กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนบาโงยฯ รักฟันดี ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L4147-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 12 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กันยายน 2560
งบประมาณ 24,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอโนชาเหละดุหวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.527,101.153place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคในช่องปากเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่ ๓ จังหวัดแม้โรคในช่องปากจะเป็นโรคซึ่งไม่ได้ติดต่อร้ายแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ได้ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอันเนื่องมาจากความเจ็บปวดซ้ำซาก ซึ่งเป้าหมายทันตสุขภาพระยะยาวของประเทศไทยปี ๒๕๖๓ ระบุว่า “คนไทยมีสุขภาพช่องปากดี บดเคี้ยวได้ อยู่ในสังคมอย่างปกติสุข ทุกช่วงวัยของชีวิต” การที่จะบรรลุเป้าหมายระยะยาวได้นั้นจะต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก หรือเริ่มตั้งแต่ระยะฟันน้ำนมเริ่มขึ้น หากฟันได้รับการดูแลอย่างดีเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่จะมีฟันใช้งานได้ครบทั้งปากไม่มีโรคในช่องปากไม่มีความเจ็บปวดในช่องปาก คงสภาวะเช่นนี้ได้ตลอดชีวิต
โรคฟันผุยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากที่สุด โดยลักษณะธรรมชาติของโรคฟันผุ มักผุที่ฟันกรามด้านบดเคี้ยวเป็นส่วนใหญ่ซึ่งฟันกรามซี่แรกจะขึ้นมาในช่องปากช่วงอายุ 6 ปี ในช่วงนี้พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กยังเข้าใจว่าฟันแท้ที่ขึ้นมาในช่องปากเป็นฟันน้ำนม ทำให้ละเลยการดูแลฟันกรามนี้เป็นพิเศษ ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรคฟันผุในฟันกรามซี่แรก โดยเฉพาะการเคลือบหลุมร่องฟัน ( Sealant )เคลือบหลุมร่องฟันที่ลึก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กได้ นอกจากนี้ประชาชนควรได้รับการดูแลส่งเสริมการให้ความรู้ และคำแนะนำทันตสุขภาพอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการสร้างกระแสเพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้องและนอกจากนี้การส่งเสริมการให้ความรู้ด้านการแปรงฟันโดยเน้นการลงมือฝึกปฏิบัติจริงในช่องปากจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการส่งเสริมป้องกันโรคฟันผุได้ดี โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 0-5 ปี ซึ่งไม่มีความสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้เอง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโงยซิแนได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคนบาโงยฯ รักฟันดี ปี 2560 ขึ้น โดยจะต้องเน้นถึง การส่งเสริมสุขภาพฟันของเด็ก และผู้ปกครองโดยเฉพาะการเพิ่มพูน ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีแก่ เด็กนักเรียน และประชาชนทั่วไป เพื่อที่จะนำความรู้ไปปฏิบัติ และถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมป้องกันและรักษาสุขภาพในช่องปากกลุ่มหญิงตั้งครรภ์, เด็กปฐมวัย(0-2 ปี), เด็กนักเรียน, ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเบาหวาน
  1. ร้อยละ 30 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจฟันและรักษาทันตกรรม
  2. ร้อยละ 80 ของเด็กอายุ 0-2 ปีได้รับการเคลือบฟลูออไรด์วานิช
  3. ร้อยละ 55 ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่1 ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน
  4. ร้อยละ 20 ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่1-6 ที่มีปัญหาโรคฟันผุ ได้รับการอุดฟัน
  5. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุและผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจฟัน
2 เพื่อให้นักเรียน รู้ปัญหาสุขภาพช่องปากของตนเองและมีความรู้ในการดูแลทันตสุขภาพ
  1. ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก ในระดับดี และสามารถแปรงฟันอย่างมีประสิทธิภาพ 2.ร้อยละ 100 ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา มีการจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กลยุทธ์ที่ 1 การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก การตรวจและรักษา โดยการตรวจรักษา ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และเคลือบหลุมร่องฟัน กิจกรรม 1. จัดประชุม ชี้แจง อสม. แกนนำ ครูอนามัยโรงเรียน ผู้ปกครอง หญิงตั้งครรภ์ เพื่อทราบแนวทางการดำเนินงานของโครงการ 2. จัดหากลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน 3. จัดทำตารางการปฏิบัติงานที่สถานบริการ 4. ขออนุมัติดำเนินการโครงการ 5. จัดซื้อชุดแปรงสีฟัน/ยาสีฟัน
6. จัดคลินิกให้บริการทันตกรรมตรวจฟัน ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน เคลือบฟลูออไรด์ และเคลือบหลุมร่องฟันแก่เด็กวัยเรียน หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุและผู้ป่วยเบาหวาน 7. รณรงค์และจัดทำคลินิกพิเศษสำหรับนักเรียน ป.1-ป.6 และบริการรถพยาบาล ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไปรับนักเรียนที่โรงเรียนมารับบริการรักษาโรคในช่องปากทุกสัปดาห์ 8. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งต่อผู้ป่วยในกรณีที่มีภาวะเสี่ยงสูง 9. ติดตามประเมินผล กลยุทธ์ที่ 2 การสร้างแกนนำ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ชุมชน โรงเรียนตระหนักถึงโรคในช่องปาก และเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก กิจกรรม 1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปาก และโรคในช่องปากที่พบบ่อยในประชาชนทั่วไปหญิงมีครรภ์นักเรียน และเด็ก 0-5 ปี พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ โดยการให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น ในช่วงก่อนการละหมาดวันศุกร์ หอกระจายเสียงโรงเรียน ฯลฯเพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างถูกต่อเนื่อง และยั่งยืน 2. หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการฝากครรภ์จะได้รับการตรวจฟันและรักษาทันตกรรม 3. จัดคลินิกให้บริการรักษาทางทันตกรรมโดยให้บริการใน เด็กปฐมวัย นักเรียน หญิงตั้งครรภ์ ประชาชนทั่วไป และผู้สูงอายุ 4. รณรงค์และจัดทำคลินิกพิเศษสำหรับนักเรียน ป.1-ป.6 และบริการรถพยาบาล ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไปรับนักเรียนที่โรงเรียนมารับบริการรักษาโรคในช่องปากสัปดาห์ละ 2วัน
5. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวานเพื่อให้บริการตรวจฟัน 6. จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเชิงกลุ่มในเรื่อง ทันตสุขภาพ ในหมู่บ้าน ทั้ง 6 หมู่บ้าน  ประชุมชี้แจง จนท.อสม. และ ผู้ปกครองนักรียน
 จัดทำแผนการดำเนินงานให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ ในชุมชน รายละเอียด (อบรมเชิงปฏิบัติการเชิงกลุ่มกลุ่ม จำนวน 3 เรื่อง) 1. เรื่องโรคฟันผุ เหงือกอักเสบและโรคปริทันต์และวิธีการรักษา 2. เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธี 3. เน้นฝึกปฎิบัติวิธีการแปรงที่ถูกวิธีในเด็ก และ ผู้ใหญ่
 ดำเนินการตามแผนการดำเนินกิจกรรม ในชุมชน  ประเมินผลการดำเนินงานทันตสุขภพ กลยุทธ์ที่ 3 การส่งเสริม ป้องกันโรคในช่องปาก เชิงรุกในและนอกสถานบริการ กิจกรรม
1. ขึ้นทะเบียนเด็กอายุ 0-2 ปีทุกราย ในเขตรับผิดชอบของรพ.สต บาโงยซิแน 2. จัดซื้อชุดแปรงสีฟัน/ยาสีฟัน และแก้วหัดดื่ม 3. จัดคลินิกฟันสวยเริ่มที่ซี่แรก โดยให้บริการเคลือบฟลูออไรด์วานิชในและนอกสถานบริการ 4. จัดทำแผนการปฏิบัติงานนอกสถานที่ โดย จนท.ร่วมกับ อสม. 5. จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพ กับทุกกลุ่มวัย 6. จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และการแปรงฟันที่ถูกวิธี แก่หญิงตั้งครรภ์ และ ผู้ปกครองนักเรียนในชุมชน 7. สรุปผล กลยุทธ์ที่ 4 การควบคุมกำกับ และการประเมินผล กิจกรรม
1. ติดตามผลการดำเนินงาน 2. ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ เพื่อประเมินปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินโครงการและแนวทางการแก้ไข 3. สรุปผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ประชาชนทั่วไป เด็กก่อนวัยเรียน หญิงตั้งครรภ์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเบาหวาน ได้รับบริการตรวจและรักษาสุขภาพฟันอย่างถูกวิธี 2. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพในช่องปาก จนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ 3. ประชาชนทุกกลุ่มวัย มีการดูแลสุขภาพฟัน จนทำให้มีสุขภาพในช่องปากที่ดีขึ้น และชุมชนมีส่วนร่วม ด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2560 13:17 น.