กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
รหัสโครงการ 63-L4127-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนอูแบรักษ์ถิ่นบ้านเกิด
วันที่อนุมัติ 21 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 33,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมุกตา สาเลง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลเล๊าะ มะแอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยชุมชน เนื่องจากมีประชาชนอาศัยเพิ่มมากขึ้น มีการปลูกที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น มีร้านค้าจำหน่ายอาหารเพิ่มขึ้น ประชาชนในชุมชน จากเดิมที่เคยปรุงอาหารรับประทานเอง หันมาซื้ออาหารสำเร็จรูปมากขึ้น เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และประหยัดเวลาเพราะเร่งรีบในการประกอบอาชีพ เช่น ข้าราชการ เกษตรกร รับจ้าง เป็นต้น จึงส่งผลให้มีปริมาณขยะมากขึ้น บางบ้านยังใช้วิธีกำจัดและจัดการแบบเดิมๆ ด้วยการเทกองไว้กลางแจ้ง ฝังกลบ หรือใช้วิธีเผาทำลาย ทำให้เกิดควันลอยในอากาศ เป็นการเพิ่มภาวะโลกร้อน และ ของเหลือทิ้งจำพวกเศษอาหารที่เหลือจากการปรุงอาหารและการบริโภค รวมทั้งเศษอาหาร พลาสติก และสารพิษจากขยะได้แพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติมากขึ้นและของที่ไม่ใช้แล้ว ขยะมูลฝอยที่ถูกทิ้งอยู่ตามถนน แม่น้ำ ลำคลอง ที่สาธารณะต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นใบไม้ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก เศษดิน เป็นต้น ซึ่งมูลฝอยเหล่านี้หากไม่กำจัดและมีการจัดการอย่างถูกวิธี นอกจากจะทำให้ชุมชนขาดความสะอาดเรียบร้อย จนเป็นที่น่ารังเกียจแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อมอย่างมากมาย เช่น การปนเปื้อนของแหล่งน้ำและการปนเปื้อนของอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของเชื้อโรค ที่ก่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัย         ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาในหมู่บ้านอูแบ กลุ่มชุมชนอูแบรักษ์ถิ่นบ้านเกิดจึงมีการจัดโครงการดังกล่าวขึ้นโดยขอสนับสนุนโครงการจากกองทุน สปสช.องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ในการดำเนินโครงการต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพของชุมชน และปลอดจากโรคติดต่อต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย

-  เป็นการเสริมสร้างสุขภาพของชุมชน โดยการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรค                                                                                                                        - ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาวะที่ดีทั้งกาย  และทางจิตใจ                                                            - ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น                                                                                                        - บรรยากาศสภาพแวดล้อมในชุมชนน่าอยู่

85.00
2 เพื่อให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น เด็ก เยาวชน และ ผู้สูงอายุ มีสุขภาวะที่ดีทั้งกาย และทางจิตใจ

 

95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 33,650.00 0 0.00
31 ส.ค. 63 อบรมให้ความรู้ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและกำจัดขยะโดยการประดิษฐ์จากสิ่งของเหลือใช้ 80 33,650.00 -

1 เสนอโครงการเพื่ออนุมัติโครงการ     2 วางแผนพร้อมจัดประชุมในกลุ่มกลุ่มชุมชนอูแบรักษ์ถิ่นบ้านเกิด     3 ประสานและประชาสัมพันธ์โครงการอย่างทั่วถึง   4 ดำเนินโครงการตามแผนที่วางไว้ โดย อบรมให้ความรู้ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและกำจัดขยะโดยการประดิษฐ์จากสิ่งของเหลือใช้ เด็กในสถาบันปอเนาะ จำนวน 50 คน เด็กในชุมชน 30 คน กลุ่มเป้าหมายผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเด็กในสถาบันปอเนาะอูแบ   5. จัดทำและติดตั้งป้ายรณรงค์ และจัดกิจกรรมการจิตอาสา กิจกรรมทำความสะอาด ในพื้นที่สาธารณะประโยชน์ ทำความสะอาดบนท้องถนน ทาสีรั้วรอบที่ดินสาธารณะประโยชน์ และจัดสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เป้าหมาย อย่างต่อเนื่อง
  6. สรุปผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1  เป็นการเสริมสร้างสุขภาพของชุมชน โดยการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรค                                                            2  ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาวะที่ดีทั้งกาย และทางจิตใจ                              3 ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น                                                    4 บรรยากาศสภาพแวดล้อมในชุมชนน่าอยู่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ