กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในชุมชนโดยนักสุขภาพครอบครัว (นสค.)
รหัสโครงการ 60-L5311-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 60,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเต็มศิริขุนยงค์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.973,99.85place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เป้าหมายหลักหรือผลผลิตของบริการปฐมภูมิที่สำคัญมี 2 ประการคือ การส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค (Selfcare) และ การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็น อย่างเสมอภาคเป็นธรรมนั้น การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว กลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญคือการมีหมอประจำครอบครัว เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีญาติเป็นหมอและสามารถพึ่งพาได้ทุกเมื่อ และในปัจจุบันการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของคนในชุมชนลดลง จึงได้พัฒนานักสุขภาพครอบครัวเป็นหมอประจำครอบครัวเพื่อเข้าไปดูแลและจัดการให้บริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน รายครัวเรือนให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเด็กและสตรีกลุ่มเด็ก 0-5 ปีกลุ่มวัยเรียนกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยทำงานกลุ่มผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้สูงอายุรวมทั้งการสรุปวิเคราะห์ข้อมูล แก้ปัญหาสุขภาพในชุมชนที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งสร้างแกนนำประจำครอบครัว เพื่อให้มีความรู้ด้านสุขภาพที่จำเป็นแก่ครัวเรือนสามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพการป้องกันโรคและคุ้มครองผู้บริโภค
เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพในชุมชนให้มีประสิทธิภาพ ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม จึงมีความจำเป็นที่จะพัฒนานักสุขภาพครอบครัว(นสค.) และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม.)เพื่อเป็น “หมอประจำครอบครัว” ที่จะร่วมกันพัฒนาระบบการออกเยี่ยมบ้านทุกครัวเรือน ประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งสร้างระบบฐานข้อมูลรายครัวเรือน รวมเป็น CommunityFolder ของหมู่บ้านให้ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ได้ โดยสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุด ด้วยกระบวนการ คืนข้อมูลชุมชนตลอดจน ร่วมสรุป วิเคราะห์ปัญหาและจัดทำแผนแก้ไขปัญหาโดยสร้างให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทุกกลุ่มองค์กร ที่มีในหมู่บ้านชุมชน โดยคาดหวังว่าระบบสุขภาพชุมชน จะมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลประชาชนให้บรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวัง 2 ประการดังกล่าวข้างต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ครัวเรือนมี“หมอประจำครอบครัว”
  1. ครัวเรือนมี“หมอประจำครอบครัว” จำนวน จำนวน 120 ครัวเรือน( จากทั้งหมด 874 ครัวเรือน ) คิดเป็นร้อยละ 13
2 2.เพื่อพัฒนา นสค.และ อสม. ปฏิบัติงานร่วมกันเป็น “หมอประจำครอบครัว”อย่างมีคุณภาพ

2.หมอประจำครอบครัวมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค และแก้ปัญหาสุขภาพเบื้องต้นในชุมชนที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

3 3. เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการสุขภาพและพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้

3.กลุ่มเป้าหมายโรคโรคไตเรื้อรัง(CKD), ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ติดบ้าน ติดเตียง(LTC),และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) ได้รับการเยี่ยมบ้านทุกคน

4 4. เพื่อพัฒนาCommunityFolder และฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย

4.ข้อมูลครัวเรือนและข้อมูลฐาน HDC ผ่านเกณฑ์คุณภาพมากกว่าร้อยละ 90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจง อสมและเจ้าหน้าที่จัดทำแผนงานโครงการ
  2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อสม. เป็น อสม.เชี่ยวชาญ การจัดการสุขภาพและเยี่ยมบ้าน โดยมีเนื้อหาการอบรมดังนี้
    • ชี้แจงวัตถุประสงค์
    • กำหนดบทบาทหน้าที่ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับ อสม.
    • ฝึกสำรวจการเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในเขตที่รับผิดชอบ
    • ฝึกทักษะการฟัง การเขียน การพูด
    • ทักษะ การประเมินการเจ็บป่วย และการเยี่ยมบ้าน
    • สรุป วิเคราะห์ ประเมินผล
  3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านสุขภาพ การจัดการสุขภาพและเยี่ยมบ้าน โดยมีเนื้อหาการอบรมดังนี้
    • ชี้แจงวัตถุประสงค์
    • กำหนดบทบาทหน้าที่ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับแกนนำด้านสุขภาพ
    • ฝึกสำรวจการเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในเขตที่รับผิดชอบ
    • ฝึกทักษะการฟัง การเขียน การพูด
    • ทักษะ การประเมินการเจ็บป่วย และการเยี่ยมบ้าน
    • สรุป วิเคราะห์ ประเมินผล
  4. ดำเนินงานตามแผนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

- สำรวจข้อมูลรายคนในรับผิดชอบตนเอง - สรุป วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำแฟ้มครอบครัว - จัดกลุ่มเป้าหมายและวางแผนการดูแลร่วมกัน ได้แก่
1) กลุ่มดูแล หรือพึ่งตนเองได้ดี ให้ อสม. และแกนนำสุขภาพออกเยี่ยม และให้ญาติดูแล 2) กลุ่มดูแล หรือพึ่งตนเองได้บ้าง ให้ อสม . และแกนนำสุขภาพออกเยี่ยม ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ตามความเหมาะสม
3) กลุ่มดูแล หรือพึ่งตนเองไม่ได้เลยต้องอาศัยคนอื่น ให้อสม.และแกนนำสุขภาพออกเยี่ยมพร้อมกับเจ้าหน้าที่ทุกราย
- เยี่ยมบ้านตามแผน โดยเยี่ยมรายกลุ่มและรายบุคคลโดย ญาติ อสม. และแกนนำสุขภาพ และเจ้าหน้าที่ เยี่ยมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม 5.พัฒนา CommunityFolder และฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายบันทึกลง โปรแกรม HOS XPPCU. 6.จัดเวทีถอดบทเรียนการทำงานและผลการดำเนินงานร่วมกัน ระหว่าง ตัวแทน อสม.และแกนนำสุขภาพ และ เจ้าหน้าที่ และตัวแทนครอบครัว

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีนักสุขภาพครอบครัว (นสค. ) หรือหมอประจำครอบครัวที่สามารถดูแลประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อย่างเหมาะสม
    1. ทุกกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นได้อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2560 14:42 น.