กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแม่ไม่ซีด ลูกแข็งแรง
รหัสโครงการ 63-L4127-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 21 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 สิงหาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันต์ เดะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฮูดา ดือรามะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจาง ถือเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่พบได้บ่อยที่สุดในสตรีตั้งครรภ์ โดยมีอุบัติการณ์เฉลี่ยร้อยละ 42 ของการตั้งครรภ์ แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนาพบความชุกมากถึงร้อยละ 35-75 และจะมีความรุนแรงที่มากขึ้นดังมีรายงานการเสียชีวิตของมารดาสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางถึงร้อยละ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบแอฟริกา และเอเชียตอนใต้(1) โดยสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดเกิดจาก ภาวะขาดธาตุเหล็ก สถานการณ์ภาวะโลหิตจางของสตรีตั้งครรภ์ไทยจากรายงานของกรมอนามัย พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ร้อยละ 20-30(2) นช่วงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของระบบโลหิต โดยในครรภ์เดี่ยวจะมีการเพิ่มปริมาณเลือดทั้งหมดประมาณ ร้อยละ 50 (1000 ml) โดยปริมาณเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 25 (300 ml) ซึ่งการที่มีปริมาณพลาสมาเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่มากกว่า ทำให้เกิดภาวะ hemodilution ซึ่งไม่ใช่ภาวะโลหิตจางที่แท้จริง และ Hb มักไม่ต่ำกว่า 10 g/dl(3)ผลของภาวะโลหิตจางต่อการตั้งครรภ์ ผลต่อมารดา การทำงานของหับใจหนักขึ้น เพิ่มความเสี่ยง heart failure โอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ง่ายขึ้น ช่วงการคลอดและหลังคลอดมีผลกระทบซ้ำเติมต่อมารดาจากการเสียเลือด ทำให้เกิดจากวะช็อก หรือ heart failure ได้ สัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression) ผลต่อทารก บางสาเหตุสามารถถ่ายทอดความเสี่ยงไปยังทารกได้ เช่น ธาลัสซีเมีย ทารกน้ำหนักน้อยกว่าปกติ หรือทารกโตช้าในครรภ์ เพิ่มอัตราการตายปริกำเนิด และการคลอดก่อนกำหนด มีเหล็กสะสมน้อยกว่าปกติ หากไม่ได้รับธาตุเหล็กเสริมหลังคลอด จะมีพัฒนาการและเจริญเติบโตของสมองที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป(4) สาเหตุของภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด(hereditary) ความผิดปกติของฮีโมโกลบิน เช่น ธาลัสซีเมีย Sickle cell disease Hereditary hemolytic anemia เช่น G6PD deficiency ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง(acquired) การขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก โฟเลต หรือวิตามินบี12 การเสียเลือดออกจากร่างกาย เช่น การตกเลือดก่อนคลอด การมีพยาธิปากขอ ภาวะโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง โรคไตวายเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซีดเพื่อเตรียมพร้อมบุตร

ทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม

75.00
2 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซีดในช่วงตั้งครรภ์

ทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม

85.00
3 หญิงตั้งครรภ์ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์

ไม่มีแม่ตายและลูกตาย

85.00
4 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดลดลง

จำนวนหญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดลดลงเทียบกับปีงบประมาน2562

95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 30,000.00 0 0.00
24 ส.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 1.ค้นหาและรวบรวมหญิงวัยเจริญพันธ์(อายุ 15-45 ปี) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ 0 0.00 -
24 ส.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 กิจกรรมให้ความรู้และประชาสัมพันธ์โครงการ 200 30,000.00 -

1.จัดทำโครงการ เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ   2.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   3.กำหนดการจัดโครงการ   4.ประเมินผลโครงการ/สรุปการประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซีดเพื่อเตรียมพร้อมบุตร
    1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซีดในช่วงตั้งครรภ์
    2. หญิงตั้งครรภ์ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์
    3. จำนวนหญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ