โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ประจำปี 2563
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ประจำปี 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L6961-02-24 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก |
วันที่อนุมัติ | 25 สิงหาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 64,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายวัชริศ เจ๊ะเลาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 287 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
อสม. หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คือ บุคลากรที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานสาธารณสุขชุมชน เพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และในยุคไทยแลนด์ 4.0 อสม.ก็ได้พัฒนาตัวเอง ให้สอดคล้องกับสังคม เรียกว่า อสม. 4.0 ซึ่งการจะเป็นอสม. 4.0 ได้ต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการ ประกอบด้วยสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้ เช่น application ต่างๆ ของ อสม. หรือโปรแกรมอื่นๆ ที่กําหนดได้ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยเฉพาะในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือเรื่องอื่นๆที่กําหนด มีจิตอาสาและเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ และมีทักษะปฏิบัติการให้การช่วยเหลือสังคมด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้และการที่ อสม. เป็นบุคคลตัวอย่างของผู้ที่มีสุขภาพดี มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ก็จะส่งผลให้คนในชุมชนเห็นตัวอย่างที่ดี และเกิดความเชื่อมั่นในตัว อสม. ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการจัดกิจกรรมต่างๆ ช่วยผลักดันการดำเนินงานด้านสุขภาพในชุมชนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น กิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ได้รับความรู้ ทักษะในด้านงานสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รวมไปถึงการได้มีโอกาสตรวจสุขภาพ ตรวจสมรรถภาพร่างกายตนเอง ได้ทราบถึงผลการตรวจร่างกายเบื้องต้น คำแนะนำ การให้สุขศึกษาจากเจ้าหน้าที่อย่างถูกต้อง ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในการดำเนินงานด้านสุขภาพภาคประชาชน กิจกรรมเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญที่ทำให้ อสม. และทีมงานสุขภาพภาคประชาชนเกิดความเข้มแข็ง ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนให้ดียิ่งขึ้นประชาชนได้รับความรู้ คำแนะนำที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน ได้รับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เกิดเครือข่ายการดูแลสุขภาพภาคประชาชนที่เข้มแข็งต่อไป จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ชมรม อสม. เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกได้ประสานงานร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค อสม.4.0 ประจำปี 2563 นี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ อสม. ได้รับการตรวจสุขภาพของตนเอง อสม.ได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | 2. เพื่อให้ อสม. มีความรู้ ความเข้าใจและมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง คะแนนแบบทดสอบความรู้ Post test มากกว่า Pre test ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 - 30 ก.ย. 63 | กิจกรรม ประชุมคณะทำงาน | 0 | 5,700.00 | ✔ | 5,700.00 | |
1 - 30 ก.ย. 63 | กิจกรรม อบรมให้ความรู้และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | 0 | 57,000.00 | ✔ | 57,000.00 | |
1 - 30 ก.ย. 63 | กิจกรรม ประชุมติดตามประเมินผล | 0 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
รวม | 0 | 64,700.00 | 3 | 64,700.00 |
กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน
- ประชุมหารือคณะทำงานระดับตำบลเพื่อวางกรอบการดำเนินงานและรูปแบบกิจกรรมและ ติดตามการดำเนินงาน รวมจำนวน 2 ครั้ง
- ประสานวิทยากรอบรมและการจัดกิจกรรม ฐานการเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองสาธารณสุขฯ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ศูนย์แพทย์ ใกล้ใจ สาธารณสุขอำเภอ และกองช่าง เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
- จัดจ้างทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ไวนิล เป็นต้น
- จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เช่น ฟิวเจอร์บอร์ด เชือก กระดาษ ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น
- จัดทำประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติแก่ อสม.สุขภาพดีเด่น อสม.สูงวัยสุขภาพดี และอสม.ด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เดินรณรงค์การส่งเสริมสุขภาพ และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - กิจกรรมเดินรณรงค์การส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค 4 โซน
- ตรวจสุขภาพเบื้องต้นของ อสม. ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิต วัดความเอว
- กิจกรรมฐานการเรียนรู้ด้านสุขภาพ จำนวน 5 ฐาน
- กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
- กิจกรรมสาธิตการออกกำลังกายและออกกำลังกายร่วมกัน
- จัดบอร์ดนิทรรศการเกี่ยวกับการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน
- มอบประกาศนียบตรแก่ อสม. สุขภาพดี อสม.สูงวัยสุขภาพดี อสม.และทีมงาน อสม.ด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน
กิจกรรมที่ 3 ประชุมติดตามประเมินผล
- ประชุมติดตามการดำเนินงาน จำนวน 1 ครั้ง
- สรุปผลการจัดกิจกรรม ผลการตรวจคัดกรองสุขภาพ และประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบ ความรู้ Pre-Post test และแบบประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ
- อสม. ได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นของตนเอง
- อสม. มีความรู้ ความเข้าใจและมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง เป็นบุคคลต้นแบบในด้านการดูแลสุขภาพแก่คนในชุมชนได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2563 10:01 น.