กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓
รหัสโครงการ 63-L8409-02-29
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. รพ.สต. บ้านฉลุง ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 20 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 56,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม. รพ.สต. บ้านฉลุง ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
โรคติดต่อที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นอกจากจะเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลแล้ว ยังมีโรคติดต่อที่อุบัติขึ้นมาใหม่ และโรคติดต่ออุบัติซ้ำ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิต การรับประทานอาหารและความก้าวหน้าในการรักษาโรคต่างๆ ในปัจจุบันประเทศไทย กำลังประสบปัญหากับโรคติดต่ออุบัติซ้ำ เช่นโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A เอช๑ เอ็น๑ โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Mers) และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ซึ่งกำลังระบาดอยู่ในปัจจุบัน พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อรวมทั้งเสียชีวิตอีกหลายราย และมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ประกอบกับพื้นที่ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ประชาชนมีการเข้าออกทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศจำนวนมาก และมีโรงเรียนที่รองรับจำนวนนักเรียนทั้งในเขตพื้นที่ และต่างอำเภอจังหวัดมากมาย ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดการระบาดของโรคได้ง่าย จากการศึกษาข้อมูลโรคติดต่อในชุมชน ย้อนหลัง ๕ ปี จากฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านฉลุง ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล พบว่าพื้นที่ยังคงมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย อุจาระร่วง โรคตาแดง เป็นต้น และสถาพการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ ตลอดจนเตรียมความพร้อมรับมือกับโรค ที่จะเกิดในอนาคตจึงจัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูลขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้อสม. มีความรู้ความสามารถในการดำเนินเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมควบคุมโรคติดต่อในชุมชนได้อย่างถูกต้อง ๒. เพื่อให้ อสม. สามารถเป็นต้นแบบและถ่ายทอดความรู้ความสามารถในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชนให้แก่คนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง

๑. อสม. มีความรู้เรื่องโรคติดต่อในชุมชนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐ ๒. ประชาชนมีความรู้ เรื่องการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ร้อยละ ๘๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ
แบ่งการดำเนินงาน เป็น ๓ กิจกรรม กิจกรรมที่ ๑ ขั้นเตรียมการ ๑. ศึกษาสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ ๕ ปี ย้อนหลัง และปัจจุบัน ๒. ศึกษามาตรการในการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ศึกษาข้อกำหนดประกาศของกระทรวงสาธารณสุข และของจังหวัดสตูล กิจกรรมที่ ๒ ดำเนินการ ๑. ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง ๒. วิเคราะห์สถานการณ์ และการระบาดของโรคติดต่อในชุมชน ๓. เขียนโครงการเสนอกองทุนสุขภาพตำบล ๔. ดำเนินการจัดอบรมแก่ อสม. ทั้งสิ้น ๑๐๓ คน โดยจัดเป็น ๓ รุ่น ๆ ละ ๒ วัน ๐ ละไม่เกิน ๔๐ คน ๕. ฝึกปฏิบัติการทำอุปกรณ์ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ และการแพร่เชื้อด้วยตนเอง ๖. ติดป้ายไวนิลความรู้ / เตือนภัย โรคติดต่อในชุมชน ๗. เคาะประตูบ้านสำรวจลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และให้ความรู้รายครัวเรือน
กิจกรรมที่ ๓ ถอดบทเรียน ๑. ร่วมกันถอดบทเรียน และอภิปราย ๒. จัดทำแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาอื่นๆ เพิ่มเติมยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓. สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อสม. มีความรู้ ความสามารถ ในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในชุมชนได้อย่างถูกต้อง ๒. อสม. สามารถเป็นต้นแบบ และถ่ายทอดความรู้ ความสามารถในการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ให้แก่คนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง
๓. อสม. สามารถประดิษฐ์ และแนะนำการทำอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ด้วยตนเองและถ่ายทอดสู่ชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2563 10:12 น.