กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยบอน
รหัสโครงการ 63-L5258-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ห้วยบอน
วันที่อนุมัติ 22 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 37,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมายะ สูกาเกาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.624,101.057place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ โรคได้แพร่กระจายไปเกือบทุกพื้นที่ทุกจังหวัด ทั่วประเทศมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเข้ารับการรักษา จำนวน 128,964 ราย เสียชีวิต 133 ราย โดยจังหวัดสงขลามีผู้ป่วย 405 ราย ยังไม่มีผู้เสียชีวิต ในส่วนของอำเภอสะบ้าย้อยปี 2563 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 69 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ตำบลบ้านโหนด จำนวน 19 รายและรพ.สต.ห้วยบอนมีผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวจำนวน 2 ราย โดยมียุงเป็นพาหะนำเชื้อไข้เลือดออก ยุงลายมีแหล่งเพาะพันธ์ ในพาชนะที่มีน้ำขังทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น โอ่ง ไห อ่าง กะลา แจกัน และกระจางต้นไม้เป็นต้น โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่อันตราย หากไม่ดำเนินการโรคให้ทันท่วงที อาจเป็นปัญหากระทบรุนแรงต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมและป้องกันโรคอย่างเร่งด่วน ซึ่งมาตรการที่สำคัญที่จะควบคุมโรคให้ได้ผล ต้องอาศัยการประสานงาน การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ทำหน้าที่ปฏิบัติงานในรูปของการเฝ้าระวังและควบคุมโรคเชิงรุก คือการควบคุมและกำจัดยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรค โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง การกำจัดยุงลาย ทั้งกายภาพและเคมี รวมทั้งให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ และเกิดทัศนคติที่ดี พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและไข้ชิคุนกุนย่า น้อยกว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปีย้อนหลัง

0.00
2 ๒. เพื่อเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โดยการสำรวจและควบคุมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ของยุงลาย และลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย ตามเป้าหมายดังนี้ • ในโรงเรียน ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้ครอบคลุมโดยแต่ละโรงเรียนไม่พบภาชนะที่มี ลูกน้ำยุงลาย ( CI = ๐ ) • ในชุมชน ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกครัวเรือนให้ครอบคลุมโดยให้มีบ้านที่พบลูกน้ำ ยุงลายไม่เกินร้อยละ ๑๐ (ค่า HI ไม่เกิน ๑๐)

๒. สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตามเป้าหมายดังนี้ • ในโรงเรียน ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕ โดยแต่ละ โรงเรียนไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย ( CI = ๐ ) • ในชุมชน ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกครัวเรือนให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ โดยให้มีบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ ๑๐ (ค่า HI ไม่เกิน ๑๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 620 37,500.00 0 0.00
1 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมรณรงค์ 120 4,800.00 -
1 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมพ่นหมอกควัน 500 32,700.00 -

๑. ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสะบ้าย้อย และหน่วยงานควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่ 12 สะบ้าย้อย ๒. เดินรณรงค์แกนนำเครือข่ายและประชาชนเพื่อเฝ้าระวังโรค ดำเนินการในทุกหมู่บ้านและโรงเรียน ๓. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในหมู่บ้าน ๔. เมื่อพบผู้ป่วยในพื้นที่ ให้แจ้งสถานบริการทราบเพื่อดำเนินการสอบสวน ทำลายเชื้อปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและให้สุขศึกษาเฉพาะราย ๕. พ่นหมอกควัน ในชุมชนที่เกิดโรค ในโรงเรียน ทั้ง 3 โรงเรียน มัสยิดทั้ง 3 หมู่บ้าน ๖.รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
      ๒. ลดการระบาดอย่างรุนแรงของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบ้านโหนด   ๓. ประชาชนมีความเข้าใจให้ความร่วมมือในการควบคุมโรคพ่นหมอกควันเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายประชาชนในตำบลมีความตระหนัก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2563 13:36 น.