กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยรุ่นกับความท้าทายทางเพศสัมพันธ์ ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L6958-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลปะลุกาสาเมาะ
วันที่อนุมัติ 31 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 กันยายน 2563 - 22 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 30,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซูลกิฟลี สะแลแม
พี่เลี้ยงโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีพัฒนาการทางเพศที่สมบูรณ์ การเปลี่ยนแปลงทางเพศทำให้วัยรุ่นมีความเป็นหนุ่มสาว จากธรรมชาติของวัยรุ่นที่มีแรงขับทางเพศในตนเอง จึงทำให้วัยรุ่นเริ่มมีความต้องการทางเพศ สนใจในเพศตรงข้ามและมีการแสดงออกถึงพฤติกรรมทางเพศ เช่น มองหาผู้ที่ตนสนใจเพื่อสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิด จับมือถือแขน นัดหมายเพื่ออยู่ด้วยกันตามลำพังสองต่อสอง ซึ่งทำให้เกิดความพอใจระหว่ากัน จากเหตุที่กล่าวมาถือเป็นจุดเริ่มต้นอันนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ ในขณะเดียวกันสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรมที่เปิดรับค่านิยมจากวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาในชีวิตประจำวัน เช่น การแต่งกายที่ล่อแหลมมากขึ้น การยอมรับการทักทายแบบโอบกอด เป็นผลให้ค่านิยมการรักนวลสงวนตัวแบบวัฒนธรรมไทยลดลง และในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย เกิดเป็นสังคมออนไลน์ทำให้การสื่อสารมีความง่ายและสะดวกในการนัดพบ ความทันสมัยทำให้เข้าถึงสื่อทางเพศได้ง่ายขึ้น หากวัยรุ่นขาดภูมิคุ้มกันในการป้องกันตนเองจากสิ่งยั่วยุ ขาดการยับยั้งทางความคิดเมื่อมีแรงขับทางเพศ การจัดการอารมณ์ทางเพศจึงขาดความเหมาะสม สุดท้ายอาจถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นไทย ถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในปัจจุบัน เนื่องจากวัยรุ่นเป็นอนาคตของชาติ หากเขาเหล่านั้นพลาดพลั้ง ขาดสติ วู่วาม มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ก็อาจนำไปสู่ปัญหาด้านต่างๆ อาทิ การตั้งครรภ์ไม่พึ่งประสงค์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของเยาวชนและการพัฒนาชุมชนในอนาคต ดังนั้น สภาเด็กและเยาวชนตำบลปะลุกาสาเมาะตระหนักต่อสถานการณ์การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในปัจจุบัน มุ่งมั่นที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะให้มีภูมิต้านทานต่อความท้าทายทางเพศสัมพันธ์ จึงเห็นควรให้ดำเนินการโครงการวัยรุ่นกับความท้าทายทางเพศสัมพันธ์ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมีภูมิความคิดเท่าทันต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง

 

0.00
2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทัศนคติที่เหมาะสมต่อเรื่องเพศสัมพันธ์

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,100.00 0 0.00
21 - 22 ก.ย. 63 อบรมเชิงปฏิบัติการวัยรุ่นกับความท้าทายทางเพศสัมพันธ์ 0 30,100.00 -

1.ประชุมคณะกรรมการสภาเด็กและเยาวชนฯ 2.เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ 3.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ 4.ดำเนินการตามแผนโครงการ 5.สรุปและรายงานผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง
  2. เด็กและเยาวชนมีทัศนคติที่เหมาะสมต่อเรื่องเพศสัมพันธ์
  3. เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2563 00:00 น.