กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ บูรณาการ การดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และ การแพทย์ผสมผสาน ปี 60
รหัสโครงการ 60-L6961-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก รพ.สุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 7 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอยุสณี อูมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.008,101.949place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อเข่าเสื่อมหรือโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นภาวะที่ข้อเข่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานเกิดการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ ทำให้มีการงอกของกระดูกเวลาเดินจะเจ็บข้อมีการผิดรูปของข้อข่า โรคข้อข่าเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดความทรมานแก่ผู้สูงอายุอย่างยิ่ง คุณภาพชีวิตลดลง และทำให้โรคอื่นๆกำเริบเช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากออกกำลังกายไม่ได้โรคข้อ เข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่า บวม เข่าฝืดยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ดังปกติซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป สาเหตุมีได้หลายประการ เช่น ผลสะสมจากความเสื่อมและการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่ยังหนุ่มสาวการที่มีน้ำหนักตัวมากๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในทุกขณะที่ก้าวเดิน หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน บางรายเคยมีการอักเสบติดเชื้อหรือเป็นโรคไขข้อบางชนิดเช่น โรครูมาตอย เป็นต้น จากสถานการณ์พบว่าโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคหนึ่งในสิบโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญอันก่อให้เกิดผู้สูงอายุ ทุพพลภาพในประเทศไทย ทำให้ผู้ป่วยต้องมีชีวิตอยู่อย่างไร้สมรรถภาพในการประกอบอาชีพ หรือการใช้ชีวิตประจำวันเนื่องจากมีพยาธิสภาพที่กระดูกอ่อนผิวข้อ อันก่อให้มีอาการปวดจากผิวข้อชำ รุดและการอักเสบหากเป็นต่อเนื่องทา ให้เกิดโรคข้อเสื่อมรุนแรง ช่องว่างผิวข้อ หายไป และกระดูกอ่อนผิวข้อชำ รุดไปหมด หรือกระดูกปลายข้อทรุดตัว ทำให้ข้อเข่าโก่งมากขึ้นได้ ในปัจจุบันพบว่า มีการใช้ยาในการรักษาภาวะข้อเสื่อมนี้เป็นจำนวนมากรองจากยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) โดยเฉพาะยาแก้อักเสบในกลุ่ม NSAIDs (Non-Steroid Anti-inflammatory Drugs) ซึ่งส่วนมากเป็นการรักษาอาการปวดที่ปลายเหตุเสียมากกว่า และมักจะมีผลเสียในการก่อให้เกิดปัญหาเรื่องแผลในกระเพาะอาหารตามมา อุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมพบประมาณ 1ใน3 หรือคิดเป็นร้อยละ 34.5-45.6 ของประชากรทั้งประเทศ และมีความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยมีงานวิจัยพบว่าค่าใช้จ่ายต่อคนต่อ 1 ปี ของคนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม รวมทุกอย่างเช่น ค่ายาค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหรือค่าเสียเวลาในการดูแลรักษาสุขภาพทางด้านนี้พบว่า มีค่าใช้จ่าย ประมาณปีละ 200,000 บาทต่อคนจะเห็นได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากอาจเป็นเพราะว่า โรคข้อเข่าเสื่อมจะไม่ทำให้คนเป็นเสียชีวิตเพียงแต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลงเท่านั้นโดยส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป

ดังนั้นกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้จัดทำโครงการการบูรนาการการดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมคือการป้องกันหรือการชะลอ ไม่ให้เกิดภาวะไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าวนี้ให้นานที่สุด ซึ่งมีแนวทางในการปฏิบัติตัวและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม และ

สร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นโดยข้อปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยยืดอายุของข้อต่อและระบบโครงสร้างของร่างกายเราให้ใช้งานได้นานขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการดูแลตนเองในโรคข้อเข่าเสื่อมถูกต้อง 2. เพื่อให้มีแกนนำในการดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเพื่อเป็นการดูแลแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 3. เพื่อช่วยลดอัตราค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เช่น ค่ายาแผนปัจจุบัน ค่าเดินทางมารักษาพยาบาล

ได้มีสถานที่รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม และ ป้องกันอาการปวดเข่า

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  • ประชุมปรึกษากับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางกิจกรรมที่เหมาะสม
  • รวมรวมข้อมูลเพื่อวางแผนดำเนินการฝึกอบรม
  • เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการฝึกอบรม
  • ประเมินผลการฝึกอบรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการดูแลตนเองในโรคข้อเข่าเสื่อมถูกต้อง 2. มีแกนนำในการดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเพื่อเป็นการดูแลแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 3. ช่วยลดอัตราค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เช่น ค่ายาแผนปัจจุบัน ค่าเดินทางมารักษาพยาบาล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2560 13:07 น.