กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ3 เก็บ 3โรค ป้องกันโรคจากยุง รพสต.บ้านควน 1
รหัสโครงการ 60-L5307-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 1
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภา นวลดุก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่หมู่ที่ 2 3 4 5 6 7โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ในพื้นที่ตำบลบ้านควน
ละติจูด-ลองจิจูด 6.691,100.049place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 1260 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ไข้เลือดออกในประเทศไทยปี2559 จำนวนผู้ป่วยสะสม ณ วันที่ 14 ธ.ค. 2559 (สัปดาห์ที่ 49) จำนวนผู้ป่วย 60,115 ราย จำนวนผู้ป่วยตาย 58 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 91.88 ราย อัตราตายต่อแสนประชากร 0.09 ราย อัตราป่วยตาย (ร้อยละ) 0.10 ราย

ในช่วงฤดูฝนของทุกปี จะเป็นฤดูที่มีการระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลายสูงสุด เนื่องจากฝนที่ตกมาทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำให้จำนวนยุงลายเพิ่มมากกว่าช่วงอื่นๆ ของปี ดังนั้นโรคที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้ คือ โรคที่มียุงลายเป็นพาหะเช่น โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่แม้ว่าปัจจุบันจะมีแนวโน้มผู้ป่วยลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ยังคงวางใจไม่ได้ต้องดำเนินการเฝ้าระวังควบคุมโรคอย่างเข้มข้นต่อไป กระทรวงสาธารณสุข แนะมาตรการ “3 เก็บ 3 โรค” ได้แก่ 3 เก็บ ในมาตรการนี้มุ่งเน้นไปที่การควบคุมยุงลายไม่ให้แพร่พันธุ์ และป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด ต้องเก็บสิ่งต่างๆ ดังนี้ 1.เก็บบ้าน บ้านที่เป็นระเบียบร้อยนอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ก็ยังทำให้บรรยากาศมีความปลอดโปร่ง จึงไม่มีที่ให้ยุงลายไปหลบซ่อนอยู่ 2.เก็บขยะ กองขยะในบ้านนอกจากจะดูไม่สวยงามแล้ว เมื่อฝนตกลงมาอาจเกิดน้ำขังและกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ในที่สุด 3.เก็บน้ำ แหล่งน้ำในบ้านนั้นอาจกลายเป็นที่ที่ยุงลายใช้แพร่พันธุ์ได้หากไม่ดูแลให้ดี โดยเฉพาะแหล่งน้ำนิ่งที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ต้องปิดให้มิดชิด เปลี่ยนน้ำอย่างสม่ำเสมอ หรือเลี้ยงปลาหางนกยูงในแหล่งน้ำเพื่อกำจัดลูกน้ำยุง 3โรค การปฏิบัติตามมาตรการนี้จะช่วยป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะทั้ง3โรคได้แก่ 1.โรคไข้เลือดออก 2.โรคติดเชื้อไวรัสซิกา 3.โรคไข้ปวดข้อยุงลาย สถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอเมือง จังหวัดสตูล ตั้งแต่เดือน มกราคม - 15 ธันวาคม 2559ตำบลบ้านควน มีผู้ป่วยจำนวน ๔๓ รายอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุดเท่ากับ 398.83 และสถานการณ์โรคไข้เลือดออกย้อนหลัง ๕ ปีตั้งแต่ ปี ๒๕๕๓ - ๒๕๕๘ มีผู้ป่วยที่รายงานทางระบาดวิทยา(รง.๕๐๖) จำนวน ๖๗,๒,๓,๓,๑ รายตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย ๙๖๔.๕๘, ๒๘.๗๙, ๔๓.๑๙, ๔๓.๑๙, ๑๔.๓๙ และ ๑๑๕.๑๗ ต่อแสนประชากร เป้าหมายตัวชี้วัดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร เมื่อเทียบกับ ปี 2559 มีผู้ป่วยที่รายงานทางระบาดวิทยา(รง.๕๐๖) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควนจำนวน 34 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 465.75 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินจากเป้าหมาย 9 เท่าของอัตราป่วยพบการระบาดมากที่ในหมู่ที่ ๓ บ้านโคกทราย และรองลงมาคือหมู่ที่๕ บ้านควน, หมู่ที่๖ บ้านกาลูบี, หมู่ที่๒ บ้านทุ่งวิมาน,หมู่ที่๗บ้านลูโบ๊ะการายีผู้ป่วยจำนวน19,6,4,3 และ2ราย คิดเป็นอัตราป่วย129.61,288.88,369.69,329.67 และ 129.12 ตามลำดับ จากการประเมินสถานการณ์โรคไข้เลือดออกโดยการรวบรวมวิเคราะห์และสรุปผลร่วมกันกับภาคีเครือข่ายในภาพรวมของตำบลบ้านควนทั้ง 7 หมู่บ้าน จึงได้จัดประชุมภาคีเครือข่าย ประกอบด้วยผู้นำชุมชนผู้นำศาสนา,โรงเรียน,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก,ศูนย์การศึกษานอกระบบ,เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อเปิดศูนย์บัญชาการตอบโต้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของตำบลบ้านควน ร่วมวิเคราะห์ปัญหา แสดงความคิดเห็น เสนอแนะและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนและระยะยาว จึงขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในตำบลบ้านควน ร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันบุตรหลานและคนในครอบครัวเจ็บป่วยและเสียชีวิตจาก 3 โรค ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชน มีความรู้สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ได้อย่างถูกต้อง

๑. ประเมินความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ของแกนนำสุขภาพครอบครัวหลังการอบรม

2 ๒. ประเมินผลค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย(HI,CI) หลังการอบรม

๒.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลง(HI

3 ๓. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลงไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

๓. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในหมู่ที่ ๒,๓,๕,๖ และ ๗ ตำบลบ้านควน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นเตรียมการ - การวางแผนกำหนดโครงการ ประชุมทีมงานเพื่อเตรียมความพร้อม - เสนอโครงการแก่ผู้บริหารเพื่อพิจารณา ๒. ขั้นดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้ - อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย แก่แกนนำ
สุขภาพครอบครัวในหมู่ที่ ๒,๓,๕,๖ และ ๗ ตำบลบ้านควน ๓. ขั้นดำเนินการสรุปผลโครงการ - รวบรวม วิเคราะห์ และสรุปผลโครงการ - ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และการหาแนวทางแก้ไขนำมาวางแผนดำเนินงานต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ได้อย่างถูกต้อง
  2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลง(HI
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2559 13:10 น.