กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรม รู้เท่าทันปัญหายาเสพติด
รหัสโครงการ 63-L4127-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มโตะอีหม่ามคอเต็ปตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 21 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 50,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลลามาน มะเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นายมัฮหมุด สะระนะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความสำคัญของครอบครัวต่อการป้องกันการติดสารเสพติด ปัจจุบันปัญหาการติดสารเสพติดเป็น ปัญหาระดับประเทศซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น บุคลิกภาพของผู้ติดยาเสพติดที่อ่อนแอ ต้องการพึ่งพิงผู้อื่น ขาดความรับผิดชอบ พยายามเลี่ยงปัญหา ปรับตัวยาก ชอบพึ่งพาคนอื่น เก็บกดอารมณ์ คับแค้นใจ หรือบางคนอาจมีอาการซึมเศร้า การเลียนแบบ มีค่านิยมยอมตาม และถูกชักจูงในขณะที่จิตใจว้าวุ่นสับสน ความยากง่ายของการหายาเสพติด ความต้องการฤทธิ์อันพึงประสงค์ของยาเสพติดผู้ที่ต้องการหาความสุขจากยาเสพติดอาศัยฤทธิ์ของยาเสพติดโดย ยาเสพติดบางอย่างทำให้เกิดอารมณ์ครื้นเครง [ euphoria] เช่น การดื่มสุรา ยาเสพติดร้ายแรงทำให้รู้สึกเป็นสุข เคลิบเคลิ้ม[high] มากกว่าปกติ หรือที่เรียกว่าพี้ เช่น เฮโรอีน           ในส่วนของครอบครัวมักจะเป็นเป้าหมายที่ถูกกล่าวโทษว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการติดสารเสพติด โดยกล่าวกันว่าครอบครัวไม่อบอุ่นเป็นสาเหตุให้เกิดการติดสารเสพติด นอกจากการเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีในเรื่องการใช้สารเสพติดเช่น มีสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ให้เป็นแบบอย่างแล้ว ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้คนในครอบครัวหันไปหายาเสพติดได้แก่ สภาพบรรยากาศในครอบครัวกล่าวคือ ครอบครัวไม่มีความสุข ไม่รักกัน ไม่ใส่ใจไม่เอื้ออาทร ไม่พยายามทำความเข้าใจกัน คอยจับผิด ไม่ให้เกียรติ ดูถูกดูแคลน ต้องเก็บกดอารมณ์โกรธ ลักษณะการพูดจากันเป็นการพูดตำหนิดุว่าตลอดเวลา ไม่มีการชมหรือให้กำลังใจกัน ประชดประชันยุยงว่าถ้าทำดีไม่ได้ก็ให้ทำเลวไปเสียเลย ในเด็กที่ติดยาเสพติดเด็กอาจใช้วิธีการทำผิดให้พ่อแม่สนใจ เช่น เกโรงเรียน กลับบ้านไม่ตรงเวลา เมื่ออยู่ในครอบครัวไม่มีความสุข หลายคนก็หันไปหาความสุขในทางที่ผิดคือการใช้ยาเสพติด           ดังนั้น ประธานกลุ่มโตะอีหม่ามคอเต็ปตำบลบาเจาะได้เห็นถึงปัญหานี้ในชุมชน จึงมีความคิดจัดทำโครงการสร้างความเข้มแข็งในสถาบันครอบครัว ได้มีการจัดอบรมโดยเชิญประชาชนในตำบลที่สนใจเข้าร่วมโครงการ หมู่ละ 24 ครอบครัว ประกอบด้วย สามี ภรรยา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้สถาบันครอบครัวที่เข้าร่วมได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

ผู้เข้าอบรมได้ร่วมรณรงค์ให้เยาวชนและประชาชนรับรู้และทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

85.00
2 2 เพื่อสร้างสถาบันครอบครัวตัวอย่างในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาและในชุมชน

ผู้เข้าอบรมสามารถเป็นแกนนำในการป้องกันและต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดในครอบครัวและชุมชน

75.00
3 3 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิด สร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจให้กับสถาบันครอบครัวในการดูแลบุตรหลาน ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุขด้วยวิถีแห่งหลักธรรม
  • ผู้เข้าอบรมสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิด  สร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจ ไม่ปล่อยให้บุตรหลาน ตกเป็นทาสของอบายมุข และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยวิถีแห่งหลักธรรม
85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 253 50,900.00 0 0.00
1 ส.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 1 จัดประชุมคณะกรรมการมัสยิดตำบลบาเจาะเพื่อวางแผนในการจัดโครงการ 13 0.00 -
1 ส.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 แต่งตั้งคณะทำงานและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินโครงการ 0 0.00 -
1 ส.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 คัดเลือกครองครัวครัวตัวอย่างหมู่ละ ๒๔ ครอบครัว (บิดาและมารดา) ที่พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ดำเนินเข้า ฝึกอบรม จำนวน ๖ รุ่น(6 วัน) รุ่นละ ๔๐ คน ประกอบด้วย บิดา มารดา 240 50,900.00 -

๑. ความหมายของยาเสพติดและประเภทยาเสพติด จำนวน ๑ ชั่วโมง ๒. โทษของยาเสพติดประเภทต่างๆจำนวน ๑ ชั่วโมง ๓. สาเหตุของการติดยาเสพติด จำนวน ๑ ชั่วโมง
๔. อันตรายและผลกระทบของยาเสพติด จำนวน ๑ ชั่วโมง ๕. การป้องกันยาเสพติดจำนวน ๑ ชั่วโมง ๖. การเเพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนและโรงเรียน จำนวน ๑ ชั่วโมง
7. ให้ความรู้เรื่องการสร้างครอบครัวให้มีความสุขห่างไกล จากยาเสพติด หมายเหตุ หัวข้ออบรมบางหัวข้ออาจมีเนื้อหาหาพร้อมปฏิบัติ และอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม (รายละเอียดตาม ผนวก ก.) กิจกรรมต่อเนื่อง ครอบครัวตัวอย่างแต่ละหมู่บ้านมีการรวามกลุ่มอาทิตย์ ละ 1 วัน เพื่อรณรงค์ พูดคุยและแก้ปัญหายาเสพติดภายในหมู่บ้านตัวเอง ๓. ขั้นสรุปและประเมินผลการจัดกิจกรรมโครงการ ๓.๑ สอบถามประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน
๓.๒ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง พฤติกรรมผู้เข้ารับการฝึกอบรม
๓.๓ ดำเนินการประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน
๓.๔ รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สถาบันครอบครัวที่เข้าร่วมได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด๒. เด็กและเยาวชนได้ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม มีความสามัคคีในหมู่คณะ มีสุขภาพที่แข็งแรง มีจิตใจที่เข้มแข็ง และลดความเสี่ยงในการเสพยาเสพติด 2 สถาบันครอบครัวตัวอย่างในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาและในชุมชน 3 มีการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิด สร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจให้กับสถาบันครอบครัวในการดูแลบุตรหลาน ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุขด้วยวิถีแห่งหลักธรรม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ