กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตกรรมสุขภาพเด็กปฐมวัยยิ้มสดใส ห่างไกลฟันผุ
รหัสโครงการ 63-L4127-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 21 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 สิงหาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันต์ เดะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางนูรีซัน หะยีหะเต็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 214 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปากเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีสุขภาพดี การป้องกันโรคฟันผุในเด็กควรเริ่มตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ เพราะฟันน้ำนมของเด็กเริ่มสร้างและมีการสะสมแร่ธาตุเกือบสมบูรณ์ขณะอยู่ในครรภ์ประกอบกับปัจจุบันมีหลักฐานที่สนับสนุนว่าการเป็นโรคปริทันต์มีผลต่อการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และเด็กน้ำหนักแรกเกิดน้อย แม่ที่มีฟันผุจะมีเชื้อจุลินทรีย์ในปากจำนวนมาก ซึ่งเชื้อนี้สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ทางน้ำลายและจากข้อมูลทางระบาดวิทยาของประเทศไทยพบว่าช่วงอายุ 0-3ปี เป็นช่วงที่อัตราการเกิดฟันผุใน ฟันน้ำนมของเด็กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว         จากการดำเนินทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ ปี2562พบหญิงตั้งครรภ์มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ80.33 พบเด็กอายุ 3ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมร้อยละ 89.08พบในเด็กอายุ 12 ปี(เด็กวัยเรียน)มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันแท้ ร้อยละ 68.54 ส่วนใหญ่มีปัญหากลุ่มดังกล่าว ขาดความรู้ เรื่องการดูแลฟัน ที่ถูกวิธี ดังนั้นการส่งเสริมป้องกันฟันผุ สำคัญมากในทุกกลุ่มวัยนี้ เพราะถ้าช่องปากไม่สะอาด จะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้เกิดฟันผุอย่างรวดเร็วและมักจบลงด้วยการมีฟันผุทั้งปาก         การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัยที่สำคัญในช่วงนี้ได้แก่ การควบคุมอาหารหวาน และการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์วันละ 2 ครั้ง ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันโรคฟันผุอื่น ๆ เช่น การใช้สารฟลูออไรด์ชนิดทา ร่วมกับการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ และการให้ทันตสุขศึกษา การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันฟันผุในเด็กต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของครอบครัว(ผู้ปกครอง)ต้องให้ความสำคัญในการสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านของลูกน้อย ดังนั้นคลินิกสุขภาพเด็กดี (WBC) ของทุกสถานบริการสาธารณสุข เป็นสถานที่ซึ่งบุคลากรสาธารณสุขมีโอกาสพบเด็กและพ่อแม่เป็นระยะสม่ำเสมอ เหมาะสมที่จะดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ เด็ก 0-5ปี และครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง การส่งเสริมป้องกันฟันผุจึงมีความสำคัญในทุกกลุ่มวัยเพราะถ้าช่องปากไม่สะอาดจะเอื้อต่อการเพาะเชื้อจุลินทรีย์ทำให้เกิดฟันผุอย่างรวดเร็วและทำให้เกิดการมีฟันผุทั้งปากดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ จึงได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ และได้ตระหนักถึงความสำคัญในการการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน ตำบลบาเจาะ ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2562ขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ช่องปากมารดาและเด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน ในการดูแลช่องปากและฟันของเด็กให้ฟันดีห่างไกลโรคฟันผุอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
  1. ลดปัญหาสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์ และได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างทั่วถึง
75.00
2 2. เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน ได้รับการตรวจฟัน ทาฟลูออไรด์วานิช
  1. เด็กก่อนวัยเรียน  เด็กวัยเรียนได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชทุกคน
85.00
3 3. เด็กวัยเรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกต้อง
  1. เด็กวัยเรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกต้องตามแบบประเมิน
75.00
4 4. ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และครูอนุบาลมีความรู้ทันตสุขภาพ
  1. เด็กก่อนวัยเรียน ได้รับการแปรงฟันจากผู้ปกครอง ครูผู้ดูแล ทุกคน
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 808 30,000.00 0 0.00
24 ส.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 1.กิจกรรมตรวจฟันและทาฟลูออไรด์วานิชในเด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน (214คน) โดย จนท. ทันตสาธารณสุข 214 14,766.00 -
24 ส.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 2.กิจกรรมจัดประชุมแก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5ปี (80คน) 80 9,454.00 -
24 ส.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 กิจกรรมประเมินเด็กน้อยฟันดี(214คน) 214 4,280.00 -
24 ส.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 4.กิจกรรมตรวจฟันและให้ความรู้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในคลีนิคANCทุกวันพฤหัส 300 1,500.00 -

1.กิจกรรมตรวจฟันและทาฟลูออไรด์ในเด็กก่อนวัยเรียน(100คน) เด็กวัยเรียน(114คน) โดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข   2.กิจกรรมจัดประชุมแก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5ปี (80คน)     3. กิจกรรมประเมินเด็กน้อยฟันดี (214คน)     4. กิจกรรมตรวจฟันและให้ความรู้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในคลีนิคANCทุกวันพฤหัส

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและเช็ดทำความสะอาดช่องปากบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เด็ก ก่อนวัยเรียน ได้รับการตรวจฟัน ทาฟลูออไรด์วานิชได้อย่างครอบคลุม
  3. เด็กก่อนวัยเรียน ได้รับการแปรงฟันที่ถูกต้องจากผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และครูอนุบาล
  4. เด็กวัยเรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ