กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L2988-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปากู
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2560
งบประมาณ 42,990.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกามาลูดิงเจ๊ะมิง
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูฮำหมัดนาเซร์ดอเลาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.624,101.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2560 31 ส.ค. 2560 42,990.00
รวมงบประมาณ 42,990.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 127 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุข และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ปัจจุบันพบว่ามีการแพร่ระบาดของโรคไปทุกหมู่บ้านในประเทศทั้งในเขตเมืองและชนบทโดยจะพบผู้ป่วยตลอดทั้งปี และพบสูงสุดในฤดูฝน นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องได้รับการแก้ไข ข้อมูลปี 2557-2559 พบว่า ในพื้นที่เขตตำบลปากู มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 17,12,16 รายคิดเป็นอัตราป่วย 217.39, 166.66, 218.37 ตามลำดับ ยังไม่พบรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งในปี 2560 อาจมีแนวโน้มการระบาดของโรคเพิ่มขึ้น หากไม่มีการควบคุมและไม่มีการดำเนินการใดๆ อาจเกิดการสูญเสียถึงแก่ชีวิตได้ การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องมีการระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากู ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ 2. เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรคในบ้าน ชุมชน โรงเรียน และมัสยิด 3. เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในคน โดยเฉพาะในเด็กอายุ 5 - 14 ปี 4.เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน ตื่นกลัว และตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดจากโรคไข้เลือดออก
  1. อัตราการเกิดโรคลดลง และสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น
  2. ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้านการควบคุมพาหะ ด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค


  3. สามารถเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

2

 

3

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 42,990.00 0 0.00
1 มิ.ย. 60 - 31 ส.ค. 60 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลปากู (บ้าน โรงเรียน มัสยิด และหน่วยงานราชการอื่นๆ ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก แจกทรายกำจัดลูกน้ำให้กับประชาชน ร่วมมือคว่ำกะลาและกำจัดขยะบริเว 0 42,990.00 -
  1. อบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน จำนวน127 คนประกอบด้วย 1.1 อสม. จำนวน62คน 1.2 ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา จำนวน14คน 1.3 ครู จำนวน 9 คน 1.4 ประชาชนจำนวน 34คน 1.5 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 8คน
  2. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลปากู (บ้านโรงเรียนมัสยิดและหน่วยงานราชการอื่นๆ) 2.1 ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 2.2 แจกทรายกำจัดลูกน้ำให้กับประชาชน 2.3 ร่วมมือคว่ำกะลาและกำจัดขยะบริเวณบ้านเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ 2.4 ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการเกิดโรคลดลง และสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น
  2. ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้านการควบคุมพาหะ ด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค
  3. สามารถเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2560 11:24 น.