กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างการเรียนรู้ในการจัดการขยะที่ถูกวิธีเพื่อลดโรค
รหัสโครงการ 63-L3328-02-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มจัดการขยะบ้านควนอินนอโม
วันที่อนุมัติ 21 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสราวุธ เพ็งปรางค์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ กลุ่มจัดการขยะบ้านควนอินนอโมหมู่ที่ ๗ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ขยะในปัจจุบันเริ่มเป็นปัญหามากขึ้นเรื่อยๆสืบเนื่องจากจำนวนขยะที่มีมากขึ้น เกิดจากพฤติกรรมการใช้วัสดุสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่มีการเลือกใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีการคำนึงถึงผลกระทบอันเกิดจากการใช้วัสดุเครื่องใช้สอยในครัวเรือนที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพภูมิอากาศ หรือสิ่งแวดล้อมและสาเหตุอีกประการหนึ่งคือประชาชนยังไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ทำให้ขยะที่จัดเก็บมีทั้งขยะเปียกและขยะแห้งหรือแม้แต่ขยะอันตรายเช่น หลอดไฟ แบตเตอรี่มือถือ ถ่านไฟฉายฯลฯ จึงทำให้ขยะที่ควรจะรีไซเคิลได้หลายชนิดจึงพลอยเปรอะเปื้อนไปด้วย ทำให้ขยะเหล่านั้นไม่สามารถนำมาแปรรูปและหมุนเวียนใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับขยะที่แยกไว้ตั้งแต่แรก ฉะนั้นการส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน ให้มีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางในระดับครัวเรือน จะทำให้ประชาชนตระหนักและเข้าใจสภาพปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้น มีความสนใจ และใส่ใจในการปฏิบัติตาม จำเป็นต้องมีการปฏิบัติอย่างละสม่ำเสมอในรูปแบบที่แตกต่างกันไป โดยจะต้องพิจารณาเนื้อหาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งการส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะนอกจากสามารถลดปริมาณขยะจากแหล่งกำเนิดลงได้ ยังเป็นการสร้างรายได้จากการคัดแยกของเพื่อนำไปขาย อีกทั้งยังสามารถป้องกันโรคได้อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างจิตสำนึกของประชาชนให้มีการจัดการขยะที่ถูกวิธี

• คนในชุมชนเกิดความตระหนักในการจัดการขยะที่ถูกวิธี • มีกลุ่มคนที่มีความหลากหลายเข้ามาส่วนร่วมในกิจกรรม

0.00
2 เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมให้ชุมชนสะอาด ป้องกันโรค

• มีกิจกรรมให้ความรู้ • มีกิจกรรมการจัดเก็บขยะและมีการประชาสัมพันธ์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 160 30,400.00 0 0.00
1 ก.ย. 63 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะจากต้นทางที่ถูกวิธี 80 11,100.00 -
1 ก.ย. 63 กิจกรรมรณรงค์ 80 19,300.00 -

1 สร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะจากต้นทางชุมชนอย่างมีส่วนร่วม 1.1 จัดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่คนในหมู่บ้าน 1.2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้การจัดการขยะทีถูกวิธีให้กับเด็และเยาวชนในหมู่บ้าน 2 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์การจัดการขยะที่ถูกวิธี 2.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพให้ความรู้ความเข้าใจการจัดการขยะแก่แกนนำ 2.2 จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัพันธ์การจัดการขยะอย่างถูกวิธี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีจิตสำนึกในบ้านเกิดมีจิตสำนึกรักษาความสะอาดในการลดโรค -ผู้เข้าร่วมโครงการและคนในหมู่บ้านเกิดการเรียนรู้การจัดการขยะที่ถูกวิธี --ผู้เข้าร่วมโครงการและคนในหมู่บ้านเกิดความเข้าใจในการจัดการขยะจากต้นทาง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2563 00:07 น.