กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้าน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
ละติจูด-ลองจิจูด 18.533219,100.755308place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 ส.ค. 2563 4 ส.ค. 2563 12,450.00
2 21 ก.ย. 2563 23 ก.ย. 2563 500.00
รวมงบประมาณ 12,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญของประชากรทั่วโลก และเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆของโลก ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งโลกมีอัตราการตายร้อยละ 13 ขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกมีอัตราการตายร้อยละ 6 ขณะที่โลกเคลื่อนตัวไปสู่การพัฒนาระบบการแพทย์ เทคโนโลยีในการรักษาที่ทันสมัย อายุคาดเฉลี่ยของมนุษย์ยาวนานขึ้น ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพในอดีตอย่างเรื่องสุขอนามัยไม่ดีลดลงอย่างรวดเร็ว หากแต่ปัจจัยเสี่ยงสมัยใหม่กลับเพิ่มภาระคุกคามให้กับชีวิตที่สุขสบายของมนุษย์ ปัจจัยเสี่ยงเงียบๆทั้งสองชนิดนี้ก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกายได้อย่างคาดไม่ถึง นำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเองและผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้วยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค คือ กรรมพันธุ์ และ สิ่งแวดล้อม ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ จากข้อมูลสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติรายงานว่าในปี พ.ศ.2560 มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลก 425 ล้านคน และคาดว่าในปี พ.ศ.2588 จำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 629 ล้านคนองค์การอนามัยโลกระบุว่าจำนวนผู้ป่วยเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในปี 2030 และจะมีผู้เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเป็น 3.2 ล้านคน ในแต่ละปี ซึ่งคิดเป็น 6 คนในทุกๆ 1 วินาที ส่วนโรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุการตายทั่วโลกสูงถึง 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ12.8 ของสาเหตุการตายทั้งหมด และคาดการณ์ว่าจะมีความชุกของโรคความดันโลหิตสูงทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงเป็น 1.56 พันล้านคนในปี พ.ศ.2568
ส่วนในประเทศไทยจากข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร 100,000 คน ในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา (พ.ศ. 2556 – 2560 ) เพิ่มขึ้นจาก 12,342.14 (จำนวน 3,936,171 คน ) เป็น 14,926.47 (จำนวน 5,597,671 คน) และจากข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขอัตราการป่วยรายใหม่ของความความดันโลหิตสูง ต่อประชากร 100,000 คน ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจาก 916.89 (จำนวน 540,013 คน) เป็น 1,353.01 (จำนวน 813,485 คน) ส่วนความชุกของโรคเบาหวานของประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป เท่ากับร้อยละ 8.9 (คิดเป็นผู้ป่วยเบาหวาน 4.8 ล้านคน)ความชุกของผู้ที่มีความผิดปกติของน้ำตาลในเลือดตอนเช้าขณะอดอาหาร เท่ากับร้อยละ 15.6 และผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 43.2 ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อนและไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นเบาหวาน อีกทั้งยังพบว่ามากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมด มีสาเหตุมาจากเบาหวาน ในจังหวัดน่านปีงบประมาณ 2562 อัตราป่วยตายโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 2.45 อัตราป่วยตายโรคเบาหวาน ร้อยละ 2.23
ในพื้นที่ตำบลส้าน พบอัตราป่วยตายโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 3.28 อัตราป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 1.57 และอัตราป่วยตายโรคเบาหวาน ร้อยละ 0 อัตราป่วยรายใหม่เบาหวานร้อยละ 0.60 สาเหตุการเกิดโรคส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้าน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ปี 2563 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง โดยใช้กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรค

 

0.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

 

0.00
3 3.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมในการป้องกันโรค

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 94 12,950.00 0 0.00
10 ต.ค. 62 1.ชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้าน 9 0.00 -
11 - 31 ต.ค. 62 2.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต/ชุมชน/อสม. เพื่อวางแผนดำเนินกิจกรรม 10 0.00 -
4 ส.ค. 63 3.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยจัดกิจกรรมฐานความรู้เรื่อง 3 อ 2 ส ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น จำนวน 1 วัน 70 12,450.00 -
4 - 15 ก.ย. 63 3.ติดตามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงหลังได้รับการอบรม โดยติดตามเยี่ยมบ้าน 1 คน/ครั้ง หลังการอบรม 1 เดือน 0 0.00 -
21 - 23 ก.ย. 63 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ 5 500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และทัศนคติที่เหมาะสม ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2. กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม มีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น 3. กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2563 15:00 น.