอบรม ให้ทันตสุขศึกษา และสอนวิธีการแปรงฟันให้ถูกต้อง เพื่อให้เป็นแกนนำแปรงฟันในโรงเรียน
    • บริการทันตกรรมแก่นักเรียนแกนนำให้ Complete care โดยผ่านกระบวนการทันตสาธารณสุข
  6. อบรมเชิงปกิบัติการผู้ปกครองครูผู้เชี่ยวชาญ รู้เท่าทันโรคฟันผุ
    • กิจกรรมให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง เน้นการตรวจสุขภาพช่องปากและการแปรงฟันให้ลูก
    • ฝึกแม่หรือผู้ปกครองแปรงฟันให้ลูก 0 - 5 ปี โดยจับคู่แม่ - ลูกแปรงฟัน
    • แข่งขันกลเม็ดเด็ดพิชิตลูกแปรงฟัน โดยจับคู่แม่แปรงฟันลูกสะอาดและถูกวิธี
    • กิจกรรมผู้ปกครองและครู ร่วมกันคิดข้อตกลง นโยบายสาธารณะลด ละ เลิก ขนบกรุกกรอบ ลูกอม น้ำอัดลม ใน ศพด. และ รร.
  7. ผลักดันให้มีการประกาศนโยบายสาธารณะลด ละ เลิก ขนบกรุกกรอบ ลูกอม น้ำอัดลม ใน ศพด. และรร.
  8. ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมของ ศพด. โรงเรียนทั้งการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน และการควบคุมการบริโภคอาหารที่เป็นโทษต่อฟัน
  9. จัดกิจกรรมปลอดนมเปรี้ยว นมปรุงแต่ง และการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันในศูนย์เด็กเล็ก
  10. จัดกิจกรรมปลอดน้ำอัดลม ลูกอม และการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันในโรงเรียน
  11. ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดโรงเรียน และศพด. ต้นแบบด้านการส่งเสริมชุมชนสริมสุขภาพช่องปาก
  2. มีการนำข้อมูลพื้นนฐานสุขภาพช่องปากและข้อมูลพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากไปใช้ในการเฝ้า, การป้องกัน และการแก้ไขปัญหาโรคในช่องปากใน้ด็กให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่
  3. ชุมชนมีการพัฒนานโยบายและการจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพช่องปาก
  4. ประชาชน,ชุมชนตื่นตัว สนใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การดูแลสุขภาพช่องปากลูกที่ดีขึ้น
  5. เด็ก 0-12 ปีเข้าถึงบริการทันตกรรม ทั้งด้านการส่งเสริมป้องกันและรักษา ฟื้นฟูเพิ่มขึ้น
  6. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบในเด็ก 0-12 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2560 10:34 น.