โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) |
รหัสโครงการ | 63-L8402-3-16 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนวัดคูหาใน (พระครูยอดอุปถัมภ์) |
วันที่อนุมัติ | 3 สิงหาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2563 - 30 เมษายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 19,880.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสุริยศักดิ์ ไชยกูล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.173,100.263place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 86 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคตการพัฒนาเด็กให้ได้รับความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงนับเป็นภารกิจสำคัญของหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบจะต้องตระหนัก และให้ความสนใจเพื่อให้การพัฒนาเด็กเป็นไปอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานเหมาะสมกับวัย ปัจจุบันเด็กนักเรียนในโรงเรียนวัดจังโหลน ส่วนมากมีผู้ปกครองประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือการกรีดยางพารา ซึ่งต้องทำงานตั้งแต่กลางคืนจนถึงกลางวัน โดยเฉพาะในช่วงเช้าที่ต้องส่งลูกไปโรงเรียนมักเป็นเวลาต้องเก็บน้ำยาง ทำให้การเอาใจใส่ลูกเรื่องการกินอาหารเช้าไม่ค่อยสมบูรณ์ เด็กส่วนมากไม่ได้รับอาหารเช้าก่อนมาเรียน ทำให้ขาดการเตรียมพร้อมสำหรับเด็กที่ควรได้รับสารอาหาร โดยเฉพาะอาหารเช้าซึ่งเป็นมื้อสำคัญสำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต เป็นภาวะเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการในเด็ก และการพัฒนาทางด้านร่างกายของเด็กเป็นไปอย่างล่าช้าได้ ในภาคเรียนที 1/2562 โรงเรียนโรงเรียนวัดจังโหลนได้ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กทุกคนแล้ว โดยเปรียบเทียบตามเกณฑ์ของกรมอนามัยตามช่วงอายุของเด็ก ปรากฏว่า มีเด็กที่มีทุพภาวะโภชนาการ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 29.16 ของนักเรียนทั้งหมด แยกเป็นประเภทน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 14.58 ของนักเรียนทั้งหมด และน้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 14.58 ของนักเรียนทั้งหมด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องดำเนินการส่งเสริมด้านโภชนาการให้แก่เด็ก อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านร่างกายให้แก่เด็ก ให้ได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน(เด็กและเยาวชน) ให้ เก่ง ดี มีความสุขทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจและสติปัญญาต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้และความเข้าใจเรื่องภาวะโภชนาการ เด็กนักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้และความเข้าใจเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 80 |
80.00 | |
2 | เพื่อให้เด็กในวัยเรียนมีภาวะโภชนาการสมส่วน นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมส่วน คิดเป็น ร้อยละ 100 |
100.00 | |
3 | เพื่อให้นักเรียนออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง นักเรียนทุกคนได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง วันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มิ.ย. 63 - 31 ธ.ค. 63 | อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโภชนาการ | 86 | 10,600.00 | - | ||
1 มิ.ย. 63 - 31 ธ.ค. 63 | กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการ | 86 | 5,992.00 | - | ||
1 มิ.ย. 63 - 31 ธ.ค. 63 | กิจกรรมการออกกำลังกาย | 86 | 8,200.00 | - | ||
รวม | 258 | 24,792.00 | 0 | 0.00 |
- ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางโภชนาการย้อนหลัง 1 ปี
- ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 – นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เดือนละ 1 ครั้ง
- จัดทำทะเบียนนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ
- เชิญผู้ปกครองเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก โดยวิทยากรเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับพ่อแม่ในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย
6.1 ที่โรงเรียน
- ครูประจำชั้น กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 30 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
- กรณีเด็กผอม ครูผู้รับผิดชอบโครงการเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 30 นาที (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
6.2 ที่บ้าน
- ให้ความรู้ผู้ปกครองนักเรียน เรื่อง โภชนาการในวัย
7. จัดหานมไข่ สำหรับให้นักเรียนที่โรงเรียน
8. ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 9 เดือน และแนะนำพ่อแม่ให้ดำเนินการต่อเนื่อง
9. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมและรายงาน ต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาล
นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง ส่งผลให้มีความพร้อมในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2563 16:29 น.