กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ.2563
รหัสโครงการ 63-L3052-05-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานปลัด
วันที่อนุมัติ 18 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 31,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาดีละห ดาแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะดุนง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.646,101.554place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ซึ่งมียุงเป็นพาหะนำโรค สามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่มักพบการระบาดในฤดูฝนผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยตลอดเวลาหน้าแดงปวดศีรษะเบื่ออาหารอาเจียนซึมถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ กระทรวงสาธารณสุข แจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2563 ตั้งแต่      วันที่ 1 มกราคม - 24 มีนาคม 2563 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 7,134 ราย ผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 4 ราย และคาดว่าจะมีการระบาดต่อเนื่องจากปลายปี 2562 โดยผู้ป่วยจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายนและสูงสุดในเดือนกรกฎาคม รวมทั้งจากการสำรวจลูกน้ำยุงลาย พบว่า ในชุมชนและสถานที่สำคัญที่มีการรวมตัวของประชาชน ได้แก่ สถานศึกษา ศาสนสถาน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ โรงงาน เป็นต้น
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันเพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก ไม่ให้มีการระบาดในวงกว้างเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน
สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดปี พ.ศ.2563 ด้วยกรมส่งเสริมการส่งเสริมการปกครอง ได้รับแจ้งจาก กระทรวงสาธารณสุข ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท.0819.3/ว279 ลงวันที่ 29 มกราคม 2563 เรื่องผลการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกปี 2563 และขอความร่วมมือดำเนินกิจกรรมป้องกันควบคุมโรคในช่วงก่อนเข้าฤดูการระบาด คาดว่า ในปี พ.ศ.2563 จะพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกประมาณ 140,000 ราย พื้นที่เสี่ยงสูงต่อการระบาด โรคไข้เลือดออก จำนวน 224 อำเภอ ใน 60 จังหวัดและโรคปวดข้อยุงลาย มีโอกาสที่จะระบาดต่อเนื่อง และสามารถแพร่กระจายได้ทุกจังหวัดในประเทศไทย ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จำเป็นต้องมี การดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การเฝ้าระวังการเกิดโรคให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลกะดุนง อาศัยพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกัน ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลกะดุนง จึงจัดทำโครงการฯ นี้ เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่จะระบาดขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อทำลายภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือน

 

0.00
2 เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10

 

0.00
3 เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10

 

0.00
4 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนไม่เกิน 75 ต่อแสนประชากร

 

0.00
5 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนไม่เกิน 75 ต่อแสนประชากร

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำและเสนอโครงการให้คณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา
  2. ประชุมหารือร่วมกับผู้นำตำบล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะดุนง สมาชิกสภา อบต.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง วางแผนการดำเนินโครงการฯ
  3. ประสานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะดุนงเพื่อคัดเลือกอาสาสมัครฯ เพื่อเยี่ยมตรวจสุขภาพกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมาย
  5. ดำเนินการจัดโครงการการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี
  6. รายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการกองทุน สปสช.
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนไม่เกิน 75 ต่อแสนประชากร
  2. ทุกหลังคาเรือนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ
  3. ทุกหลังคาเรือนทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
  4. ลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10
  5. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนไม่เกิน 75 ต่อแสนประชากร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2563 12:48 น.