กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนเยาวชน ขับเคลื่อนชุมชนสุขภาพดี ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2506-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมเยาวชนอาคาเดมี่อัลฟารุก
วันที่อนุมัติ 4 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮิลมาน หะยีเจ๊ะเล๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.172,101.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 249 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 145 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 145 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนที่ประสบความสำเร็จนั้น เกิดจากการที่ชุมชนสามารถจัดการสุขภาพของตนเองได้ หมายความถึงการที่ชุมชนมีระบบการจัดการด้านสุขภาพที่ดี มีระบบการขับเคลื่อนสุขภาพ การเฝ้าระวังการป้องกันโรค และแนวทางการจัดการด้านสุขภาพต่างๆที่ชุมชนสามารถดำเนินการเองทั้งหมด โดยมีองค์กรภาครัฐต่างๆ เข้ามาเป็นแรงหนุนเสริม และสนับสนุนทรัพยากรด้านต่างๆที่ชุมชนสามารถดำเนินงานด้านต่างๆสามารถขับเคลื่อนไปได้ อย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืน หมู่บ้านกือทอง หมู่ที่ 5 ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยชมรมเยาวชนอาคาเดมี่อัลฟารุก ได้อาสาในการเป็นตัวหลักในการจัดการด้านสุขภาพของคนในชุมชนบ้านกือทอง โดยการรวมกลุ่มกันของเยาวชนในพื้นที่ภายใต้จิตใต้สำนึกรักบ้านเกิด ความมีจิตอาสา และการกำหนดซึ่งภารกิจด้านต่างๆ โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของชมรมฯ คือ การสร้างชุมชนน่าอยู่ โดยใช้ "สุขภาพ" เป็นฐานการพัฒนาในทุกๆด้าน หมู่บ้านกือทอง หมู่ที่ 5 ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ประสบปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการสูบบุหรี่ ซึ่งจากการการสำรวจข้อมูลของชมรมฯ พบกลุ่มเป้าหมายในชุมชน บ้านกือทองที่มีการสูบบุหรี่ในชุมชน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 32.54 ซึ่งเกินค่ากลางอัตราการสูบบุหรี่ในประเทศคือร้อยละ 20 ปัญหาการจัดการขยะที่พบว่าชาวบ้านยังมีการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง มีการทิ้งขยะสองข้างทาง และปัญหาความเจ็บป่วย พบว่าผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง 8 ราย โรคเบาหวาน 4 ราย โรคไตวายเรื้อรัง 1 ราย ซึ่งเป็นการเจ็บป่วยที่เกิดจากพฤติกรรมด้านสุขภาพที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการจัดการด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรค และการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคชมรมฯจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนบ้านกือทองน่าอยู่ โดยใช้สุขภาพเป็นฐาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนในชมรมในชมรมฯได้รับการพัฒนาศักยภาพตามหลักสูตรโรงเรียนเยาวชนอัลฟารุกและมีความรู้ ความเข้าใจ เป็นเยาวชนต้นแบบด้านสุขภาพของคนในชุมชน

เยาวชนผ่านเกณฑ์การสอบวัดผลหลังจบหลักสูตรโรงเรียนเยาวชนอัลฟารุก ทั้ง 6 หลักสูตร ต้องผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ ร้อยละ 90

2 เพื่อให้เยาวชนที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพตามหลักสูตรโรงเรียนเยาวชนอัลฟารุก ได้ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน และเป็นพลังสำคัญในการจัดการด้านสุขภาพของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

เยาวชนที่ผ่านหลักสูตรโรงเรียนเยาวชนอัลฟารุกสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนทุกหลังคาเรือน

3 เพื่อให้ชาวบ้านมีความรู้ มีการรับรู้เรื่องสุขภาพ มีการปรับเปลี่ยนสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคต่างๆได้

ชาวบ้านมีความรู้ มีการรับรู้ด้านสุขภาพ และมีการปรับเปลี่ยนสุขภาพหลังจัดกิจกรรมอยู่ระดับที่ดีขึ้น

4 3. เพื่อให้ชาวบ้านมีความรู้ มีการรับรู้ด้นสุขภาพ มีการปรับเปลี่ยนสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคต่างๆได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชาคมกลุ่มเยาวชน ร่วมกับผู้นำ ผู้นำศาสนา คณะกรรมการมัสยิด ข้าราชการในพื้นที่ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการขับเคลื่อน วิธีการดำเนินกิจกรรม บทบาทของแต่ละฝ่ายในการเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการฯ 2.จัดการเรียนการสอนหลักสูตรโรงเรียนเยาวชนอัลฟารุก 6 หลักสูตร โดยจัดให้มีการเรียนการสอนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุกวันศุกร์ เวลา 09.00 น.-12.00 น. (ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน) โดยมีรายละเอียดแต่ละหลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรที่ 1 การศึกษาวิถีสุขภาพชุมชน และการทำงานด้านสุขภาพ หลักสูตรที่ 2 เยาวชนกับการจัดการด้านสุขภาพ หลักสูตรที่ 3 การขับเคลื่อนเยาวชนปลอดบุหรี่และการขับเคลื่อนหมู่บ้านปลอดบุหรี่ หลักสูตรที่ 4 การขับเคลื่อนหมู่บ้านการจัดการขยะ ขยะความดี หลักสูตรที่ 5 นวัตกรรมจากขยะรีไซเคิล หลักสูตรที่ 6เยาวชนกับปิงปองจราจร 7 สีขับเคลื่อนชุมชนจัดการโรคเรื้อรัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพ การลดความเสี่ยงและพฤติกรรมสุขภาพ 2.ประชาชนสร้างวัฒนธรรมรักความสะอาด มีการจัดการ และวินัยในการทิ้งขยะ 3.เกิดพลังเครือข่าสยการทำงาน พลังประชาชนในการรับผิดชอบต่อภารกิจสังคม โดยเฉพาะในเรื่งของการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านสุขภาพ 4.เกิดระบบการจัดการที่ดี ภายใต้การจัดการระบบสุขภาพของชุมชนจะนำมาซึ่งการจัดการชุมชนด้านอื่นๆต่อไป มีทีมงาน มีกลไกการขับเคลื่อนงาน มีแผนชุมชน ทิศทางการพัฒนาชุมชน 5.เกิดกลุ่มเยาวชนซึ่เป็นพลังหลักในการพัฒนาด้านต่างๆของชุมชน เป็นความคาดหวังของชุมชน ทำให้เยาวชนมีบทบาทและภารกิจในการขับเคลื่อนชุมชนด้านต่างๆ เป็นเยาวชนที่มีคุณภาพ มีความรู้ มีคุณธรรม และห่างไกลยาเสพติดและอบายมุขทุกชนิด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2560 10:40 น.